ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๘. สังฆเภทสูตร
ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
[๑๘] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น เพื่อไม่ใช่ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์ เพื่อไม่ใช่ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เกิดขึ้นเพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๑. เอกกนิบาต]

๒. ทุติยวรรค ๙. สังฆสามัคคีสูตร

ธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร คือ สังฆเภท๑- ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์แตกกัน ย่อมมีความบาดหมางกัน มีการบริภาษกัน มีการดูหมิ่นกัน และมีการขับไล่กัน ในเพราะสังฆเภทนั้น ชนทั้งหลายที่ยังไม่เลื่อมใส ก็ไม่เลื่อมใส และบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ก็ย่อมเป็นอื่นไป” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีในการแตกกัน ตั้งอยู่ในอธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป พลาดจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ๒- เสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัป เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน๓- แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สังฆเภทสูตรที่ ๘ จบ
๙. สังฆสามัคคีสูตร
ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้สามัคคีกัน
[๑๙] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เกิดขึ้นเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ สังฆเภท หมายถึงการทำสงฆ์ให้แตกจากกัน เช่นการไม่ทำอุโบสถ ปวารณา และสังฆกรรมร่วมกัน @(ขุ.อิติ.อ. ๑๘/๗๘) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๓๖๐ ในเล่มนี้ @ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๕๔/๒๑๖, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๙/๙๑, อภิ.ก. ๓๗/๖๕๗/๓๙๕-๓๙๖, ๘๖๒/๔๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๖๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๖๑-๓๖๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=133              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=4676&Z=4694                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=196              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=196&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=1666              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=196&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=1666                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.1.001-027.than.html#iti-018 https://suttacentral.net/iti18/en/ireland https://suttacentral.net/iti18/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :