ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๓. นิสสรณิยสูตร
ว่าด้วยธาตุที่มีคุณสมบัติสลัดออก
[๗๒] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่สลัดออก ๓ ประการนี้ ธาตุเป็นที่สลัดออก ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เนกขัมมธาตุ๑- เป็นที่สลัดละกามทั้งหลาย ๒. อรูปธาตุ๒- เป็นที่สลัดละรูปธรรมทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ เนกขัมมธาตุ หมายถึงรูปฌาน (ขุ.อิติ.อ. ๗๒/๒๕๑) @ อรูปธาตุ หมายถึงอรูปฌาน (ขุ.อิติ.อ. ๗๒/๒๕๑) และดูเทียบเชิงอรรถที่ ๒ หน้า ๔๐๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๓. ตติยวรรค ๔. สันตตรสูตร

๓. นิโรธธาตุ๑- เป็นที่สลัดละธรรมชาติที่เกิดแล้ว ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย กันและกันเกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่สลัดออก ๓ ประการนี้แล” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ภิกษุผู้มีความเพียรรู้ชัดธาตุเป็นที่สลัดกามออก และธาตุเป็นเหตุล่วงพ้นรูปธรรมแล้ว สัมผัสภาวะที่สงบระงับสังขารทั้งปวงตลอดกาล ภิกษุนั้นแล เป็นผู้มีความเห็นชอบ เพราะเหตุที่น้อมจิตไปในนิพพานธาตุนั้น จึงชื่อว่าสำเร็จอภิญญา ๖ ประการ เป็นผู้สงบ ล่วงพ้นโยคะได้แล้ว เป็นมุนีแท้จริง แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
นิสสรณิยสูตรที่ ๓ จบ
๔. สันตตรสูตร
ว่าด้วยนิโรธสงบยิ่งกว่าอรูปธรรม
[๗๓] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย อรูปธรรม๒- สงบยิ่งกว่ารูปธรรม๓- นิโรธ๔- สงบยิ่งกว่าอรูปธรรม” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ หน้า ๔๐๔ ในเล่มนี้ @ อรูปธรรม ในที่นี้หมายถึงอรูปภพ (ขุ.อิติ.อ. ๗๓/๒๕๒) @ รูปธรรม ในที่นี้หมายถึงรูปภพ (ขุ.อิติ.อ. ๗๓/๒๕๒) @ นิโรธ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.อิติ.อ. ๗๓/๒๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๓๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๒๙-๔๓๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=187              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=5789&Z=5805                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=250              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=250&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=5516              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=250&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=5516                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.3.050-099.than.html#iti-072 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.3.072-090x.irel.html#iti-072 https://suttacentral.net/iti72/en/ireland https://suttacentral.net/iti72/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :