ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๔. กุมารกสูตร
ว่าด้วยเด็กจับปลา
[๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น เด็กจำนวนมากจับปลาอยู่ในระหว่าง กรุงสาวัตถีกับพระเชตวัน ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็กจำนวนมากจับปลาอยู่ ในระหว่างกรุงสาวัตถีกับพระเชตวันนั้น จึงเสด็จเข้าไปหาเด็กเหล่านั้นแล้วได้ตรัส ถามดังนี้ว่า “พ่อหนูทั้งหลาย เธอทั้งหลายกลัวความทุกข์ ความทุกข์ไม่เป็นที่รัก ของเธอทั้งหลายมิใช่หรือ” เด็กทั้งหลายทูลตอบว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายกลัว ความทุกข์ ความทุกข์ไม่เป็นที่รักของข้าพระองค์ทั้งหลาย” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค]

๕. อุโปสถสูตร

พุทธอุทาน
ถ้าเธอทั้งหลายกลัวความทุกข์ ถ้าความทุกข์ไม่เป็นที่รักของเธอทั้งหลาย ก็อย่าได้ทำบาปกรรมในที่แจ้ง๑- หรือบาปกรรมในที่ลับ๒- เพราะถ้าเธอทั้งหลายจักทำ หรือกำลังทำบาปกรรมอยู่ ถึงจะเหาะหนีไป เธอย่อมไม่พ้นจากความทุกข์ไปได้
กุมารกสูตรที่ ๔ จบ
๕. อุโปสถสูตร๓-
ว่าด้วยอุโบสถกรรม
[๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพาราม ปราสาทของนางวิสาขา- มิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับ นั่งในวันอุโบสถวันหนึ่ง ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว๔- ปฐมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจาก อาสนะห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาค ได้กราบทูล ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์ นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุ ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ บาปกรรมในที่แจ้ง หมายถึงกรรมชั่วทางกาย และทางวาจา (ขุ.อุ.อ. ๔๔/๓๑๕) @ บาปกรรมในที่ลับ หมายถึงกรรมชั่วทางใจ (ขุ.อุ.อ. ๔๔/๓๑๕) @ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๓-๓๘๕/๒๗๘-๒๘๕, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๒๐/๒๕๒-๒๖๕, อภิ.ก. ๓๗/๓๔๖/๑๘๘ @ ดูเชิงอรรถที่ ๔ หน้า ๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๖๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๕๙-๒๖๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=79              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=2971&Z=2990                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=115              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=115&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=7045              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=115&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=7045                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.5.04.than.html https://suttacentral.net/ud5.4/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud5.4/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :