ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค]

๑. ปฐมลกุณฏกภัททิยสูตร

๗. จูฬวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องเล็กน้อย
๑. ปฐมลกุณฏกภัททิยสูตร
ว่าด้วยพระลกุณฏกภัททิยเถระ สูตรที่ ๑
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ท่านพระ ลกุณฏกภัททิยะ๑- เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาโดยวิธีต่างๆ๒- จิตของ ท่านพระลกุณฏกภัททิยะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น๓- พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ท่านพระลกุณฏก- ภัททิยะเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาโดยวิธีต่างๆ จิตของท่านพระลกุณฏกภัททิยะ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า @เชิงอรรถ : @ เดิมชื่อ ภัททิยะ แต่เพราะท่านมีร่างกายเตี้ย คนจึงเรียกท่านว่า “ลกุณฏกภัททิยะ” นัยว่า ก่อนที่ท่านจะ @ได้ฟังธรรมจากท่านพระสารีบุตรนั้น ท่านได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว (ขุ.อุ.อ. ๖๑/๓๘๖) @ โดยวิธีต่างๆ หมายถึงโดยเหตุมากมายอย่างนี้ คือ ให้พิจารณาเห็นว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น @อนัตตา เป็นต้น (ขุ.อุ.อ. ๖๑/๓๘๗) @ หมายถึงทำให้แจ้งอรหัตตผล (ขุ.อุ.อ. ๖๑/๓๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค]

๒. ทุติยลกุณฏกภัททิยสูตร

พุทธอุทาน
บุคคลหลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวงทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ๑- ไม่หลงเข้าใจว่า นี้เป็นของเรา นี้เป็นตัวเรา มีจิตหลุดพ้นได้เด็ดขาดอย่างนี้ ชื่อว่าข้ามพ้นโอฆะ๒- ที่ตนยังไม่เคยข้ามได้ ไม่ต้องมีภพใหม่อีก
ปฐมลกุณฏกภัททิยสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยลกุณฏกภัททิยสูตร
ว่าด้วยพระลกุณฏกภัททิยเถระ สูตรที่ ๒
[๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรสำคัญท่านพระ ลกุณฏกภัททิยะว่าเป็นพระเสขะ จึงชี้แจงให้ท่านพระลกุณฏกภัททิยะเห็นชัด ชวนใจ ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาโดยวิธีต่างๆ ยิ่งกว่าประมาณ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรผู้สำคัญท่านพระลกุณฏก- ภัททิยะว่าเป็นพระเสขะ จึงชี้แจงให้ท่านพระลกุณฏกภัททิยะเห็นชัด ชวนใจให้ @เชิงอรรถ : @ ชั้นสูง หมายถึงรูปธาตุ และอรูปธาตุ นี้ว่าโดยหลุดพ้นเบื้องต้น แต่เมื่อว่าโดยหลุดพ้นเบื้องปลายหมายถึง @ละสังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการได้ ชั้นต่ำ หมายถึงกามธาตุ นี้ว่าโดยหลุดพ้นเบื้องต้น แต่เมื่อว่าโดยหลุดพ้น @เบื้องปลายหมายถึงละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้ (ขุ.อุ.อ. ๖๑/๓๘๗) @ โอฆะ หมายถึงห้วงน้ำคือสังสารวัฏมี ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา (ขุ.อุ.อ. ๖๑/๓๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๑๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๐๙-๓๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=96              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=3770&Z=3787                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=147              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=147&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=8632              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=147&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=8632                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.7.01.than.html https://suttacentral.net/ud7.1/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud7.1/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :