ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
แสดงจริยานานัตตญาณ
[๖๘] ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ เป็นอย่างไร คือ คำว่า จริยา อธิบายว่า จริยา ๓ อย่าง ได้แก่ ๑. วิญญาณจริยา ๒. อัญญาณจริยา ๓. ญาณจริยา วิญญาณจริยา เป็นอย่างไร คือ ความคิดเพื่อดูรูปทั้งหลายอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณ- จริยา จักขุวิญญาณที่เป็นแต่เพียงเห็นรูป ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบาก ที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้เห็นรูปแล้ว มโนวิญญาณธาตุอัน เป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รูปแล้ว ความคิดเพื่อฟังเสียงอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา โสตวิญญาณที่เป็นแต่เพียงฟังเสียง ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ฟังเสียงแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็น วิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่เสียงแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส

ความคิดเพื่อดมกลิ่นอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ฆานวิญญาณที่เป็นแต่เพียงดมกลิ่น ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ดมกลิ่นแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่กลิ่นแล้ว ความคิดเพื่อลิ้มรสอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ชิวหาวิญญาณที่เป็นแต่เพียงลิ้มรส ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ลิ้มรสแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รสแล้ว ความคิดเพื่อสัมผัสโผฏฐัพพะอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณ- จริยา กายวิญญาณที่เป็นแต่เพียงสัมผัสโผฏฐัพพะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุ อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้สัมผัสโผฏฐัพพะแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่โผฏฐัพพะแล้ว ความคิดเพื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนวิญญาณธาตุที่เป็นแต่เพียงรู้แจ้งธรรมารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุ อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่ธรรมารมณ์แล้ว [๖๙] คำว่า วิญญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะมีความ หมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีราคะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีโทสะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีโมหะ ชื่อว่า วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีมานะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มี ทิฏฐิ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอุทธัจจะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ ประพฤติไม่มีวิจิกิจฉา ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอนุสัย ชื่อว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส

วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ ประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ชื่อว่า วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบ ด้วยวิจิกิจฉา ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยอนุสัย ชื่อว่า วิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกุศลกรรม ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติ ไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วย กรรมไม่มีโทษ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ชื่อว่า วิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมขาว ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ ประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติ ไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติใน อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว วิญญาณมีจริยาเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิญญาณจริยา จิตนี้บริสุทธิ์โดยปกติ เพราะไม่มีกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิญญาณจริยา นี้ชื่อว่า วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา เป็นอย่างไร คือ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในรูปที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยา- อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะในรูปที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะ ทั้งสองนั้น อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งมานะที่ผูกพัน อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส

ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งทิฏฐิที่ยึดถือ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฏฐิ ชื่อว่าอัญญาณจริยา ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นเพียงกิริยา- อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลง อันเป็นเพียงกิริยา- อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีกำลัง อันเป็นเพียง กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในเสียงที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยา- อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ฯลฯ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในกลิ่นที่ น่าพอใจ ฯลฯ ในรสที่น่าพอใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ ฯลฯ ความคิด เพื่อแล่นไปแห่งราคะในธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่า วิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะในธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ อันเป็นเพียง กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสอง นั้น อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา ฯลฯ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งทิฏฐิที่ยึดถือ อันเป็นเพียง กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฏฐิ ชื่อว่าอัญญาณจริยา ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นเพียงกิริยา- อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลง อันเป็นเพียงกิริยา- อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีกำลัง อันเป็นเพียง กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส

[๗๐] คำว่า อัญญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะมีความ หมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะ ประพฤติมีโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีโมหะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีทิฏฐิ ชื่อว่า อัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติ มีวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบ ด้วยโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่าอัญญาณ- จริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติ ประกอบด้วยทิฏฐิ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ ประกอบด้วยกุศลกรรม ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วย อกุศลกรรม ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมมีโทษ ชื่อว่า อัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมดำ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ ประกอบด้วยกรรมขาว ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรม ที่มีสุขเป็นกำไร ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์ เป็นกำไร ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีสุข เป็นวิบาก ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์ เป็นวิบาก ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้ ความไม่รู้มีจริยา เห็นปานนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัญญาณจริยา นี้ชื่อว่าอัญญาณจริยา [๗๑] ญาณจริยา เป็นอย่างไร คือ ความคิดเพื่ออนิจจานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) อันเป็น เพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา ความคิดเพื่อทุกขานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความทุกข์) อันเป็นเพียง กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ทุกขานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส

ความคิดเพื่ออนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นอนัตตา) อันเป็นเพียงกิริยา อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา อนัตตานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา ความคิดเพื่อนิพพิทานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) อันเป็น เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ ความคิดเพื่อวิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด) อันเป็น เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ ความคิดเพื่อนิโรธานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) อันเป็นเพียง กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ ความคิดเพื่อปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสละคืน) อันเป็น เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ ความคิดเพื่อขยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสิ้นไป) อันเป็นเพียง กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ ความคิดเพื่อวยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเสื่อมไป) อันเป็นเพียง กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ ความคิดเพื่อวิปริณามานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความแปรผัน) อันเป็น เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ ความคิดเพื่ออนิมิตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต) อันเป็น เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ ความคิดเพื่ออัปปณิหิตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง) อันเป็น เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ ความคิดเพื่อสุญญตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความว่าง) อันเป็นเพียง กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส

ความคิดเพื่ออธิปัญญาธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญา อันยิ่ง) อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ ความคิดเพื่อยถาภูตญาณทัสสนะ (การรู้เห็นตามความเป็นจริง) อันเป็นเพียง กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ ความคิดเพื่ออาทีนวานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นโทษ) อันเป็นเพียง กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ ความคิดเพื่อปฏิสังขานุปัสสนา (การตามพิจารณา) อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ปฏิสังขานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา วิวัฏฏนานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความคลายออก) ชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา สกทาคามิมรรค ชื่อว่าญาณจริยา สกทาคามิผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา อนาคามิมรรค ชื่อว่าญาณจริยา อนาคามิผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตมรรค ชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา คำว่า ญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าญาณจริยา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีราคะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะ ประพฤติไม่มีโทสะ ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอนุสัย ชื่อว่า ญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติ ไม่ประกอบด้วยโทสะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่า ญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยอนุสัย ฯลฯ ประกอบด้วยกุศลกรรม ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ฯลฯ ไม่ประกอบ ด้วยกรรมที่มีโทษ ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมที่ไม่มีโทษ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมขาว ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ฯลฯ ไม่ ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๘. ภูมินานัตตญาณนิทเทส

ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติในญาณ ญาณมีจริยาเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณจริยา นี้ชื่อว่าญาณจริยา วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ
จริยานานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๑๔-๑๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=30              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1912&Z=2028                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=165              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=165&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=6862              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=165&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=6862                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :