ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๘. มหาโมรชาดก (๔๙๑)
ว่าด้วยพญานกยูง
(พญานกยูงร้องขอชีวิตว่า) [๑๔๓] ถ้าหากท่านจับข้าพเจ้าเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ท่านอย่าได้ฆ่าข้าพเจ้าเลย จงจับเป็นแล้วนำข้าพเจ้าไปยังสำนักพระราชาเถิดเพื่อน ท่านคงจะได้ทรัพย์มิใช่น้อย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๘. มหาโมรชาดก (๔๙๑)

(บุตรนายพรานปลอบว่า) [๑๔๔] ลูกธนูที่สอดอยู่ในแล่งนี้ ข้าพเจ้าตั้งใจจะฆ่าท่านในวันนี้ก็หาไม่ แต่จะตัดบ่วงให้แก่ท่าน ด้วยมีความประสงค์ว่า ขอพญายูงทองจงบินไปตามสบายเถิด (พญานกยูงกล่าวว่า) [๑๔๕] ข้าพเจ้าขอถามท่าน เพราะเหตุที่ท่าน สู้อดกลั้นความหิวกระหายตลอดทั้งคืนทั้งวัน เฝ้าติดตามข้าพเจ้าอยู่ตลอด ๗ ปี เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร ท่านจึงประสงค์จะปล่อยข้าพเจ้า ผู้ติดบ่วงให้พ้นเสียจากเครื่องผูกเล่า [๑๔๖] วันนี้ ท่านงดเว้นจากปาณาติบาตแล้วหรือหนอ หรือว่าท่านให้อภัยแก่สัตว์ทั้งปวงแล้ว เพราะเหตุใด ท่านจึงประสงค์จะปล่อยข้าพเจ้าผู้ติดบ่วง ให้พ้นเสียจากเครื่องผูกเล่า (บุตรนายพรานถามว่า) [๑๔๗] พญานกยูง ขอท่านจงบอกถึงผล ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตและให้อภัยหมู่สัตว์ทั้งปวง ความข้อนี้ที่ข้าพเจ้าถามท่าน เขาจุติจากโลกนี้ไปแล้วจะได้รับความสุขอย่างไร (พญานกยูงตอบว่า) [๑๔๘] ข้าพเจ้าขอบอกผลของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต และผู้ให้อภัยหมู่สัตว์ทั้งปวงว่า เขาย่อมได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน และเมื่อตายย่อมไปสู่สวรรค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๘. มหาโมรชาดก (๔๙๑)

(บุตรนายพรานกล่าวว่า) [๑๔๙] สมณะและพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวว่า เทวดาไม่มี ชีวะย่อมถึงความขาดสูญในภพนี้เท่านั้น ผลของกรรมดีกรรมชั่วก็เหมือนกัน ย่อมขาดสูญ และกล่าวสอนว่า ทานคนโง่บัญญัติไว้ ข้าพเจ้าเชื่อวาจาของพระอรหันต์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเบียดเบียนนกทั้งหลาย (พระโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๑๕๐] ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ เห็นได้ชัดเจน ส่องโลกให้สว่างไสว โคจรไปในอากาศ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ นั้นมีอยู่ในโลกนี้หรือโลกอื่น ในมนุษยโลก พวกเขากล่าวถึงดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ นั้นอย่างไรหนอ (บุตรนายพรานกล่าวว่า) [๑๕๑] ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ เห็นได้ชัดเจน ส่องโลกให้สว่างไสว โคจรไปในอากาศ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ นั้นมีอยู่ในโลกอื่น ไม่ใช่โลกนี้ ในมนุษยโลก พวกเขากล่าวถึงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ทั้ง ๒ นั้นว่า เทวดา (ต่อมาพระโพธิสัตว์ได้กล่าวกับเขาว่า) [๑๕๒] สมณะและพราหมณ์เหล่าใดเป็นอเหตุกทิฏฐิ๑- ไม่พูดถึงกรรม ไม่พูดถึงผลของกรรมดีกรรมชั่วด้วยเหมือนกัน แต่สอนว่า ทานคนโง่บัญญัติไว้ สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีทิฏฐิเลวทราม ถูกกำจัดแล้วในเพราะการพยากรณ์เพียงเท่านี้ @เชิงอรรถ : @ อเหตุกทิฏฐิ คือพวกมีความเห็นผิดกล่าวอย่างนี้ว่า กรรมที่เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์และความเศร้าหมอง @ไม่มี (ขุ.ชา.อ. ๖/๑๕๒/๓๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๘. มหาโมรชาดก (๔๙๑)

(บุตรนายพรานกำหนดได้แล้วจึงกล่าวว่า) [๑๕๓] คำของท่านนั้นเป็นคำสัตย์อย่างแท้จริง ทานจะไม่พึงมีผลได้อย่างไร กรรมดีกรรมชั่วก็เหมือนกัน จะไม่พึงมีผลได้อย่างไร และทานคนโง่จะพึงบัญญัติขึ้นได้อย่างไร [๑๕๔] พญานกยูง ข้าพเจ้ากระทำกรรมอย่างไร กระทำเพราะอะไร ประพฤติอย่างไร จะคบใคร ผู้มีตบะคุณอย่างไร ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าโดยที่ข้าพเจ้าจะไม่ต้องตกนรก (พระโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๑๕๕] บนพื้นแผ่นดินยังมีสมณะพวกใดพวกหนึ่งอยู่ สมณะเหล่านั้นนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นบรรพชิต เที่ยวบิณฑบาตเฉพาะเวลาเช้า งดเว้นการบริโภคในเวลาวิกาล เป็นสัตบุรุษ [๑๕๖] ท่านจงเข้าไปหาสมณะเหล่านั้นตามกาลอันสมควร แล้วจงถามข้อความตามที่ท่านพอใจ สมณะเหล่านั้นจะชี้แจงข้อความอันเป็นประโยชน์ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าแก่ท่านตามที่รู้มา (พระปัจเจกพุทธเจ้าเปล่งอุทานว่า) [๑๕๗] ความเป็นพรานนี้ข้าพเจ้าละได้แล้ว เหมือนงูลอกคราบเก่าแก่ทิ้งไป เหมือนต้นไม้สลัดใบเหลืองทิ้ง เขียวชะอุ่มอยู่ ข้าพเจ้าละทิ้งความเป็นพรานได้ในวันนี้ (ท่านทำสัจจกิริยาว่า) [๑๕๘] นกเหล่าใดที่ข้าพเจ้ากักขังไว้หลายร้อยตัวในเรือนของข้าพเจ้า วันนี้ ข้าพเจ้าให้ทานชีวิตแก่นกเหล่านั้น ขอให้นกเหล่านั้นจงหลุดพ้น กลับไปยังที่อยู่ของตนเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๙. ตัจฉสูกรชาดก (๔๙๒)

(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศว่า นกเหล่านั้นพ้นจากทุกข์ได้ เพราะอาศัยพญานกยูง จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า) [๑๕๙] นายพรานถือบ่วงเที่ยวไปในป่า เพื่อจะจับพญานกยูงทองผู้เรืองยศ ครั้นจับพญานกยูงทองผู้เรืองยศได้แล้ว เขาได้พ้นจากทุกข์เหมือนเราตถาคตได้พ้นแล้ว
มหาโมรชาดกที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๔๔๕-๔๔๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=491              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=7603&Z=7657                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1961              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1961&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=6623              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1961&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=6623                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja491/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :