ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๙. สิปปสูตร
ว่าด้วยการสนทนาเรื่องศิลปะ
[๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉัน อาหารเสร็จแล้ว มานั่งประชุมพร้อมกันในมณฑป ได้สนทนาอันตรากถาขึ้นว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ใครรู้จักศิลปะบ้าง ใครศึกษาศิลปะอะไรมาบ้าง ศิลปะชนิด ไหนเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย” บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยช้างเลิศกว่าศิลปะ ทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยม้าเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย” บางพวก กล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยรถเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะ ว่าด้วยธนูเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยอาวุธ๒- เลิศกว่า ศิลปะทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยการคำนวณด้วยวิธีนับนิ้วเลิศกว่า @เชิงอรรถ : @ ไม่อาศัยเสียงสรรเสริญ หมายถึงไม่ต้องการเสียงสรรเสริญ หรือการยกย่องจากคนอื่นว่า พระคุณเจ้ารูปนี้ @มีความมักน้อย สันโดษ มีความประพฤติขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง (ขุ.อุ.อ. ๒๘/๒๑๕) @ แปลจากคำว่า “ถรุสิปฺปํ” หมายถึงอาวุธอื่นๆ จากธนู (ขุ.อุ.อ. ๒๙/๒๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๓. นันทวรรค]

๙. สิปปสูตร

ศิลปะทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยการคำนวณด้วยวิธีคิดในใจเลิศกว่า ศิลปะทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยการคำนวณด้วยวิธีอนุมานด้วย สายตาเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยการวาดเขียน เลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยฉันทลักษณ์เลิศกว่า ศิลปะทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยโลกายตศาสตร์๑- เลิศกว่าศิลปะ ทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยวิชากฎหมายเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นได้สนทนาอันตรากถากันค้างไว้เพียงเท่านี้ ครั้งนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไป ยังมณฑป ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ พระผู้มีพระภาคครั้นประทับนั่งแล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวลานี้ เธอทั้งหลายสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไร และพูดเรื่องอะไรค้างไว้” ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลาย กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว มานั่งประชุม พร้อมกันในมณฑป ได้สนทนาอันตรากถาขึ้นว่า ‘ท่านทั้งหลาย ใครรู้จักศิลปะบ้าง ใครศึกษาศิลปะอะไรมาบ้าง ศิลปะชนิดไหนเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ บรรดาพวก ข้าพระองค์นั้น บางพวกกล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยช้างเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ บางพวก กล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยม้าเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ บางพวกกล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วย รถเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ บางพวกกล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยธนูเลิศกว่าศิลปะ ทั้งหลาย’ บางพวกกล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยอาวุธเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ บางพวก กล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยการคำนวณด้วยวิธีนับนิ้วเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ บางพวก กล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยการคำนวณด้วยวิธีคิดในใจเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ บางพวก กล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยการคำนวณด้วยวิธีอนุมานด้วยสายตาเลิศกว่าศิลปะ ทั้งหลาย’ บางพวกกล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยการวาดเขียนเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ @เชิงอรรถ : @ โลกายตศาสตร์ ในที่นี้หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์ โดยการ @อ้างทฤษฎีและประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่ @อย่างใด (ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒, ขุ.อุ.อ. ๒๙/๒๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๓. นันทวรรค]

๙. สิปปสูตร

บางพวกกล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยฉันทลักษณ์เลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ บางพวก กล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยโลกายตศาสตร์เลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ บางพวกกล่าวว่า ‘ศิลปะว่าด้วยวิชากฎหมายเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อันตรากถา นี้แล ที่ข้าพระองค์ทั้งหลายพูดค้างไว้ พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตรมี ศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วพากันสนทนาเรื่องอย่างนี้ ไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายนั่งประชุมกันแล้วควรทำกิจเพียง ๒ อย่าง คือ การกล่าวธรรม หรือ ความเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ผู้ใดไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ เป็นอยู่เรียบง่าย มุ่งบำเพ็ญประโยชน์ สำรวมอินทรีย์ หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง๑- ไม่ต้องแล่นไปในโอกะ๒- ไม่มีการยึดถือว่าของเรา ไม่มีความหวัง กำจัดมารได้แล้ว เที่ยวไปผู้เดียว ผู้นั้นชื่อว่า ภิกษุ
สิปปสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง หมายถึงหลุดพ้นจากภพเป็นต้น เพราะละสังโยชน์ทั้งหลายได้ด้วยอริยมรรค @๔ ประการ (ขุ.อุ.อ. ๒๙/๒๑๗) @ ไม่ต้องแล่นไปในโอกะ หมายถึงไม่ต้องแล่นไปในอำนาจของอายตนะทั้ง ๖ ที่เรียกว่า “โอกะ” เพราะไม่ @มีธรรมเครื่องแล่นไปคือตัณหา (ขุ.อุ.อ. ๒๙/๒๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๒๖-๒๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=64              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=2384&Z=2422                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=83              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=83&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=4835              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=83&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=4835                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.3.09.than.html https://suttacentral.net/ud3.9/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud3.9/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :