ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒. โกสัมพิยชาดก (๔๒๘)
ว่าด้วยการทะเลาะกันในเมืองโกสัมพี
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) [๑๐] คนทะเลาะกันมีเสียงดังเหมือนกันไปหมด ไม่มีใครเลยจะรู้สึกตัวว่าเป็นคนพาล ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่ยอมรับรู้เหตุอย่างอื่น [๑๑] คนฟั่นเฟือนยกตนว่าเป็นบัณฑิต เอาแต่พูด ยื่นปากพูดตามที่ตัวปรารถนา แต่ไม่ยอมรับรู้เรื่องที่ทะเลาะกันอย่างไร้ยางอาย [๑๒] ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบระงับ [๑๓] ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป เวรของชนเหล่านั้นย่อมสงบระงับ [๑๔] เพราะว่าในกาลไหนๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่สงบระงับด้วยเวร แต่เวรทั้งหลาย ย่อมสงบระงับด้วยการไม่จองเวร นี้เป็นธรรมเก่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต]

๓. มหาสุวราชชาดก (๔๒๙)

[๑๕] ชนพวกอื่นไม่รู้สึกว่าพวกเราย่อมย่อยยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ ส่วนชนเหล่าใดในท่ามกลางสงฆ์นั้นย่อมรู้สึก ต่อจากนั้น ความทะเลาะของชนเหล่านั้นย่อมสงบระงับ [๑๖] คนสมัยก่อนตัดกระดูกกัน ปลิดชีวิต ปล้นโค ม้า ทรัพย์ ซ้ำยังชิงเอาบ้านเมืองกัน แม้คนเหล่านั้นก็ยังคบกันได้ ทำไมพวกเธอจึงคบกันไม่ได้ [๑๗] หากบุคคลจะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน เป็นนักปราชญ์ มีปกติอยู่ด้วยกรรมอันดีงาม เที่ยวไปด้วยกัน ครอบงำอันตรายทั้งปวงแล้ว มีสติ พอใจ พึงเที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด [๑๘] หากบุคคลไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน เป็นนักปราชญ์ มีปกติอยู่ด้วยกรรมอันดีงาม เที่ยวไปด้วยกัน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงละแคว้นที่ทรงชนะแล้วเสด็จไปพระองค์เดียว และเหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปตัวเดียวในป่า [๑๙] การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวเป็นความประเสริฐ เพราะความเป็นสหายไม่มีในคนพาล อนึ่ง บุคคลควรมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปผู้เดียว ไม่พึงทำความชั่ว เหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปตัวเดียวในป่า
โกสัมพิยชาดกที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๓๐๒-๓๐๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=428              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=5127&Z=5157                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1216              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1216&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=6917              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1216&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=6917                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja428/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :