ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
แสดงญาณในวัตถุต่างๆ๑-
[๖๖] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่างๆ ที่เป็นภายใน ชื่อว่าวัตถุนานัตต- ญาณ (ญาณในวัตถุต่างๆ) เป็นอย่างไร พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายที่ เป็นภายใน อย่างไร คือ พระโยคาวจรกำหนดจักขุที่เป็นภายใน กำหนดโสตะที่เป็นภายใน กำหนด ฆานะที่เป็นภายใน กำหนดชิวหาที่เป็นภายใน กำหนดกายที่เป็นภายใน กำหนด มโนที่เป็นภายใน @เชิงอรรถ : @ วัตถุต่างๆ ในที่นี้หมายถึงที่ตั้งที่เกิดแห่งอารมณ์ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ เป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งอารมณ์ @(ขุ.ป.อ. ๑/๖๖/๓๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส

พระโยคาวจรกำหนดจักขุที่เป็นภายใน อย่างไร คือ กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะตัณหา” กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะอาหาร” กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะอาศัยมหาภูตรูป ๔” กำหนดว่า “จักขุเกิดแล้ว” กำหนดว่า “จักขุ มาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า “จักขุไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี” กำหนดจักขุโดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “จักขุไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “จักขุไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” กำหนดจักขุโดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดยความเป็น ทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความ เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่าเที่ยง)ได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญา(ความหมายรู้ว่าเป็นสุข)ได้ เมื่อ กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญา(ความหมายรู้ว่าอัตตา)ได้ เมื่อเบื่อ หน่าย ย่อมละนันทิ (ความยินดี) ได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะ (ความกำหนัด) ให้ดับ ย่อมละสมุทัย (เหตุเกิด) ได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ (ความยึดถือ) ได้ พระโยคาวจรกำหนดจักขุที่เป็นภายในอย่างนี้ พระโยคาวจรกำหนดโสตะที่เป็นภายใน อย่างไร คือ กำหนดว่า “โสตะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดโสตะที่ เป็นภายในอย่างนี้ พระโยคาวจรกำหนดฆานะที่เป็นภายใน อย่างไร คือ กำหนดว่า “ฆานะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดฆานะที่ เป็นภายในอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส

พระโยคาวจรกำหนดชิวหาที่เป็นภายใน อย่างไร คือ กำหนดว่า “ชิวหาเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดชิวหาที่ เป็นภายในอย่างนี้ พระโยคาวจรกำหนดกายที่เป็นภายใน อย่างไร คือ กำหนดว่า “กายเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดกายที่เป็น ภายในอย่างนี้ พระโยคาวจรกำหนดมโนที่เป็นภายใน อย่างไร คือ กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะตัณหา” กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะอาหาร (อาศัยหทัย วัตถุ)” กำหนดว่า “มโนเกิดแล้ว” กำหนดว่า “มโนมาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า “มโนไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี” กำหนดมโนโดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “มโนไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “มโนไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” กำหนดมโนโดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดยความเป็น ทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความ เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็น ทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อ กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พระโยคาวจรกำหนดมโนที่เป็น ภายในอย่างนี้ กำหนดธรรมที่เป็นภายในอย่างนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมที่เป็นภายใน ชื่อว่า วัตถุนานัตตญาณ
วัตถุนานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๑๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๐๙-๑๑๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1815&Z=1863                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=160              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=160&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=6816              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=160&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=6816                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :