ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. อานิสังสวรรค ๙. สันตวิโมกขสูตร

๙. สันตวิโมกขสูตร
ว่าด้วยสันตวิโมกข์๑-
[๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาแต่ไม่มีศีล เป็นผู้มีศีลแต่ไม่เป็นพหูสูต เป็นพหูสูตแต่ไม่เป็นธรรมกถึก เป็นธรรมกถึกแต่ไม่ เข้าไปสู่บริษัท เข้าไปสู่บริษัทแต่ไม่เป็นผู้แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัทแต่ไม่ทรงวินัย ทรงวินัยแต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร และไม่อยู่ในเสนาสนะ อันสงัด อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ในเสนาสนะอันสงัด แต่ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกาย๒- อยู่ ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะ ล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกายอยู่ แต่ไม่ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน อย่างนี้ เธอจึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า “ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัทแกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัย อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ในเสนาสนะอันสงัด ได้สัมผัส สันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูป เพราะล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกายอยู่ และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน” เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นธรรมกถึก ๑ เข้าไปสู่ บริษัท ๑ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ๑ ทรงวินัย ๑ อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ใน เสนาสนะอันสงัด ๑ ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกาย อยู่ ๑ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ๑ เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย องค์นั้น อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ สันตวิโมกข์ หมายถึงอรูปฌาณที่พ้นได้อย่างสิ้นเชิง เพราะพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึกกล่าวคือนิวรณ์ ๕ @และเพราะไม่เกี่ยวข้องในอารมณ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙/๓๒๐) @ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย คือกองแห่งนามธรรม ได้แก่ เจตสิกทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. อานิสังสวรรค ๑๐. วิชชาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึงชื่อว่าเป็นผู้ก่อ ให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
สันตวิโมกขสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๔-๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=9              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=278&Z=296                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=9              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=9&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7190              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=9&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7190                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i001-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an10.9/en/sujato https://suttacentral.net/an10.9/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :