ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๐. มิตตามิตตชาดก (๔๗๓)
ว่าด้วยลักษณะมิตรและผู้มิใช่มิตร
(พระราชาตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า) [๑๒๑] วิญญูชนผู้เป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิต เห็นหรือได้ยินผู้ทำการงานอะไรบ้าง หรือพึงพยายามอย่างไร จึงจะรู้ว่า ผู้นี้ไม่ใช่มิตร (พระโพธิสัตว์กราบทูลลักษณะผู้มิใช่มิตรว่า) [๑๒๒] คนผู้มิใช่มิตร คือ เห็นเพื่อนแล้วไม่ยิ้มแย้ม ๑ ไม่ยินดีจะสนทนากับเพื่อน ๑ ไม่สบตาเพื่อน ๑ พูดต่อต้าน ๑ [๑๒๓] คบศัตรูของเพื่อน ๑ ไม่คบเพื่อนของเพื่อน ๑ ห้ามปรามคนที่สรรเสริญเพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่ด่าเพื่อน ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต]

๑๐. มิตตามิตตชาดก (๔๗๓)

[๑๒๔] ไม่บอกความลับแก่เพื่อน ๑ ไม่ช่วยปกปิดความลับของเพื่อน ๑ ไม่ยกย่องการกระทำของเพื่อน ๑ ไม่สรรเสริญปัญญาของเพื่อน ๑ [๑๒๕] เมื่อเพื่อนฉิบหายกลับพอใจ ๑ เมื่อเพื่อนเจริญกลับไม่พอใจ ๑ ได้อาหารที่มีรสแปลกมาก็ไม่นึกถึงเพื่อน ๑ แต่นั้น ย่อมจะไม่อนุเคราะห์เพื่อนว่า อย่างไรหนอ เพื่อนเราพึงได้ลาภจากที่นี้บ้าง ๑ [๑๒๖] อาการ ๑๖ ข้อดังกล่าวมานี้มีอยู่แล้วในคนที่มิใช่มิตร พึงเป็นเหตุให้บัณฑิตได้เห็นและได้ยินแล้วรู้ได้ว่ามิใช่มิตร (พระโพธิสัตว์กราบทูลลักษณะของมิตรว่า) [๑๒๗] วิญญูชนผู้เป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิต เห็นหรือได้ยินผู้ทำการงานอะไรบ้าง หรือชนพึงพยายามอย่างไรจึงรู้ว่า ผู้นั้นเป็นมิตร (ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า) [๑๒๘] คนผู้เป็นมิตร คือ เพื่อนจากไปก็คิดถึง ๑ เพื่อนกลับมาก็ยินดี ๑ หยอกล้อยิ้มย่องต่อเพื่อน ๑ ยินดีตอบสนองด้วยวาจาที่ไพเราะ ๑ [๑๒๙] คบเพื่อนของเพื่อนฝ่ายเดียว ๑ ไม่คบศัตรูของเพื่อน ๑ ห้ามปรามคนที่ด่าเพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่ยกย่องเพื่อน ๑ [๑๓๐] บอกความลับแก่เพื่อน ๑ ช่วยปกปิดความลับของเพื่อน ๑ ยกย่องการกระทำของเพื่อน ๑ สรรเสริญปัญญาของเพื่อน ๑ [๑๓๑] เมื่อเพื่อนเจริญก็ยินดี ๑ เมื่อเพื่อนฉิบหายก็ไม่ยินดี ๑ ได้อาหารที่มีรสแปลกมาก็นึกถึงเพื่อน ๑ แต่นั้น ย่อมจะอนุเคราะห์เพื่อนว่า อย่างไรหนอ เพื่อนจะได้ลาภจากที่นี้บ้าง ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต]

๑๐. มิตตามิตตชาดก (๔๗๓) รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้

[๑๓๒] อาการ ๑๖ ข้อดังกล่าวมานี้มีอยู่แล้วในคนที่เป็นมิตร พึงเป็นเหตุให้บัณฑิตได้เห็นและได้ยินแล้วรู้ได้ว่าเป็นมิตร
มิตตามิตตชาดกที่ ๑๐ จบ
รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. จูฬกุณาลชาดก ๒. ภัททสาลชาดก ๓. สมุททวาณิชชาดก ๔. กามชาดก ๕. ชนสันธชาดก ๖. มหากัณหชาดก ๗. โกสิยชาดก ๘. เมณฑกปัญหชาดก ๙. มหาปทุมชาดก ๑๐. มิตตามิตตชาดก
ทวาทสกนิบาต จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๙๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๓๙๓-๓๙๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=473              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=6723&Z=6764                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1713              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1713&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=2909              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1713&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=2909                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja473/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :