ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]

๕. อุปาสกสูตร

๕. อุปาสกสูตร
ว่าด้วยอุบาสก
[๑๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น อุบาสกชาวบ้านอิจฉานังคละคนหนึ่ง ถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ ด้วยกิจที่จะต้องทำบางอย่าง ครั้งนั้น อุบาสกนั้นครั้นทำ กิจที่จะต้องทำในกรุงสาววัตถีเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ อุบาสกนั้นดังนี้ว่า “นานเหลือเกิน อุบาสก ท่านจึงมีเหตุมา ณ ที่นี้ได้” อุบาสกนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ประสงค์จะเข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาคนานแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แต่ว่าข้าพระองค์มัวขวนขวายกับกิจที่จะ ต้องทำบางอย่าง จึงไม่สามารถเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ความสุขย่อมมีแก่บุคคลผู้ไม่มีอะไร๑- ผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว๒- เป็นพหูสูต๓- ท่านจงดูคนที่มีกิเลสเครื่องกังวลกำลังเดือดร้อนอยู่ เพราะคนที่มีความผูกพันกับคนอื่นย่อมเดือดร้อน
อุปาสกสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ไม่มีอะไร หมายถึงไม่มีอารมณ์อะไรในอารมณ์ทั้ง ๕ ที่จะต้องยึดถือด้วยตัณหาว่า “สิ่งนั้นเป็นของเรา” @อีกนัยหนึ่งหมายถึงไม่มีกิเลสเครื่องกังวลมีราคะเป็นต้น (ขุ.อุ.อ. ๑๕/๑๒๐) @ ผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว หมายถึงผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ได้แก่ บรรลุมรรค ๔ ผล ๔ ในที่นี้หมายถึงพระอรหันต์ @(ขุ.อุ.อ. ๑๕/๑๒๐-๑๒๑) @ พหูสูต ในที่นี้หมายถึงเป็นพหูสูตด้วยปฏิเวธพาหุสัจจะ(ความเป็นพหูสูตด้วยการรู้แจ้งธรรม) (ขุ.อุ.อ. ๑๕/๑๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๙๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๙๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=50              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=1800&Z=1817                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=55              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=55&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=2668              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=55&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=2668                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.2.05.than.html https://suttacentral.net/ud2.5/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud2.5/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :