ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๗. โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระโสณโปฏิริยปุตตเถระ
(พระผู้มีพระภาค เมื่อจะตรัสสอนพระโสณโปฏิริยบุตรเถระ จึงได้ตรัสพระคาถาว่า) [๑๙๓] ราตรีที่ประกอบด้วยฤกษ์มาลินี๑- มิใช่เป็นราตรีที่จะหลับก่อน ราตรีเช่นนี้เป็นราตรีที่ผู้รู้แจ้งปรารถนาแล้ว เพื่อประกอบความเพียรโดยแท้ @เชิงอรรถ : @ ฤกษ์มาลินี หมายถึง ฤกษ์ที่มีดวงดาวขึ้นเป็นกลุ่มเหมือนพวงดอกไม้ (ดาวลูกไก่) เป็นฤกษ์ที่ควรทำความ @เพียร ไม่ใช่เวลานอน (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๙๓/๔๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต]

๔. จตุตถวรรค ๙. อุสภเถรคาถา

(พระโสณโปฏิริยเถระได้ฟังพระดำรัสนั้นก็สลดใจ กลับได้หิริโอตตัปปะ อธิษฐานอัพโภกาสิกังคธุดงค์๑- กระทำการเจริญวิปัสสนา ได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า) [๑๙๔] ถ้าช้างพึงเหยียบเราผู้ตกจากคอช้าง เราตายเสียในสงครามประเสริฐกว่า แพ้แล้วเป็นอยู่จะประเสริฐอะไร
๘. นิสภเถรคาถา
ภาษิตของพระนิสภเถระ
(พระนิสภเถระ เมื่อจะกล่าวสอนภิกษุสหายทั้งหลาย จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า) [๑๙๕] วิญญูชนละเบญจกามคุณ ซึ่งน่ารักน่ารื่นรมย์ใจ ออกบวชด้วยศรัทธา พึงทำที่สุดทุกข์ได้ [๑๙๖] เราไม่อยากตาย ไม่อยากเป็นอยู่ แต่เรามีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า คอยเวลาอันควร
๙. อุสภเถรคาถา
ภาษิตของพระอุสภเถระ
(พระอุสภเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า) [๑๙๗] เราฝันว่าได้ห่มจีวรสีใบมะม่วงอ่อนเฉวียงบ่า นั่งบนคอช้าง เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน [๑๙๘] ลงจากคอช้างแล้ว ได้ความสลดใจ ครั้งนั้น เรานั้นมีความสว่าง ได้ความสลดใจ ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว @เชิงอรรถ : @ องค์แห่งผู้ถือการอยู่ที่แจ้งเป็นวัตร (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๙๔/๔๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๓๖๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๓๖๕-๓๖๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=294              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=5939&Z=5947                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=294              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=294&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=32&A=10910              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=294&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=32&A=10910                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.02.37.than.html https://suttacentral.net/thag2.37/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :