ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๑๐. อภัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผล
[๑๐๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๑๐ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง อรหัตตผลได้ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ราคะ (ความกำหนัด) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ๓. โมหะ (ความหลง) ๔. โกธะ (ความโกรธ) ๕. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ๖. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ๗. ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ๘. อิสสา (ความริษยา) ๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐. มานะ (ความถือตัว) บุคคลยังละธรรม ๑๐ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ บุคคลละธรรม ๑๐ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ อรรถกถาอธิบายว่า การที่พระผู้มีพระภาคทรงเตือนให้พระอุบาลีอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ทรงอนุญาตให้ @ท่านอยู่ป่า เพราะทรงเห็นว่าการอยู่ป่าจะทำให้ท่านบำเพ็ญวิปัสสนาธุระคือการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน @ได้เพียงด้านเดียว ไม่สามารถบำเพ็ญคันถธุระคือการเรียนพระคัมภีร์ให้สำเร็จได้ แต่การอยู่ในท่ามกลาง @สงฆ์ จะทำให้ท่านบำเพ็ญธุระได้ทั้ง ๒ ด้าน และบรรลุพระอรหัตตผลได้ด้วย ทั้งจักเป็นหัวหน้าในการ @สังคายนาพระวินัยปิฎก (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑. ราคะ ๒. โทสะ ๓. โมหะ ๔. โกธะ ๕. อุปนาหะ ๖. มักขะ ๗. ปฬาสะ ๘. อิสสา ๙. มัจฉริยะ ๑๐. มานะ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๑๐ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้ง อรหัตตผลได้
อภัพพสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปาสกวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กามโภคีสูตร ๒. ภยสูตร ๓. กิงทิฏฐิกสูตร ๔. วัชชิยมาหิตสูตร ๕. อุตติยสูตร ๖. โกกนุทสูตร ๗. อาหุเนยยสูตร ๘. เถรสูตร ๙. อุปาลิสูตร ๑๐. อภัพพสูตร
ทุติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๔๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๔๐-๒๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=98              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=4793&Z=4810                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=100              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=100&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8364              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=100&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8364                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i091-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an10.100/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :