ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส

๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
แสดงธัมมัฏฐิติญาณ
[๔๕] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ เป็นอย่างไร คือ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นที่ตั้ง๑- แห่งความเกิดขึ้น เป็นที่ ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรมเป็นเครื่องประมวลมา เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้ เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสังขารทั้งหลาย ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้น เพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี บรรดา อวิชชาและสังขาร อวิชชาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่ ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรมเป็นเครื่องประมวลมา เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้ เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่ง ปัจจัยของสังขารทั้งหลาย ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขาร เกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของนามรูป ฯลฯ นามรูปเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสฬายตนะ ฯลฯ สฬายตนะเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของผัสสะ ฯลฯ ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของเวทนา ฯลฯ เวทนาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็น ที่ตั้งแห่งปัจจัยของตัณหา ฯลฯ ตัณหาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้ง แห่งปัจจัยของอุปาทาน ฯลฯ อุปาทานเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้ง @เชิงอรรถ : @ เป็นที่ตั้ง ในที่นี้หมายถึงเป็นเหตุ (ขุ.ป.อ. ๑/๔๕/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส

แห่งปัจจัยของภพ ฯลฯ ภพเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัย ของชาติ ฯลฯ ชาติเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของชรา และมรณะ ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะ ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็นที่ ตั้งแห่งความเกิดขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรม เป็นเครื่องประมวลมา เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้ เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของชราและมรณะ ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรม ทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ [๔๖] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเกิดขึ้นเพราะเหตุ แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชา เป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ นามรูปเป็นเหตุ สฬายตนะเกิดขึ้น เพราะเหตุ ฯลฯ สฬายตนะเป็นเหตุ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ผัสสะเป็นเหตุ เวทนาเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ เวทนาเป็นเหตุ ตัณหาเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ตัณหา เป็นเหตุ อุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุ อุปาทานเป็นเหตุ ภพเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ภพเป็นเหตุ ชาติเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะเหตุ แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็น เหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะเหตุ แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชา เกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชา อาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารอาศัยปัจจัยเป็นไป วิญญาณอาศัย สังขารเกิดขึ้น ฯลฯ วิญญาณอาศัยปัจจัยเป็นไป นามรูปอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น ฯลฯ นามรูปอาศัยปัจจัยเป็นไป สฬายตนะอาศัยนามรูปเกิดขึ้น ฯลฯ สฬายตนะอาศัย ปัจจัยเป็นไป ผัสสะอาศัยสฬายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ ผัสสะอาศัยปัจจัยเป็นไป เวทนา อาศัยผัสสะเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอาศัยปัจจัยเป็นไป ตัณหาอาศัยเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ ตัณหาอาศัยปัจจัยเป็นไป อุปาทานอาศัยตัณหาเกิดขึ้น ฯลฯ อุปาทานอาศัยปัจจัย เป็นไป ภพอาศัยอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ ภพอาศัยปัจจัยเป็นไป ชาติอาศัยภพเกิดขึ้น ฯลฯ ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่าง นี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติอาศัย ปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาเป็น ปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะ ปัจจัย ฯลฯ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส

ปัจจัย ฯลฯ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ อุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ ภพเป็นปัจจัย ชาติเกิดขึ้นเพราะ ปัจจัย ฯลฯ ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่าง นี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็น ปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะ ปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ [๔๗] ในกัมมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมเป็นเครื่องประมวล มาเป็นสังขาร ความติดใจเป็นตัณหา ความยึดมั่นเป็นอุปาทาน เจตนาเป็นภพ ธรรม ๕ ประการนี้ในกัมมภพก่อน ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่งปฏิสนธิในภพ ปัจจุบันนี้ ในภพปัจจุบันนี้ ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ปสาทะ๑- เป็น อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ การเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประการนี้ ในภพปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพก่อน เพราะอายตนะทั้งหลายในภพนี้สุกรอบ ความหลงเป็นอวิชชา กรรมเป็น เครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ความติดใจเป็นตัณหา ความยึดมั่นเป็นอุปาทาน เจตนาเป็นภพ ธรรม ๕ ประการนี้ในกัมมภพนี้ ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่ง ปฏิสนธิในอนาคตกาล ปฏิสนธิในอนาคตกาลเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ปสาทะ เป็นอายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ การเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประการ นี้ในภพปัจจุบัน ในอนาคตกาล ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ ในภพนี้ @เชิงอรรถ : @ ปสาทะ ในที่นี้หมายถึงความผ่องใส (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๕. สัมมสนญาณนิทเทส

พระโยคาวจรย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมรู้แจ้งสังเขป ๔ ๑- กาล ๓ ๒- ปฏิจจสมุปบาทอันมีสนธิ ๓ ๓- ด้วยอาการ ๒๐ ๔- นี้ ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทสที่ ๔ จบ
๕. สัมมสนญาณนิทเทส
แสดงสัมมสนญาณ
[๔๘] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน แล้วกำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ เป็นอย่างไร คือ พระโยคาวจรกำหนดรูปทุกอย่างทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น ภายในก็ตาม เป็นภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีต ก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม มีในที่ใกล้ก็ตาม โดยความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่า @เชิงอรรถ : @ สังเขป ๔ หมายถึงธรรม ๔ กลุ่ม ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ คือ อวิชชาและสังขาร เรียกว่า เหตุสังเขป (๒) ปัจจุบัน- @ผล คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เรียกว่า ผลสังเขป (๓) ปัจจุบันเหตุ คือ ตัณหา @อุปาทานและภพ เรียกว่า เหตุสังเขป (๔) อนาคตผล คือชาติ ชรา มรณะและโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส @อุปายาส เรียกว่า ผลสังเขป (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑) @ กาล ๓ หมายถึงธรรมที่เป็นไปในกาล ๓ กาล ได้แก่ (๑) อดีตกาล คือ อวิชชาและสังขาร (๒) ปัจจุบันกาล @คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน และภพ (๓) อนาคตกาล คือ ชาติ ชรา @มรณะ และโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑) @ สนธิ ๓ หมายถึงขั้วต่อระหว่างสังเขป ๔ มี ๓ ขั้วต่อ ได้แก่ (๑) ขั้วต่อระหว่างอดีตเหตุกับปัจจุบันผล เรียกว่า @เหตุผลสนธิ (๒) ขั้วต่อระหว่างปัจจุบันผลกับปัจจุบันเหตุ เรียกว่าผลเหตุสนธิ (๓) ขั้วต่อระหว่างปัจจุบัน- @เหตุกับอนาคตผล เรียกว่า เหตุผลสนธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑) @ อาการ ๒๐ หมายถึงองค์ประกอบแต่ละอย่างดุจกำของล้อที่ต้องกระจายให้เต็มตามช่องแห่งสังเขป ๔ @อาการ ๒๐ ประการนี้ จำแนกตามส่วนที่เป็นเหตุและส่วนที่เป็นผลได้ดังนี้ คือ อดีตเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา @สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ ปัจจุบันผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา @ปัจจุบันเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทานและภพ อนาคตผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป @สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๗๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๗๐-๗๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1130&Z=1218                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=94              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=94&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=5739              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=94&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=5739                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :