ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๒๔. ตัณหาวรรค
หมวดว่าด้วยตัณหา
๑. กปิลมัจฉวัตถุ
เรื่องปลากปิละ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่บริษัท ๔ ดังนี้) [๓๓๔] ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้ประพฤติประมาท๓- เหมือนเถาย่านทรายเจริญอยู่ในป่า เขาย่อมเร่ร่อนไปมา เหมือนวานรที่ต้องการผลไม้ เที่ยวเร่ร่อนไปมาในป่า ฉะนั้น @เชิงอรรถ : @ ท่านผู้ประเสริฐ หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกผู้ลอยบาปได้แล้ว @(ขุ.ธ.อ. ๗/๑๖๒) @ ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา หมายถึงศีล ๕ ศีล ๑๐ เป็นต้น ย่อมเป็นเครื่องประดับทำให้เกิดความงาม @และความสุขแก่คนทุกเพศทุกวัย ไม่มีล้าสมัยไร้ตำหนิ ต่างจากเครื่องประดับภายนอกที่ทำให้งามเฉพาะ @เพศหรือวัย ใครที่ใช้เครื่องประดับหรือเครื่องแต่งกายไม่เหมาะกับเพศหรือวัย ก็จะถูกตำหนิ และถูกสงสัยว่า @เป็นบ้าเสียสติ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๖๒) @ ผู้ประพฤติประมาท หมายถึงผู้มีความเป็นอยู่ด้วยความประมาท ปราศจากสติ ไม่เจริญฌาน วิปัสสนา @มรรค และผล (ขุ.ธ.อ. ๘/๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๔. ตัณหาวรรค ๒. สูกรโปติกาวัตถุ

[๓๓๕] ตัณหาที่เลวทรามซ่านไปในโลกนี้ ครอบงำบุคคลใดไว้ได้ ความโศกย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น เหมือนหญ้าคมบางที่ถูกฝนตกรดแล้วเจริญงอกงามขึ้น ฉะนั้น [๓๓๖] ส่วนบุคคลใดครอบงำตัณหาที่เลวทรามนั้น ซึ่งล่วงได้ยากในโลกไว้ได้ ความโศกย่อมตกไปจากบุคคลนั้น เหมือนหยาดน้ำกลิ้งตกไปจากใบบัว ฉะนั้น [๓๓๗] เพราะเหตุนั้น เราขอเตือนท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายที่ประชุมกันในที่นี้ จงมีความเจริญ ขอท่านทั้งหลายจงขุดรากเหง้าแห่งตัณหา๑- เหมือนคนต้องการหญ้าแฝกขุดหญ้าแฝก มารอย่าได้ระรานท่านทั้งหลายอยู่ร่ำไป เหมือนกระแสน้ำระรานไม้อ้อ ฉะนั้น๒-
๒. สูกรโปติกาวัตถุ
เรื่องลูกสุกรตัวเมีย
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๓๘] ต้นไม้ เมื่อรากยังแข็งแรง ยังไม่ถูกทำลาย แม้ลำต้นถูกตัดแล้ว ก็งอกขึ้นได้ใหม่ ฉันใด ความทุกข์นี้ เมื่อบุคคลขจัดตัณหานุสัยไม่ได้ขาด ก็ย่อมเกิดขึ้นเรื่อยๆ ฉันนั้น @เชิงอรรถ : @ ขุดรากเหง้า หมายถึงขุดรากเหง้าแห่งตัณหาอันเป็นไปในทวาร ๖ นี้ ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยอรหัตต- @มรรค (ขุ.ธ.อ. ๘/๗) @ ธรรมบทข้อ ๓๓๔-๓๓๗ นี้ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๓๙๙-๔๐๒/๔๐๘-๔๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๔. ตัณหาวรรค ๒. สูกรโปติกาวัตถุ

[๓๓๙] บุคคลใดยังมีกระแสตัณหาอันแรงกล้า ๓๖ สาย๑- ที่มักไหลไปยังอารมณ์อันน่าพอใจ ความดำริเป็นอันมากที่อาศัยราคะ ย่อมนำบุคคลนั้นซึ่งมีความเห็นผิดไป [๓๔๐] กระแสตัณหาทั้งหลายไหลไปในอารมณ์ทั้งหมด ตัณหาดุจเถาวัลย์ ก็งอกงามขึ้น พวกเธอ ครั้นเห็นตัณหาดุจเถาวัลย์ที่งอกงามนั้น จงตัดรากด้วยปัญญา๒- [๓๔๑] สัตว์โลกผู้มีแต่โสมนัสซาบซ่าน ฉ่ำชื้นด้วยเสน่หา๓- มัวแต่จะแสวงหาความสุขสำราญกันอยู่ จึงต้องเข้าถึงชาติและชราร่ำไป [๓๔๒] หมู่สัตว์ถูกล้อมไว้ด้วยตัณหาที่ทำให้สะดุ้ง จึงดิ้นรนเหมือนกระต่ายติดบ่วง หมู่สัตว์ผู้ถูกสังโยชน์และกิเลสเครื่องข้อง๔- ผูกไว้แน่น ย่อมได้รับความทุกข์ร่ำไปชั่วกาลนาน @เชิงอรรถ : @ ตัณหา ๓๖ สาย ได้แก่ ตัณหา ๓ (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) อาศัยอายตนะภายใน ๖ @(๓ x ๖ = ๑๘) อาศัยอายตนะภายนอก ๖ (๓ x ๖ = ๑๘) ได้กระแส ๓๖ สายที่ไหลไปในอารมณ์มีรูป @เป็นต้นที่น่าชอบใจ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๐) @ ปัญญา หมายถึงปัญญาอันสัมปยุตด้วยมรรค (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๑) @ ฉ่ำชื้นด้วยเสน่หา หมายถึงเปียกชุ่มด้วยยางเหนียว คือตัณหา (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๑) @ หมายถึงสังโยชน์ ๑๐ ประการ และกิเลสเครื่องข้อง ๗ ประการ มีราคะเป็นต้นผูกไว้หรือเกี่ยวไว้ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๔. ตัณหาวรรค ๔. พันธนาคารวัตถุ

[๓๔๓] หมู่สัตว์ถูกล้อมไว้ด้วยตัณหาที่ทำให้สะดุ้ง จึงดิ้นรนเหมือนกระต่ายติดบ่วง เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อหวังให้ตนสิ้นราคะ ควรบรรเทาตัณหาที่ทำให้สะดุ้งเสีย
๓. วิพภันตกวัตถุ
เรื่องภิกษุผู้กระสันจะสึก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่บริษัท ๔ ดังนี้) [๓๔๔] บุคคลใดออกจากอาลัยแล้ว๑- มีใจน้อมไปในป่า๒- พ้นจากป่าแล้ว๓- ยังแล่นเข้าไปสู่ป่านั้นอีก ท่านทั้งหลายจงดูบุคคลนั้น เขาพ้นจากเครื่องผูก ยังแล่นไปสู่เครื่องผูกตามเดิม
๔. พันธนาคารวัตถุ
เรื่องเรือนจำ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่เหล่าภิกษุผู้เห็นโจรถูกจองจำในเรือนจำ ดังนี้) [๓๔๕] นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ได้กล่าวถึงเครื่องจองจำ ที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้ และทำด้วยหญ้าปล้อง ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่นคง แต่กล่าวถึง ความกำหนัดยินดีในต่างหูแก้วมณี และความใยดีในบุตรภรรยา ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่นคง @เชิงอรรถ : @ อาลัย ในที่นี้หมายถึงความเป็นอยู่อย่างคฤหัสถ์ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๕) @ ป่า ในที่นี้หมายถึงตบะ (ตโปวนะ) (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๕) @ ป่า ในที่นี้หมายถึงตัณหาคือเครื่องผูกให้อยู่ครองเรือน (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๔. ตัณหาวรรค ๖. อุคคเสนเสฏฐิปุตตวัตถุ

[๓๔๖] นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวถึงความกำหนัด เครื่องจองจำที่มั่นคงนั้น ว่ามีปกติเหนี่ยวลง หย่อนยาน แต่แก้ให้หลุดยาก นักปราชญ์เหล่านั้นตัดเครื่องจองจำนั้นได้แล้ว ไม่ใยดี ละกามสุข ออกบวช๑-
๕. เขมาเถรีวัตถุ
เรื่องพระเขมาเถรี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระเขมาเถรี ดังนี้) [๓๔๗] สัตว์ทั้งหลายผู้กำหนัดยินดีด้วยราคะ๒- ย่อมตกไปสู่กระแสตัณหา เหมือนแมงมุมติดใยที่ตนถักไว้เอง นักปราชญ์ทั้งหลายตัดกระแสตัณหานั้นได้แล้ว หมดความใยดี ย่อมละทุกข์ทั้งปวงไปได้
๖. อุคคเสนเสฏฐิปุตตวัตถุ
เรื่องบุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นายอุคคเสน ดังนี้) [๓๔๘] เธอจงเป็นผู้ปล่อยวางทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน๓- จงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ เธอผู้มีใจหลุดพ้นในธรรมทั้งปวงแล้ว จักไม่เข้าถึงชาติ และชราอีกต่อไป @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๒๑/๑๔๐, ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๐๑-๑๐๒/๕๕ @ หมายรวมถึงขุ่นเคืองเพราะโทสะ ลุ่มหลงเพราะโมหะด้วย (ขุ.ธ.อ. ๘/๒๑) @ หมายถึงปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ความทะยานอยากในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน @(ขุ.ธ.อ. ๘/๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๔. ตัณหาวรรค ๘. มารวัตถุ

๗. จูฬธนุคคหปัณฑิตวัตถุ
เรื่องจูฬธนุคคหบัณฑิต
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งผู้กระสันจะสึก ดังนี้) [๓๔๙] บุคคลผู้ถูกวิตก๑- ย่ำยี มีราคะจัด เห็นอารมณ์ว่างามเสมอ ย่อมมีตัณหาพอกพูนมากขึ้นๆ บุคคลเช่นนั้นแลชื่อว่าสร้างเครื่องผูกมัดที่แน่นหนา [๓๕๐] ส่วนผู้ใดยินดีในฌานเป็นที่ระงับวิตก๒- มีสติทุกเมื่อ เจริญอสุภฌานอยู่ ผู้นั้นแล จักทำตัณหาให้สิ้นไปได้ จักตัดเครื่องผูกแห่งมาร๓- ได้
๘. มารวัตถุ
เรื่องมาร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่มารผู้มีบาป ดังนี้) [๓๕๑] ผู้บรรลุความสำเร็จแล้ว๔- ไม่มีความสะดุ้งกลัว ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ตัดลูกศรที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว ร่างกายนี้จึงเป็นร่างกายสุดท้าย @เชิงอรรถ : @ วิตก หมายถึงความตรึกมี ๓ อย่าง คือ กามวิตก ความตรึกในทางกาม พยาบาทวิตก ความตรึกในทาง @พยาบาท วิหิงสาวิตก ความตรึกในทางเบียดเบียน (ขุ.ธ.อ. ๘/๓๒) @ ฌานเป็นที่ระงับวิตก หมายถึงปฐมฌานที่มีอสุภะ ๑๐ ประการเป็นอารมณ์ สามารถเข้าไปสงบระงับ @มิจฉาวิตกได้ (ขุ.ธ.อ. ๘/๓๒) @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ หน้า ๓๕ ในเล่มนี้ @ ความสำเร็จ หมายถึงอรหัตตผล (ขุ.ธ.อ. ๘/๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๔. ตัณหาวรรค ๙. อุปกาชีวกวัตถุ

[๓๕๒] ผู้ปราศจากตัณหา หมดความยึดมั่น ฉลาดในนิรุตติบท๑- รู้หมวดหมู่และเบื้องต้นเบื้องปลายของอักษรทั้งหลาย ผู้นั้นแลเรียกว่า ผู้มีร่างกายเป็นร่างกายสุดท้าย ผู้มีปัญญามาก เป็นมหาบุรุษ
๙. อุปกาชีวกวัตถุ
เรื่องอาชีวกชื่ออุปกะ
(พระผู้มีพระภาคเมื่อแรกตรัสรู้ประทับนั่งที่ควงไม้โพธิ์ อาชีวกชื่ออุปกะเข้ามา ถามพระองค์ว่า บวชเพื่อใคร ใครเป็นศาสดา พระองค์จึงตรัสพระคาถา ดังนี้) [๓๕๓] เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๒- รู้ธรรมทั้งปวง๓- มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๔- ละธรรมทั้งปวงได้๕- หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเองแล้วจะพึงกล่าวอ้างใครเล่า๖- @เชิงอรรถ : @ นิรุตติบท หมายถึงนิรุตติปฏิสัมภิทา รวมทั้งปฏิสัมภิทาที่เหลืออีก ๓ อย่าง (อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา @และปฏิภาณปฏิสัมภิทา) (ขุ.ธ.อ. ๘/๓๔) @ ธรรม หมายถึงธรรม ๓ ระดับ (กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ) (ขุ.ธ.อ. ๘/๓๖) @ ธรรม หมายถึงธรรม ๔ ระดับ (กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตตรภูมิ) (ขุ.ธ.อ. ๘/๓๖) @ มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง หมายถึงไม่เปื้อนด้วยตัณหาและทิฏฐิในธรรม ๓ ระดับนั้น (ขุ.ธ.อ. ๘/๓๖) @ ละธรรมทั้งปวงได้ หมายถึงละธรรม ๓ ระดับ กล่าวคือละธรรมชั้นกามาวจร ชั้นรูปาวจร และชั้น @อรูปาวจรได้ (ขุ.ธ.อ. ๘/๓๗) @ หมายถึงเมื่อรู้เองได้อย่างนี้แล้ว จะต้องอ้างใครเป็นอุปัชฌาย์ หรืออาจารย์อีกเล่า (ขุ.ธ.อ. ๘/๓๗) และดู @วิ.ม. (แปล) ๔/๑๑/๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๔. ตัณหาวรรค ๑๑. อปุตตกเสฏฐิปุตตวัตถุ

๑๐. สักกเทวราชวัตถุ
เรื่องท้าวสักกะจอมเทพ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ท้าวสักกะจอมเทพและเหล่าเทวดา ดังนี้) [๓๕๔] การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง๑-
๑๑. อปุตตกเสฏฐิปุตตวัตถุ
เรื่องอปุตตกเศรษฐีบุตร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศล ดังนี้) [๓๕๕] โภคทรัพย์ทั้งหลาย ย่อมทำลายคนมีปัญญาทราม แต่จะไม่ทำลายคนที่แสวงหาฝั่ง๒- เพราะความทะยานอยากในโภคทรัพย์ คนมีปัญญาทรามจึงทำลายตนเองดุจทำลายคนอื่น @เชิงอรรถ : @ การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง หมายถึงบุคคลจะให้หรือเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุข @ส่วนรวมได้ก็ต่อเมื่อได้ฟังธรรม จนรู้ว่าคุณประโยชน์ของการให้หรือการเสียสละว่าดีอย่างไรเสียก่อน จึงจะ @ให้หรือเสียสละได้ หากไม่ได้ฟังธรรม การให้สิ่งอื่นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย @รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง หมายถึงรสอื่นๆ เช่น รสสุธาโภชน์ของเทวดา ยังเป็นปัจจัยให้สัตว์ต้อง @เสวยทุกข์ในสังสารวัฏ แต่รสแห่งพระธรรม คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และโลกุตตรธรรม ๙ ประการ @เป็นรสแห่งความสุขที่ประเสริฐสุด @ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง หมายถึงความยินดีอื่นๆ เช่น ความยินดีบุตร ธิดา ทรัพย์สิน @สตรี หรือการขับร้อง ประโคมดนตรี ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยให้เสวยทุกข์ในสังสารวัฏ แต่การแสดงธรรม @การได้ฟังธรรม หรือการแนะนำธรรม ย่อมก่อให้เกิดปีติสุข และเป็นปัจจัยให้บรรลุอรหัตตผล สิ้นทุกข์ใน @สังสารวัฏได้ @ความสิ้นตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง หมายถึงอรหัตตผลที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นตัณหานั้นเป็นสภาวะ @ที่ครอบงำตัดขาดทุกข์ในสังสารวัฏได้อย่างสิ้นเชิง (ขุ.ธ.อ. ๘/๓๙-๔๑) @ ฝั่ง หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๘/๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๔. ตัณหาวรรค ๑๒. อังกุรวัตถุ

๑๒. อังกุรวัตถุ
เรื่องอังกุรเทพบุตร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่อังกุรเทพบุตร และอินทกเทพบุตร ดังนี้) [๓๕๖] นามีหญ้าเป็นโทษ หมู่ชนมีราคะเป็นโทษ ฉะนั้น ทานที่ให้แก่ผู้ปราศจากราคะ จึงมีผลมาก [๓๕๗] นามีหญ้าเป็นโทษ หมู่ชนมีโทสะเป็นโทษ ฉะนั้น ทานที่ให้แก่ผู้ปราศจากโทสะ จึงมีผลมาก [๓๕๘] นามีหญ้าเป็นโทษ หมู่ชนมีโมหะเป็นโทษ ฉะนั้น ทานที่ให้แก่ผู้ปราศจากโมหะ จึงมีผลมาก [๓๕๙] นามีหญ้าเป็นโทษ หมู่ชนมีความอยากเป็นโทษ ฉะนั้น ทานที่ให้แก่ผู้ปราศจากความอยาก จึงมีผลมาก (นามีหญ้าเป็นโทษ หมู่ชนมีตัณหาเป็นโทษ ฉะนั้น ทานที่ให้แก่ผู้ปราศจากตัณหา จึงมีผลมาก)
ตัณหาวรรคที่ ๒๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๔๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๓๗-๑๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=33              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=1162&Z=1243                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=34              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=34&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=25&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=34&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=25&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i034-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i034-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.24.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.24.budd.html https://suttacentral.net/dhp334-359/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp334-359/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp334-359/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :