ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสูตร

๑๔. ตุวฏกสูตร๑-
ว่าด้วยภิกษุผู้กำจัดบาปธรรมอย่างเร็วพลัน
(พระพุทธเนรมิตทูลถามดังนี้) [๙๒๒] ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้มีวิเวก มีสันติบท ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ว่า ภิกษุเห็นอย่างไร จึงไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดับไป (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) [๙๒๓] ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าแห่งกิเลสเครื่องเนิ่นช้า๒- และอัสมิมานะ ด้วยมันตา๓- ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดในภายใน ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น [๙๒๔] ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในภายในหรือในภายนอก แต่ไม่ควรทำความดื้อรั้นเพราะคุณธรรมนั้น เพราะการทำความดื้อรั้นนั้น ผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่า เป็นความดับกิเลส @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบคำแปลและรายละเอียดใน ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๐-๑๖๙/๔๐๕-๔๗๙ @ รากเหง้าแห่งกิเลสเครื่องเนิ่นช้า ในที่นี้หมายถึงอวิชชา (ความไม่รู้) อโยนิโสมนสิการ (การไม่มนสิการ @โดยแยบคาย) อัสมิมานะ (ความถือตัว) อหิริกะ (ความไม่ละอาย) อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัว) อุทธัจจะ @(ความฟุ้งซ่าน) (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๑/๔๑๒) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๑๔๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสูตร

[๙๒๕] ภิกษุไม่พึงสำคัญตนว่า เราเลิศกว่าเขา เราด้อยกว่าเขา หรือว่าเราเสมอเขา เพราะคุณธรรมนั้น เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนกแล้ว ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่ [๙๒๖] ภิกษุพึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายในได้แล้ว ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตาก็ไม่มีแต่ที่ไหนๆ [๙๒๗] คลื่นไม่เกิดในส่วนกลางทะเล ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ฉันนั้น ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจ๑- ในที่ไหนๆ (พระพุทธเนรมิตทูลถามดังนี้) [๙๒๘] พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุ๒- แจ่มแจ้ง ได้ทรงแสดงธรรมที่เป็นพยาน๓- อันเป็นธรรมเครื่องกำจัดอันตราย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ @เชิงอรรถ : @ กิเลสเครื่องฟูใจ มี ๗ อย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และกรรม @(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๕/๔๒๓-๔๒๔) @ จักษุ ในที่นี้หมายถึงจักษุ ๕ ชนิด คือ มังสจักษุ ทิพพจักษุ ปัญญาจักษุ พุทธจักษุ และสมันตจักษุ @(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๒๔ @ ธรรมที่เป็นพยาน หมายถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงทราบเอง ประจักษ์แก่พระองค์เอง มิใช่โดยการ @เชื่อผู้อื่น (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสูตร

(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) [๙๒๙] ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก พึงป้องกันหูมิให้ได้ยินคามกถา๑- ไม่พึงติดใจในรส และไม่พึงยึดถืออะไรๆ ในโลกว่า เป็นของเรา [๙๓๐] เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ เมื่อนั้น เธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญในที่ไหนๆ ไม่พึงคาดหวังภพ และไม่พึงกระสับกระส่าย เพราะอารมณ์ที่น่ากลัว [๙๓๑] ภิกษุได้ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของขบเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดี ไม่ควรทำการสะสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้น ก็ไม่พึงสะดุ้ง [๙๓๒] ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท และพึงอยู่ในที่นั่งที่นอนที่มีเสียงน้อย [๙๓๓] ภิกษุไม่พึงหลับมาก มีความเพียรเครื่องเผากิเลส พึงประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความหลอกลวง เรื่องชวนหัว การเล่น เมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง [๙๓๔] ผู้นับถือพระรัตนตรัยไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์๒- การทำนายฝัน การทำนายลักษณะ หรือแม้การดูฤกษ์ยาม @เชิงอรรถ : @ คามกถา ในที่นี้หมายถึงติรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน ได้แก่เรื่องราวที่ภิกษุ @ไม่ควรนำมาเป็นข้อสนทนากัน เพราะทำให้เกิดความฟุ้งซ่านและหลงเพลินเสียเวลา (ที.สี.อ. ๑/๑๗/๘๔) @และดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๗/๔๓๙ ประกอบ @ อาถรรรพณ์ หมายถึงคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ หรือเวทมนตร์ที่ใช้เพื่อให้ดีหรือร้าย เป็นคัมภีร์อีกเล่มหนึ่ง @ในคัมภีร์พระเวท (ขุ.ม.อ. ๑๖๒/๔๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๑๔. ตุวฏกสูตร

ไม่พึงเรียนการทำนายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการบำบัดรักษาโรค [๙๓๕] ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวเพราะการนินทา แม้ได้รับการสรรเสริญก็ไม่พึงลำพองตน พึงบรรเทาความโลภรวมทั้งความตระหนี่ ความโกรธ และวาจาส่อเสียด [๙๓๖] ภิกษุไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้ายในที่ไหนๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน และไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคน เพราะอยากได้ลาภ [๙๓๗] ภิกษุไม่พึงเป็นคนมักอวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง [๙๓๘] ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ เมื่อรู้ตัวก็ไม่พึงทำความโอ้อวด และไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร [๙๓๙] ภิกษุผู้ถูกคนเหล่าอื่นเบียดเบียน ได้ยินคำพูดมากของพวกสมณะ หรือพวกคนพูดมาก(เหล่าอื่น) ไม่พึงโต้ตอบคนเหล่านั้นด้วยคำหยาบ เพราะผู้สงบย่อมไม่สร้างศัตรู [๙๔๐] ภิกษุรู้ธรรมนี้แล้ว เลือกสรรอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาทุกเมื่อ รู้ความดับกิเลสว่า เป็นความสงบแล้ว ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสูตร

[๙๔๑] ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ๑- ไม่ถูกครอบงำ ได้เห็นธรรมที่เป็นพยานซึ่งไม่ต้องเชื่อใคร เพราะฉะนั้น เธอพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น นอบน้อมอยู่ พึงหมั่นศึกษาทุกเมื่อ
ตุวฏกสูตรที่ ๑๔ จบ
๑๕. อัตตทัณฑสูตร๒-
ว่าด้วยความกลัวเกิดจากโทษของตน
(พระผู้มีพระภาคตรัสท่ามกลางหมู่ทหารของพระญาติทั้งสองฝ่ายดังนี้) [๙๔๒] ความกลัวเกิดจากโทษของตน เธอทั้งหลายจงมองดูคนที่มุ่งร้ายกัน เราจักกล่าวความสังเวชตามที่เราได้เคยสังเวชมาแล้ว [๙๔๓] เพราะเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ เหมือนฝูงปลาในบ่อที่มีน้ำน้อย เพราะเห็นสัตว์ทำร้ายกันและกัน ภัยจึงปรากฏแก่เรา [๙๔๔] โลกทั้งหมด๓- ไม่มีแก่นสาร สังขารทั้งหลายทุกทิศก็หวั่นไหว เราเมื่อต้องการภพสำหรับตน ก็มองไม่เห็นฐานะอะไรที่ไม่ถูกครอบงำ @เชิงอรรถ : @ ครอบงำ หมายถึงครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ หรือครอบงำบาปอกุศลธรรม @(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๖๙/๔๗๘) @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๐-๑๘๙/๔๘๐-๕๓๔ @ โลกทั้งหมด หมายถึงโลกนรก โลกกำเนิดดิรัจฉาน โลกเปตวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา โลกขันธ์ โลกธาตุ @โลกอายตนะ และโลกพรหม (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๒/๔๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๒๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๗๒๒-๗๒๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=279              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=10608&Z=10674                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=421              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=421&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=9116              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=421&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=9116                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i408-e.php#sutta14 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.4.14.than.html https://suttacentral.net/snp4.14/en/mills https://suttacentral.net/snp4.14/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :