ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ

๓. นัคควรรค
สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการไม่ผลัดเปลี่ยนสังฆาฏิตามกำหนด
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๘๙๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายฝากจีวรไว้กับ พวกภิกษุณี มีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกหลีกจาริกไปสู่ชนบท จีวรนั้นเก็บไว้ นานจึงขึ้นรา พวกภิกษุณี(ที่รับฝาก)จึงนำออกผึ่งแดด ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวกับ ภิกษุณี(ที่รับฝาก)เหล่านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย จีวรที่ขึ้นราเหล่านี้เป็นของใคร” ลำดับนั้น พวกภิกษุณี(ที่รับฝาก)จึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงฝากจีวรไว้กับพวกภิกษุณีแล้วมีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสก จาริกไปสู่ชนบทเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีทั้งหลายฝากจีวรไว้ กับพวกภิกษุณีแล้วมีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกจาริกไปสู่ชนบท จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงฝากจีวรไว้กับภิกษุณีแล้วมีเพียงอุตตราสงค์ กับอันตรวาสกจาริกไปสู่ชนบทเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๙๓}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

พระบัญญัติ
[๘๙๘] ก็ภิกษุณีใดให้วาระผลัดเปลี่ยนสังฆาฏิ๑- ที่มีกำหนดระยะเวลา ๕ วันล่วงเลยไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๙๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า ให้วาระผลัดเปลี่ยนสังฆาฏิที่มีกำหนดระยะเวลา ๕ วันล่วงเลยไป อธิบายว่า ไม่นุ่ง ไม่ห่ม ไม่ผึ่งจีวร ๕ ผืน สิ้นวันที่ ๕ คือให้ล่วงเลยไปเป็นวันที่ ๕ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๙๐๐] ล่วงเลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่าล่วงเลย ๕ วันแล้ว ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ล่วงเลย ๕ วัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ล่วงเลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ล่วงเลย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ คำว่า “สังฆาฏิ” ในที่นี้หมายถึงจีวร ๕ ผืนของภิกษุณี คือ (๑) สังฆาฏิ (๒) อุตตราสงค์ (๓) อันตรวาสก @(๔) ผ้าอาบน้ำ (๕) ผ้ารัดถัน ภิกษุณีต้องนำผ้า ๕ ผืนนี้ออกมาใช้สอยหรือผึ่งแดด ห้ามเก็บไว้เกิน ๕ วัน @ถ้าเก็บผืนใดผืนหนึ่งไว้เกิน ๕ วัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ : เก็บไว้ ๑ ผืน ต้องอาบัติ ๑ ตัว เก็บไว้ ๕ ผืน @ต้องอาบัติ ๕ ตัว (วิ.อ. ๒/๘๙๘-๘๙๙/๕๐๐-๕๐๑, กงฺขา.อ. ๓๗๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๙๘/๑๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๙๔}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร

ทุกทุกกฏ
ยังไม่ล่วงเลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่าล่วงเลยแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ ยังไม่ล่วงเลย ๕ วัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังไม่ล่วงเลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ล่วงเลย ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๙๐๑] ๑. ภิกษุณี นุ่ง ห่มจีวร ๕ ผืน หรือนำออกผึ่งแดดในวันที่ ๕ ๒. ภิกษุณีผู้เป็นไข้ ๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง๑- ๔. ภิกษุณีวิกลจริต ๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ จีวรมีค่ามาก จึงไม่สามารถใช้สอยในคราวมีภัยอันเกิดจากโจรผู้ร้ายเป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ @ชื่อว่า มีเหตุขัดข้อง (วิ.อ. ๒/๙๐๑/๕๐๑, กงฺขา.อ. ๓๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๙๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๙๓-๑๙๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=52              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=3301&Z=3346                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=231              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=231&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11475              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=231&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11475                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.231 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc24/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc24/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :