ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๘. นาวาสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นดุจเรือข้ามฟาก
(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายดังนี้) [๓๑๙] บุรุษควรบูชาสักการะบุคคลที่ตนเรียนรู้ธรรมจนเข้าใจ เหมือนเทวดาบูชาพระอินทร์ ฉะนั้น บุคคลผู้เป็นพหูสูต ได้รับการบูชาจากศิษย์แล้ว มีใจเอื้ออาทรในศิษย์นั้น ย่อมอธิบายธรรมให้เข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง [๓๒๐] บุรุษผู้มีปัญญา ไม่ประมาท คบบุคคลผู้เป็นพหูสูตเช่นนั้น ทำธรรมนั้นให้มีประโยชน์ ใคร่ครวญแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมเป็นผู้รู้แจ้ง แสดงธรรมแก่ผู้อื่นและเป็นผู้ละเอียด [๓๒๑] ผู้ที่คบบุคคลผู้มีคุณธรรมน้อย เป็นคนพาล ยังไม่บรรลุประโยชน์ตน ทั้งยังมีใจริษยา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]

๘.นาวาสูตร

ไม่เข้าใจธรรมในศาสนานี้ได้อย่างแจ่มแจ้ง ยังไม่ทันหมดความสงสัยก็สิ้นชีวิตไปก่อน [๓๒๒] เปรียบเหมือนคนข้ามแม่น้ำที่มีน้ำมาก กำลังหลากมา มีกระแสเชี่ยว ถูกพัดลอยไปตามกระแสน้ำเสียเอง จะสามารถช่วยพาผู้อื่นให้ข้ามไปได้อย่างไร ฉันใด [๓๒๓] บุคคลผู้ยังไม่เข้าใจธรรมอย่างแจ่มแจ้ง ก็ฉันนั้น ไม่พิจารณาความหมายแห่งธรรมให้ถ่องแท้ ในสำนักอาจารย์ผู้เป็นพหูสูต ตนเองยังไม่รู้แจ้งจริง ทั้งยังไม่หมดความสงสัย จะสามารถสอนผู้อื่นให้เพ่งพินิจธรรมได้อย่างไร [๓๒๔] คนลงเรือที่มั่นคงแข็งแรง มีพายและถ่ออยู่พร้อม เป็นผู้เฉลียวฉลาด รอบรู้ ชำนาญการเดินเรือนั้น ย่อมสามารถพาผู้โดยสารจำนวนมากในเรือนั้น ให้ข้ามไปถึงฝั่งได้โดยปลอดภัย แม้ฉันใด [๓๒๕] ผู้บรรลุถึงความรู้แจ้ง อบรมตนแล้ว เป็นพหูสูต มีสภาพจิตไม่หวั่นไหว ก็ฉันนั้น สามารถสั่งสอนผู้อื่นที่ตั้งใจฟังและสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัยให้เพ่งพินิจได้ [๓๒๖] เพราะฉะนั้น บุคคลจึงควรคบสัตบุรุษ ผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต บุคคลผู้คบหาสัตบุรุษนั้น รู้แจ้งชัดเนื้อความนั้นแล้วปฏิบัติอยู่ เป็นผู้เข้าใจธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง พึงได้รับความสุข
นาวาสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๗๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๗๓-๕๗๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=247              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=8038&Z=8064                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=325              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=325&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=3145              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=325&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=3145                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i314-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.08.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.08.irel.html https://suttacentral.net/snp2.8/en/mills https://suttacentral.net/snp2.8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :