ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส
๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส๑-
อธิบายติสสเมตเตยยสูตร
ว่าด้วยปัญหาของติสสเมตเตยยะ
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายติสสเมตเตยยสูตร ดังต่อไปนี้ [๔๙] (ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลดังนี้) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ความคับแค้นของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ พวกข้าพระองค์ฟังคำสอนของพระองค์แล้วจักศึกษาวิเวก
ว่าด้วยเมถุนธรรม
คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ อธิบายว่า ธรรมเนียมของ อสัตบุรุษ คือ ธรรมเนียมของชาวบ้าน ธรรมเนียมชั้นต่ำ ธรรมเนียมที่เลวทราม ธรรมเนียมที่มีน้ำเป็นที่สุด ธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันในที่ลับ ธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติ กันเป็นคู่ๆ ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม เพราะธรรมนั้นเป็นธรรมเนียมของ คนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้มด้วยราคะ ถูกราคะครอบงำจิตเสมอ กันทั้ง ๒ คน เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๘๒๑-๘๓๐/๔๙๕-๔๙๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คน ๒ คนก่อการทะเลาะกัน เรียกว่าคู่ทะเลาะ คน ๒ คนก่อการบาดหมางกัน เรียกว่าคู่บาดหมาง คน ๒ คนก่อการอื้อฉาวกัน เรียกว่าคู่อื้อฉาว คน ๒ คนก่อการวิวาทกัน เรียกว่าคู่วิวาท คน ๒ คนก่ออธิกรณ์กัน เรียกว่าคู่อธิกรณ์ คน ๒ คนสนทนากัน เรียกว่าคู่สนทนา คน ๒ คนเจรจากัน เรียกว่าคู่เจรจา ฉันใด ธรรมนั้นเป็นธรรมเนียมของคนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้ม ด้วยราคะ ถูกราคะครอบงำจิตเสมอกันทั้ง ๒ คน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ ได้แก่ ของบุคคลผู้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบทั่วถึง ประกอบพร้อมในเมถุนธรรม คือ ผู้ประพฤติเรื่องนั้น มากไปด้วยเรื่องนั้น หนักในเรื่องนั้น เอนไปในเรื่องนั้น โอนไปในเรื่องนั้น โน้มไป ในเรื่องนั้น น้อมใจไปในเรื่องนั้น มุ่งเรื่องนั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า ของบุคคลผู้ ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลดังนี้ เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ เป็นคำ กล่าวที่มีความเคารพ คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวแสดงความยำเกรง คำว่า ติสสะ เป็นชื่อของพระเถระนั้น คือ เป็นการกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ คำว่า เมตเตยยะ เป็นโคตรของพระเถระนั้น คือ เป็นการกล่าวถึง การ ขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน รวมความว่า ท่านพระติสสเมตเตยยะ กราบทูลดังนี้ คำว่า ความคับแค้น ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรด ตรัสบอกความคับแค้น อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความคับแค้น คือ ความ เคียดแค้น ความบีบคั้น ความอึดอัด ความเบียดเบียน ความขัดข้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าว โดยความเคารพ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้ เป็นคำกล่าวแสดงความยำเกรง รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์ โปรดตรัสบอกความคับแค้น คำว่า ฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว อธิบายว่า ฟังแล้ว คือ สดับแล้ว เรียนแล้ว ทรงจำแล้ว กำหนดแล้วซึ่งพระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอนของพระองค์ รวมความว่า ฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว
ว่าด้วยวิเวก ๓
คำว่า พวกข้าพระองค์ ... จักศึกษาวิเวก อธิบายว่า คำว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ (๑) กายวิเวก (ความสงัดกาย) (๒) จิตตวิเวก (ความสงัดใจ) (๓) อุปธิวิเวก (ความสงัดอุปธิ) กายวิเวก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้สอยเสนาสนะที่สงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ช่องเขา สุสาน ป่าดงดิบ กลางแจ้ง ลอมฟาง และมีกายสงัดอยู่ คือ เดินรูป เดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านบิณฑบาตรูปเดียว กลับรูป เดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปลำพังรูปเดียว นี้ชื่อว่ากายวิเวก จิตตวิเวก เป็นอย่างไร คือ ผู้บรรลุปฐมฌานย่อมมีจิตสงัดจากนิวรณ์ ผู้บรรลุทุติยฌานย่อมมีจิตสงัด จากวิตกและวิจาร ผู้บรรลุตติยฌานย่อมมีจิตสงัดจากปีติ ผู้บรรลุจตุตถฌานย่อมมี จิตสงัดจากสุขและทุกข์ ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัดจาก รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิต สงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัด จากวิญญาณัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิต สงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

ผู้เป็นพระโสดาบัน ย่อมมีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น ผู้เป็นพระสกทาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง หยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ กามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น ผู้เป็นพระอนาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง ละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวก เดียวกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น ผู้เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับรูป ราคะเป็นต้นนั้น และสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก อุปธิวิเวก เป็นอย่างไร คือ กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ตรัสเรียกว่า อุปธิ อมตนิพพาน ตรัส เรียกว่า อุปธิวิเวก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงความเป็นผู้ผ่องแผ้วยิ่ง และอุปธิเวกย่อมมีแก่ บุคคลผู้ปราศจากอุปธิ บรรลุนิพพานอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่งแล้ว คำว่า พวกข้าพระองค์ ... จักศึกษาวิเวก อธิบายว่า พระเถระนั้นศึกษาสิกขา แล้วโดยปกติ อีกนัยหนึ่ง มุ่งหมายพระธรรมเทศนา ทูลขอพระธรรมเทศนา จึงกราบ ทูลอย่างนี้ว่า พวกข้าพระองค์ ... จักศึกษาวิเวก ด้วยเหตุนั้น พระติสสเมตเตยยเถระ จึงกราบทูลว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ความคับแค้นของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ พวกข้าพระองค์ฟังคำสอนของพระองค์แล้วจักศึกษาวิเวก [๕๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เมตเตยยะ) คำสั่งสอนของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ ย่อมเลอะเลือน และบุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด การปฏิบัตินี้ เป็นธรรมไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ อธิบายว่า ธรรมเนียมของ อสัตบุรุษ คือ ธรรมเนียมของชาวบ้าน ธรรมเนียมชั้นต่ำ ธรรมเนียมที่เลวทราม ธรรมเนียมที่มีน้ำเป็นที่สุด ธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันในที่ลับ ธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติ กันเป็นคู่ๆ ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม เพราะธรรมนั้นเป็นธรรมเนียมของ คนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้มด้วยราคะ ถูกราคะครอบงำจิตเสมอ กันทั้ง ๒ คน เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม คน ๒ คนก่อการทะเลาะกัน เรียกว่าคู่ทะเลาะ คน ๒ คนก่อการบาดหมางกัน เรียกว่าคู่บาดหมาง คน ๒ คนก่อการอื้อฉาวกัน เรียกว่าคู่อื้อฉาว คน ๒ คนก่อการวิวาทกัน เรียกว่าคู่วิวาท คน ๒ คนก่ออธิกรณ์กัน เรียกว่าคู่อธิกรณ์ คน ๒ คนสนทนากัน เรียกว่าคู่สนทนา คน ๒ คนเจรจากัน เรียกว่าคู่เจรจา ฉันใด ธรรมนั้นเป็นธรรมเนียมของคนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้ม ด้วยราคะ ถูกราคะครอบงำจิตเสมอกันทั้ง ๒ คน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ ได้แก่ ของบุคคลผู้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบทั่วถึง ประกอบพร้อมในเมถุนธรรม คือ ผู้ประพฤติเรื่องนั้น มากไปด้วยเรื่องนั้น หนักในเรื่องนั้น เอนไปในเรื่องนั้น โอนไปในเรื่องนั้น โน้มไปใน เรื่องนั้น น้อมใจไปในเรื่องนั้น มุ่งเรื่องนั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า ของบุคคลผู้ ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ
อธิบายคำว่า ภควา
คำว่า เมตเตยยะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระเถระนั้นโดยโคตร คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโทสะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโมหะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายมานะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายทิฏฐิได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงจำแนก แยกแยะ แจกแจงธรรมรัตนะ ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำที่สุดแห่งภพได้ ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมพระวรกายแล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส๑- ธรรมรส๒- วิมุตติรส๓- อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ๔- ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ๕- ๑๐ อานาปานสติสมาธิ๖- อสุภสมาบัติ๗- จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาค @เชิงอรรถ : @ อรรถรส หมายถึงความถึงพร้อมแห่งผลของเหตุ (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๕) @ ธรรมรส หมายถึงความถึงพร้อมแห่งเหตุ (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๕) @ วิมุตติรส หมายถึงความถึงพร้อมแห่งผล (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๕) @ อภิภายตนะ คือฌานที่ครอบงำนิวรณธรรมและอารมณ์ที่เล็กหรือใหญ่ได้ (ม.ม. ๑๓/๒๔๙/๒๒๔) @ กสิณสมาบัติ หมายถึงภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึงด้วยการกำหนดวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ @ได้แก่ ฌาน ๑๐ มีปฐวีกสิณฌานเป็นต้น (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๖) @ อานาปานสติสมาธิ ได้แก่สมาธิเกี่ยวเนื่องด้วยการตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๖) @ อสุภสมาบัติ หมายถึงภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึงด้วยการพิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้ @เห็นสภาพที่ไม่งาม หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ๑๐ อย่าง คือ (๑) ซากศพที่เน่าพอง (๒) ซากศพ @ที่มีสีเขียว (๓) ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหล (๔) ซากศพที่ขาดกลางตัว (๕) ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว (๖) ซาก @ศพที่มีมือเท้าศีรษะขาด (๗) ซากศพที่ถูกสับ ฟัน เป็นท่อนๆ (๘) ซากศพที่มีโลหิตไหลอยู่ (๙) ซากศพ @ที่มีตัวหนอนคลาคล่ำไปอยู่ (๑๐) ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก (วิสุทฺธิ. ๑/๑๐๒/๑๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ๑- ๑๐ เวสารัชชญาณ๒- ๔ ปฏิสัมภิทา๓- ๔ อภิญญา๔- ๖ พุทธธรรม๕- ๖ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาค พระนามว่า พระผู้มีพระภาค นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติและ ผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม(พระนามในลำดับการบรรลุ อรหัตตผล)เป็นสัจฉิกาบัญญัติ(บัญญัติที่เกิดเพราะทรงรู้แจ้งอรหัตตผล) ของพระผู้- มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นโพธิ์ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เมตเตยยะ @เชิงอรรถ : @ ตถาคตพลญาณ หมายถึงพระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ที่ทำให้พระองค์บันลือ @สีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง คือ (๑) ฐานาฐานญาณ ปรีชาหยั่งรู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขต @และขีดขั้นของสิ่งทั้งหลาย (๒) กัมมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม (๓) สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ @ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง หรือสู่ประโยชน์ทั้งปวง (๔) นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้สภาวะ @ของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นอเนก (๕) นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยเป็นต้น ของ @สัตว์ทั้งหลาย (๖) อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย (๗) @ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว เป็นต้น (๘) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ @ปรีชาหยั่งรู้ภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ (๙) จุตูปปาตญาณ ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย (๑๐) @อาสวักขยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (องฺ.ทสก. ๒๔/๒๑/๒๖-๒๙) @ เวสารัชชญาณ ๔ คือพระญาณอันเป็นเหตุให้ทรงแกล้วกล้า ไม่ครั่นคร้าม @๑. สัมมาสัมพุทธปฏิญญา ๒. ขีณาสวปฏิญญา @๓. อันตรายิกธัมมวาทะ ๔. นิยยานิกธัมมเทสนา (ม.มู. ๑๒/๑๕๐/๑๑๐-๑๑๑) @ ปฏิสัมภิทา ๔ หมายถึงปัญญาแตกฉาน ๔ อย่างคือ @(๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ปรีชาแจ้งในความหมาย @(๒) ธัมมปฏิสัมปทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชาแจ้งในหลัก @(๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ ปรีชาแจ้งในภาษา ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ @(๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ มีไหวพริบ @(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๗๒/๑๘๓-๑๘๔) @ อภิญญา ๖ ดูเชิงอรรถข้อ ๓๘/๑๔๑ @ พุทธธรรม ๖ หมายถึงพระปัญญาจักขุของพระพุทธเจ้า ที่ทรงทราบกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทั้งหมด @เป็นต้น (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๖) และดูรายละเอียดข้อ ๑๙๑/๕๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

ว่าด้วยคำสอน ๒ ส่วน
คำว่า คำสั่งสอน ... ย่อมเลอะเลือน ได้แก่ คำสั่งสอนเลอะเลือนโดยส่วน ทั้ง ๒ คือ (๑) คำสั่งสอนส่วนปริยัติเลอะเลือน (๒) คำสั่งสอนส่วนปฏิบัติเลอะเลือน คำสั่งสอนส่วนปริยัติ เป็นอย่างไร คือ คำสั่งสอนที่เล่าเรียนของเขา คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้ชื่อว่าคำสั่งสอนส่วนปริยัติ คำสั่งสอนนั้น ย่อมเลอะเลือน คือ ย่อมฟั่นเฟือน หลงลืม เลือนหาย ห่างหาย รวมความว่า คำสั่งสอน ... ย่อมเลอะเลือน อย่างนี้บ้าง คำสั่งสอนส่วนปฏิบัติ เป็นอย่างไร คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติ ที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ชื่อว่าคำสั่งสอนส่วนปฏิบัติ คำสั่งสอนนั้น ย่อมเลอะเลือน คือ ย่อมฟั่นเฟือน หลงลืม เลือนหาย ห่างหาย รวมความว่า คำสั่งสอน ... ย่อม เลอะเลือน อย่างนี้บ้าง คำว่า บุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด อธิบายว่า บุคคลนั้นฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์ บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง รวมความว่า บุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด คำว่า การปฏิบัตินี้ เป็นธรรมไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น อธิบายว่า การ ปฏิบัติผิด เป็นธรรมไม่ประเสริฐ เป็นธรรมของคนโง่ เป็นธรรมของคนหลง เป็น ธรรมของคนไม่รู้ เป็นธรรมของคนมีวาทะหลบเลี่ยงไม่แน่นอน ในบุคคลนั้น รวม ความว่า การปฏิบัตินี้เป็นธรรมไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า เมตเตยยะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำสั่งสอนของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ ย่อมเลอะเลือน และบุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด การปฏิบัตินี้ เป็นธรรมไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น [๕๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า) ผู้ใดในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวแล้ว (ต่อมา)เข้าไปเสพเมถุนธรรม ผู้รู้ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นปุถุชนเลวในโลก เหมือนยานที่แล่นไป ฉะนั้น
ว่าด้วยผู้บวชแล้วสึก
คำว่า ในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียว อธิบายว่า ในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วย เหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) ด้วยการบวช (๒) ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างไร คือ ผู้นั้นตัดความกังวลเรื่องการครองเรือน ตัดความกังวลเรื่องบุตรภรรยา ตัดความกังวลเรื่องญาติ ตัดความกังวลเรื่องมิตรและอำมาตย์ ตัดความกังวลเรื่อง การสะสมทั้งหมด โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต เข้าถึงความไม่กังวลแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว ชื่อว่าในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างนี้ ในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างไร คือ เธอเมื่อเป็นนักบวชแล้วอย่างนี้ผู้เดียว ก็ใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะ และป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น เธอเดินรูปเดียว ยืนรูป เดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตรูปเดียว กลับมารูปเดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว เที่ยวไปผู้เดียว คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว ชื่อว่าในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วย การละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า ผู้ใด ... เข้าไปเสพเมถุนธรรม อธิบายว่า ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ ... ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม๑- คำว่า ผู้ใด ... เข้าไปเสพเมถุนธรรม อธิบายว่า ต่อมา ผู้ใดบอกลา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ แล้วเสพ เสพเป็นนิจ คือ ซ่องเสพ เสพเฉพาะ ซึ่งเมถุนธรรม รวมความว่า ผู้ใด ... เข้าไปเสพเมถุนธรรม คำว่า ยาน ในคำว่า ผู้นั้น ... ในโลก เหมือนยานที่แล่นไป ฉะนั้น อธิบาย ว่า ยานคือช้าง ยานคือม้า ยานคือโค ยานคือแพะ ยานคือแกะ ยานคืออูฐ ยาน คือลาที่แล่นไป คือ ยังไม่ได้ฝึกหัด ยังไม่ได้ฝึกฝน ยังไม่ได้อบรม ย่อมแล่นไป ผิดทาง คือ ปีนตอไม้บ้าง ก้อนหินบ้าง ซึ่งไม่ราบเรียบ ทำร้ายยานเองบ้าง ผู้ขับขี่บ้าง ตกลงไปในเหวบ้าง ผู้นั้นสึกแล้ว เปรียบได้กับยานที่แล่นไป ย่อมแล่นไปสู่ทางผิด คือ ถือทิฏฐิผิด ... ถือสมาธิผิด เหมือนยานที่แล่นไปนั้น คือที่ยังไม่ได้ฝึกหัด ยังไม่ได้ ฝึกฝน ยังไม่ได้อบรม ย่อมแล่นไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้นั้นสึกแล้วเปรียบได้กับยานที่แล่นไป ย่อมแล่นไปสู่กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ผิด ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เหมือนยานที่แล่นไปนั้น คือ ที่ยังไม่ได้ฝึกหัด ยังไม่ได้ฝึกฝน ยังไม่ได้ อบรม ย่อมปีนตอไม้บ้าง ก้อนหินบ้าง ซึ่งไม่ราบเรียบ ฉะนั้น ผู้นั้นสึกแล้วเปรียบได้กับยานที่แล่นไป ย่อมทำลายตนในนรก ย่อมทำลายตน ในกำเนิดเดรัจฉาน ย่อมทำลายตนในเปตวิสัย ย่อมทำลายตนในมนุษยโลก ย่อม ทำลายตนในเทวโลก เหมือนยานที่แล่นไปนั้น คือ ที่ยังไม่ได้ฝึกหัด ยังไม่ได้ฝึกฝน ยังไม่ได้อบรม ย่อมทำลายยานเองบ้าง ผู้ขับขี่บ้าง ฉะนั้น ผู้นั้นสึกแล้วเปรียบได้กับยานที่แล่นไป ย่อมตกไปในเหวคือชาติบ้าง เหวคือ ชราบ้าง เหวคือพยาธิ(ความเจ็บป่วย)บ้าง เหวคือมรณะบ้าง เหวคือโสกะ(ความ เศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกขะ(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ)บ้าง เหมือนยานที่แล่นไปนั้น คือ ที่ยังไม่ได้ฝึกหัด ยังไม่ได้ฝึกฝน ยังไม่ได้อบรม ย่อมตกลงไปในเหวบ้าง ฉะนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๔๙/๑๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... มนุษยโลก๑- รวมความว่า ผู้นั้น ... ในโลก เหมือนยานที่แล่นไป ฉะนั้น คำว่า ปุถุชน ในคำว่า ผู้รู้ทั้งหลายเรียก ... ว่า เป็นปุถุชนเลว อธิบายว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าปุถุชน เพราะให้กิเลสหยาบเกิดขึ้น ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีสักกายทิฏฐิอันหนาแน่นยังละไม่ได้ ชื่อว่าปุถุชน เพราะ ปฏิญญาต่อหน้าศาสดาหลายองค์ ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกคติทุกอย่างร้อยรัดไว้มาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะปรุงแต่งอภิสังขารต่างๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูก โอฆะกิเลสต่างๆ เป็นอันมากพัดพาไป ชื่อว่าปุถุชน เพราะเดือดร้อนด้วยความ เดือดร้อนต่างๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกความเร่าร้อนต่างๆ เป็นอันมาก แผดเผา ชื่อว่าปุถุชน เพราะกำหนัด ยินดี ติดใจ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพัน ในกามคุณ ๕ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกนิวรณ์ ๕ อย่างเป็นอันมาก หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบัง คำว่า ผู้รู้ทั้งหลายเรียก ... ว่า เป็นปุถุชนเลว อธิบายว่า ผู้รู้ทั้งหลายเรียก คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า เป็นปุถุชนเลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า ผู้รู้ทั้งหลายเรียก ... ว่า เป็นปุถุชนเลว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ใดในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวแล้ว (ต่อมา)เข้าไปเสพเมถุนธรรม ผู้รู้ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นปุถุชนเลวในโลก เหมือนยานที่แล่นไป ฉะนั้น [๕๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ยศและเกียรติในเบื้องต้นของภิกษุนั้นเสื่อมไป ภิกษุเห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

ว่าด้วยยศและเกียรติ
คำว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้นของภิกษุนั้นเสื่อมไป อธิบายว่า ยศ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ นี้ชื่อว่ายศ เกียรติ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้รับการสรรเสริญเกียรติคุณว่า เป็น บัณฑิต เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นผู้ทรง จำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้อยู่ป่า เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ งดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ใน เสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ บ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ นี้ชื่อว่าเกียรติ รวมความว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้น คำว่า ... ของภิกษุนั้นเสื่อมไป อธิบายว่า ต่อมา ภิกษุบอกลาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ยศและเกียรตินั้นของเธอ ย่อมเสื่อมไป คือ เสียไป สิ้นไป หมดไป สูญหาย สลายไป รวมความว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้น ของภิกษุนั้นเสื่อมไป คำว่า นี้ ในคำว่า ภิกษุเห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม อธิบายว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ ความเสื่อมยศ ความ เสื่อมเกียรติของเธอ ผู้บอกลาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็น คฤหัสถ์ในเวลาต่อมา คือ (เห็น)สมบัติและวิบัตินี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า เห็นแล้ว ได้แก่ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้ กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว รวมความว่า เห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว
ว่าด้วยสิกขา ๓
คำว่า พึงศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ คือ (๑) อธิสีลสิกขา (๒) อธิจิตตสิกขา (๓) อธิปัญญาสิกขา อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ สมบูรณ์ ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท ทั้งหลายอยู่ คือ สีลขันธ์เล็ก๑- สีลขันธ์ใหญ่๒- ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความ ประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธานเพื่อความถึง พร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี วิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจากสมาธิอยู่ ... บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌานที่ไม่ มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขสมุทัย” เธอรู้ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๐/๔๘ @ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๐/๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “เหล่านี้อาสวะ” เธอรู้ตามความเป็น จริงว่า “นี้อาสวสมุทัย” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้อาสวนิโรธ” เธอรู้ตามความ เป็นจริงว่า “นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา” นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา คำว่า เมถุนธรรม อธิบายว่า ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ ... ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม๑- คำว่า ภิกษุเห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม อธิบายว่า ภิกษุพึงศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพื่อละ คือ เพื่อสงบ สลัดทิ้ง ระงับเมถุนธรรม สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อภิกษุนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่า พึงศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่า พึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่า พึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าพึงศึกษา คือ พึงประพฤติ เอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ รวมความว่า ภิกษุเห็นสมบัติ และวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้นของภิกษุนั้นเสื่อมไป ภิกษุเห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม [๕๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุนั้น ถูกความดำริครอบงำ ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้า ครั้นได้ยินคำตำหนิของคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๔๙/๑๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

ว่าด้วยข้อเสียของภิกษุ
คำว่า ภิกษุนั้นถูกความดำริครอบงำ ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้า อธิบาย ว่า ภิกษุนั้น ถูกความดำริในกาม ความดำริในพยาบาท ความดำริในความ เบียดเบียนกัน ความดำริตามทิฏฐิ กระทบ ครอบงำ คือ กลุ้มรุม ประกอบ ตบแต่ง ย่อมซบเซา คือ หงอยเหงา เซื่องซึม ซึมเศร้า เหมือนคนกำพร้า คนโง่ คนลุ่มหลง นกฮูกจ้องจับหนูอยู่ที่กิ่งไม้ ย่อมซบเซา หงอยเหงา เซื่องซึม ซึมเศร้า ฉันใด สุนัข จิ้งจอกคอยจ้องจับปลาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ย่อมซบเซา หงอยเหงา เซื่องซึม ซึมเศร้า ฉันใด แมวคอยจ้องจับหนูอยู่ตามรอยต่อ ที่ท่อน้ำ และที่ฝั่งน้ำมีเปือกตม ย่อม ซบเซา หงอยเหงา เซื่องซึม ซึมเศร้า ฉันใด ลาหลังเป็นแผล ย่อมซบเซา หงอยเหงา เซื่องซึม ซึมเศร้า อยู่ตามรอยต่อ ที่ท่อน้ำ และที่ฝั่งมีเปือกตม ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉัน นั้นเหมือนกัน เมื่อสึกแล้วถูกความดำริในกาม ความดำริในพยาบาท ความดำริใน ความเบียดเบียนกัน ความดำริตามทิฏฐิ กระทบ ครอบงำ คือ กลุ้มรุม ประกอบ ตบแต่ง ย่อมซบเซา คือ หงอยเหงา เซื่องซึม ซึมเศร้า เหมือนคนกำพร้า คนโง่ คนลุ่มหลง รวมความว่า ภิกษุนั้นถูกความดำริครอบงำ ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้า คำว่า ของคนอื่น ในคำว่า ครั้นได้ยินเสียงตำหนิของคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้ เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น อธิบายว่า อุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ผู้ร่วม อาจารย์ มิตร เพื่อนเห็น เพื่อนคบ หรือสหาย ตำหนิว่า “ผู้มีอายุ ไม่ใช่ลาภของ ท่านเลย ท่านเอาดีได้ยาก ที่ได้ศาสดาสูงส่งเห็นปานนี้ บวชในธรรมวินัยที่พระ ศาสดาตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ ได้หมู่คณะที่ประเสริฐอย่างนี้ เพราะเหตุแห่งเมถุนธรรม อันเลว ก็บอกลาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ท่าน ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะ ในกุศลธรรม ไม่มีสติในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม” เธอ ครั้นได้ยิน คือ ได้ฟัง สำเหนียก พิจารณา กำหนดซึ่งคำ คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอน ของคนเหล่านั้นแล้ว ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน คือ ขวยเขิน อึดอัด กระดากใจ เสียใจ คำว่า เป็นผู้เช่นนั้น ได้แก่ ภิกษุนั้น เมื่อสึกแล้วเป็นผู้เช่นนั้น คือเป็นผู้อย่างนั้น ผู้ดำรงอย่างนั้น ผู้เป็นประการนั้น ผู้มีส่วนอย่างนั้น รวมความว่า ครั้นได้ยินคำ ตำหนิของคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

ภิกษุนั้น ถูกความดำริครอบงำ ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้า ครั้นได้ยินคำตำหนิของคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น [๕๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว ย่อมสร้างศัสตรา เธอย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ คำว่า ลำดับนั้น ในคำว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือน แล้ว ย่อมสร้างศัสตรา เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ลำดับนั้น นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
ว่าด้วยศัสตรา ๓ อย่าง
คำว่า ศัสตรา ได้แก่ ศัสตรา ๓ อย่าง คือ (๑) ศัสตราทางกาย (๒) ศัสตรา ทางวาจา (๓) ศัสตราทางใจ กายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าศัสตราทางกาย วจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าศัสตราทางวาจา มโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าศัสตราทางใจ คำว่า ถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว อธิบายว่า ถูกอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ผู้ร่วมอาจารย์ มิตร เพื่อนเห็น เพื่อนคบ หรือสหายตักเตือน ก็พูด เท็จทั้งรู้อยู่ คือ พูดว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมยินดีในการบวชอยู่แล้ว แต่กระผมต้อง เลี้ยงดูมารดา เพราะเหตุนั้น กระผมจึงสึก” พูดว่า “กระผมต้องเลี้ยงดูบิดา ... ต้อง เลี้ยงดูพี่ชายน้องชาย ... ต้องเลี้ยงดูพี่สาวน้องสาว ... ต้องเลี้ยงดูบุตร ... ต้องเลี้ยงดู ธิดา ... ต้องเลี้ยงดูมิตร ... ต้องเลี้ยงดูอำมาตย์ ... ต้องเลี้ยงดูญาติ” พูดว่า “กระผม ต้องเลี้ยงดูผู้ร่วมสายโลหิต ด้วยเหตุนั้น กระผมจึงสึก” ย่อมสร้าง คือ สร้างขึ้น ให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นซึ่งศัสตราทางวาจาดังว่ามานี้ รวมความว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว ย่อมสร้างศัสตรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ อธิบายว่า การกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่เป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ คือ เป็นป่าใหญ่ เป็นดงใหญ่ เป็นทางกันดารใหญ่ เป็นดุจทางขรุขระมาก เป็นทางคดมาก เป็นดุจหล่มใหญ่ เป็นดุจบ่อใหญ่ เป็นความ กังวลมากมาย เป็นเครื่องผูกพันใหญ่ของเธอ รวมความว่า นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ ติดใหญ่ของเธอ
ว่าด้วยมุสาวาท
คำว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ อธิบายว่า มุสาวาท ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ คนบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลาง หมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ซักถามว่า “ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็พูดว่า “รู้” หรือรู้ก็พูดว่า “ไม่รู้” ไม่เห็นก็พูดว่า “เห็น” หรือเห็นก็พูดว่า “ไม่เห็น” เขาพูดเท็จทั้งที่รู้เพราะตน เป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการฉะนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ ๒. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๓. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่าง คือ ๑. ก่อนพูดเธอก็รู้อยู่ว่า เราจักพูดเท็จ ๒. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๓. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ๔. ปิดบังทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

๕. ปิดบังความพอใจ ๖. ปิดบังความชอบใจ ๗. ปิดบังความสำคัญ ๘. ปิดบังความจริง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่างเหล่านี้ คำว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ ได้แก่ ย่อมก้าวลง คือ ย่อมหยั่งลง หยั่งลงเฉพาะ เข้าถึงความเป็นคนพูดเท็จ รวมความว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคน พูดเท็จ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว ย่อมสร้างศัสตรา เธอย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ [๕๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุ (ในเบื้องต้น) ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น
ว่าด้วยต้นตรงปลายคด
คำว่า ภิกษุ(ในเบื้องต้น)ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต อธิบายว่า ภิกษุ บางรูปในธรรมวินัยนี้ ได้รับการสรรเสริญเกียรติคุณว่า เป็นบัณฑิต คือ เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง ... เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน- สมาบัติบ้าง ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ ซึ่งผู้คนรู้จักกัน รู้จักกันทั่ว ชื่อว่า ได้สมญานามอย่างนี้ รวมความว่า ภิกษุ(ในเบื้องต้น)ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต คำว่า อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว อธิบายว่า ได้อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

๑. ด้วยการบวช ๒. ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ภิกษุอธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างไร คือ ภิกษุตัดความกังวลเรื่องการครองเรือนทั้งหมด ... ภิกษุอธิษฐานการเที่ยว ไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างนี้๑- ภิกษุอธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็น อย่างไร คือ ภิกษุนั้น เมื่อเป็นนักบวชแล้วอย่างนี้ผู้เดียว ก็ใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่า ละเมาะและป่าทึบ อันสงัด ... ภิกษุอธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการละความคลุกคลี ด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว๒- คำว่า ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม อธิบายว่า ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ คือ ธรรมเนียมของชาวบ้าน ... ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม๓- คำว่า ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม อธิบายว่า ต่อมา เธอก็บอกลา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ประกอบ คือ ประกอบทั่ว ประกอบทั่วถึง ประกอบพร้อมในเมถุนธรรม รวมความว่า ต่อมา เธอประกอบใน เมถุนธรรม
ว่าด้วยการลงโทษ
คำว่า ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น อธิบายว่า จักลำบาก จัก มัวหมอง คือ เศร้าหมอง เหมือนคนกำพร้า คนโง่ คนลุ่มหลง คือ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยว บ้าง ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง จักลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง แม้อย่างนี้ พระราชาก็รับสั่งให้จับเขาลงอาญาด้วยประการต่างๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๕๑/๑๗๗ @ ดูรายละเอียดข้อ ๕๑/๑๗๗ @ ดูรายละเอียดข้อ ๔๙/๑๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือ และเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบน ศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหล เหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่าง คบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้ง แต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอก และเข่าแล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่นๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น ออก เหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขา หมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือน ตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่ กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง เธอจักลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เธอถูกกามตัณหาครอบงำ ถูกกามตัณหาตรึงใจไว้แล้ว เมื่อจะ แสวงหาโภคทรัพย์ ก็ต้องแล่นเรือออกไปสู่มหาสมุทร ฝ่าหนาว ฝ่าร้อน ถูกสัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานเบียดเบียนเอาบ้าง ถูกความหิว กระหายกดดันอยู่ ก็ต้องเดินทางไปคุมพรัฐ ตักโกลรัฐ(ตะกั่วป่า) ตักกสิลรัฐ กาลมุขรัฐ ปุรรัฐ เวสุงครัฐ เวราปถรัฐ ชวารัฐ ตามลิงรัฐ(นครศรีธรรมราช) วังครัฐ เอฬพันธนรัฐ สุวรรณกูฏรัฐ สุวรรณภูมิรัฐ ตัมพปาณิรัฐ สุปปาทกรัฐ เภรุกัจฉรัฐ สุรัฏฐรัฐ ภังคโลกรัฐ ภังคณรัฐ ปรมภังคณรัฐ โยนรัฐ ปินรัฐ วินกรัฐ มูลปทรัฐ เดิน ทางไปยังทะเลทรายที่ต้องหมายด้วยดาว คลานไปด้วยเข่า เดินทางด้วยแพะ เดิน ทางด้วยแกะ ไปด้วยการตอกหลักผูกเชือกโหนไป ไปด้วยร่ม เดินทางด้วยการตัดไม้ ไผ่ทำพะองสำหรับปีน เดินทางอย่างนก เดินทางอย่างหนู ไปตามซอกเขา ไต่ไปตาม ลำหวาย เธอก็จักลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง เมื่อแสวงหาไม่ได้ก็ต้องเสวยทุกข์และโทมนัสที่มีการไม่ได้เป็นต้นเหตุ เธอก็จัก ลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

เธอ เมื่อแสวงหาได้มา และครั้นได้แล้ว ก็ยังต้องเสวยทุกข์และโทมนัส ที่มีการ ต้องรักษาเป็นมูลเหตุบ้าง ด้วยความหวาดหวั่นว่า “อย่างไรหนอ พระราชาจะไม่พึง ริบโภคทรัพย์ของเรา โจรจะไม่พึงปล้น ไฟจะไม่พึงไหม้ น้ำจะไม่พึงพัดพาไป ทายาท ที่ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักเอาไป” เมื่อรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ โภคทรัพย์ ย่อมเสื่อม ค่าลง เธอต้องเสวยทุกข์และโทมนัส ที่มีความพลัดพรากเป็นมูล ก็จักลำบาก จัก มัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุ(ในเบื้องต้น) ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น [๕๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวชในธรรมวินัยนี้ พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม
ว่าด้วยปฏิปทาของมุนี
คำว่า นี้ ในคำว่า มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวชในธรรมวินัย นี้ อธิบายว่า ยศ และเกียรติ ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ ความเสื่อมยศ ความเสื่อมเกียรติ ของเธอผู้บอกลาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมา เป็นคฤหัสถ์ในเวลาต่อมา คือ(รู้)วิบัติแห่งสมบัตินี้ คำว่า รู้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า ในธรรมวินัยนี้ ได้แก่ ในทิฏฐินี้ ในความถูกใจนี้ ความพอใจนี้ ความ ยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้ อัตภาพนี้ มนุษยโลกนี้ รวมความว่า มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวช ในธรรมวินัยนี้ คำว่า พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง อธิบายว่า พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียว ให้มั่นคงด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. ด้วยการบวช ๒. ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ มุนีพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคงด้วยการบวช เป็นอย่างไร คือ มุนีตัดความกังวลเรื่องการครองเรือน ตัดความกังวลเรื่องบุตรภรรยา ตัดความกังวลเรื่องญาติ ตัดความกังวลเรื่องมิตรและอำมาตย์ ตัดความกังวลเรื่อง การสะสมทั้งหมด โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต เข้าถึงความไม่กังวลแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว มุนี ชื่อว่าพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียว ให้มั่นคงด้วยการบวช เป็นอย่างนี้ มุนีพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคงด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างไร คือ มุนีนั้น เมื่อเป็นนักบวชแล้วอย่างนี้ผู้เดียว พึงใช้สอยเสนาสนะที่เป็น ป่าละเมาะและป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจร ไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น เธอเดิน รูปเดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตรูปเดียว กลับมารูปเดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว พึงเที่ยวไปผู้เดียว คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว มุนี ชื่อว่าพึง ทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคงด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างนี้ คำว่า พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ได้แก่ พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้ มั่นคง คือ พึงทำให้ยั่งยืน มีการสมาทานมั่นคง มีการสมาทานไม่คลอนแคลนใน กุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม อธิบายว่า ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ คือ ธรรมเนียมของชาวบ้าน ... ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม๑- มุนี ไม่พึงเสพ คือ ไม่พึงเสพเป็นนิจ ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงเสพเฉพาะ ไม่พึงประพฤติ ไม่พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงสมาทานประพฤติซึ่งเมถุนธรรม รวมความว่า ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวชในธรรมวินัยนี้ พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม [๕๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ เพราะการประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน คำว่า วิเวก ในคำว่า พึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ ๑. กายวิเวก ๒. จิตตวิเวก ๓. อุปธิวิเวก กายวิเวก เป็นอย่างไร ... นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก๒- กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงความเป็นผู้ผ่องแผ้วยิ่ง และอุปธิวิเวกย่อมมีแก่ บุคคลผู้ปราศจากอุปธิ บรรลุนิพพานอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง คำว่า ศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา ... นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๕๐/๑๗๒ @ ดูรายละเอียดข้อ ๗/๓๒-๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า พึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ ได้แก่ พึงศึกษา คือ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติวิเวกนั่นแหละ รวมความว่า พึงศึกษา วิเวกนั่นแหละ คำว่า เพราะการประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย อธิบายว่า พระพุทธเจ้า พระพุทธสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเรียก ว่า พระอริยะ การประพฤติวิเวก เป็นกิจยอดเยี่ยม ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด ของพระอริยะทั้งหลาย รวมความว่า เพราะการประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย คำว่า ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น อธิบายว่า ไม่พึงทำการยกตน ไม่พึงทำการอวดตน ไม่พึงทำการถือตัว ไม่พึงทำ ความแข็งกร้าว ไม่พึงทำความกระด้าง ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น คือ ไม่พึงให้เกิด ความถือตัว ไม่พึงทำความผูกพัน ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น ได้แก่ ไม่ควรเป็นคน แข็งกระด้าง เป็นคนเย่อหยิ่ง เป็นคนหัวสูง ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น รวมความว่า ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น คำว่า ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน อธิบายว่า ผู้นั้น อยู่ใกล้ คือ อยู่ใกล้ชิด อยู่ใกล้เคียง อยู่ไม่ไกล เข้าไปใกล้นิพพาน รวมความว่า ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้ นิพพาน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ เพราะการประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน [๕๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดีมุนีผู้ว่าง ประพฤติอยู่ ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า ผู้ว่าง ในคำว่า มุนีผู้ว่าง ประพฤติอยู่ อธิบายว่า ผู้ว่าง คือ สงัด เงียบ ได้แก่ ผู้ว่าง คือ สงัด เงียบจากกายทุจริต ... วจีทุจริต ... มโนทุจริต ... ราคะ .. โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ...มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ผู้ว่าง คือ สงัด เงียบจากอกุสลาภิสังขาร ทุกประเภท๑- คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๒- คำว่า ประพฤติอยู่ ได้แก่ ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า มุนีผู้ว่าง ประพฤติอยู่ คำว่า ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๓- มุนีกำหนดรู้วัตถุกาม ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่ มีอีกซึ่งกิเลสกาม ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย คือ เป็นผู้สละกามแล้ว คายกามแล้ว ปล่อยกามแล้ว ละกามแล้ว สลัดทิ้งกามแล้ว ได้แก่ เป็นผู้คลายความกำหนัดแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้ หมดความอยากแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ดูคำแปลจากข้อ ๕/๑๗ @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า หมู่สัตว์ ในคำว่า หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดี ... ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว เป็นชื่อเรียกสัตว์ หมู่สัตว์ผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ คือ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้น ย่อมต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง มุนีผู้ข้าม คือ ผู้ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ทางแห่งสงสารทั้งปวง ได้แล้ว ถึงฝั่ง บรรลุฝั่ง ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงท้ายสุด บรรลุท้ายสุด ถึงที่ปกป้อง บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่ป้องกัน บรรลุที่ป้องกัน ถึงที่ หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงอมตธรรม บรรลุอมตธรรม ถึงนิพพาน บรรลุนิพพาน เปรียบเหมือนพวกลูกหนี้ ย่อมปรารถนา ยินดี ความเป็นผู้หมดหนี้ ฉันใด พวกที่ ป่วยไข้ ย่อมปรารถนา ยินดี ความเป็นผู้หายโรค ฉันใด พวกที่ติดอยู่ในเรือนจำ ย่อมปรารถนา ยินดี ความพ้นจากเรือนจำ ฉันใด พวกทาส ย่อมปรารถนา ยินดี ความเป็นไท ฉันใด พวกคนเดินทางกันดาร ย่อมปรารถนา ยินดี ภาคพื้นที่เกษม ฉันใด หมู่สัตว์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ คือ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามทั้งหลาย หมู่สัตว์เหล่านั้น ย่อมต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง มุนีผู้ข้าม คือ ผู้ข้ามขึ้น ข้ามพ้นกาโมฆะ ... ภโวฆะ ... ถึงนิพพาน บรรลุนิพพาน รวมความว่า หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดี ... ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดีมุนีผู้ว่าง ประพฤติอยู่ ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว
ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทสที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๖๘-๑๙๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=7              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=3084&Z=3567                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=224              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=224&items=44              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=5998              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=224&items=44              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=5998                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :