ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส

๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
แสดงสัพพัญญุตญาณ
[๑๑๙] สัพพัญญุตญาณของพระตถาคต เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวงไม่มี อะไรเหลือ ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น [๑๒๐] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมส่วนอนาคตทั้งปวง ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรม ส่วนอดีตทั้งปวง ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมส่วนปัจจุบันทั้งปวง ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มี เครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้จักขุและรูปทั้งหมดอย่างนี้ ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้โสตะและสัททะ ฯลฯ เพราะรู้ฆานะและคันธะ ฯลฯ เพราะรู้ชิวหาและรส ฯลฯ เพราะรู้กายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้มโนและธรรมารมณ์ทั้งหมดอย่างนี้ ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็น อนัตตาตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา แห่งรูปตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา แห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา แห่งชราและมรณะตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นใน ญาณนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส

ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่รู้ยิ่งแห่งอภิญญาตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ สภาวะที่กำหนดรู้แห่งปริญญาตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่ละแห่งปหานะ ตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เจริญแห่งภาวนาตลอดทั้งหมด ฯลฯ ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยาตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะ ที่ทรงไว้แห่งธาตุตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะตลอด ทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมตลอดทั้งหมด ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมตลอด ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้กุศลธรรมตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้อกุศลธรรม ฯลฯ เพราะรู้อัพยากตธรรม ฯลฯ เพราะรู้กามาวจรธรรม ฯลฯ เพราะรู้รูปาวจรธรรม ฯลฯ เพราะรู้อรูปาวจรธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้อปริยาปันนธรรมตลอด ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เป็นความดับแห่ง นิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรคตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่ง อัตถปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส

ธัมมปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีใน นิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพราะรู้ ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในมหากรุณา- สมาบัติตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น [๑๒๑] สิ่งไรๆ ในไตรโลกธาตุนี้ พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย อนึ่ง ธรรมชาติอะไรๆ ที่ควรรู้ พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่ พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ คำว่า สมันตจักขุ อธิบายว่า ชื่อว่าสมันตจักขุ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ พระพุทธญาณ ๑๔ ประการ ได้แก่ ๑. ญาณในทุกข์ ชื่อว่าพุทธญาณ ๒. ญาณในสมุทัย ชื่อว่าพุทธญาณ ๓. ญาณในทุกขนิโรธ ชื่อว่าพุทธญาณ ๔. ญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่าพุทธญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส

๕. ญาณในอัตถปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ ๖. ญาณในธัมมปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ ๗. ญาณในนิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ ๘. ญาณในปฏิภาณปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ ๙. ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ ชื่อว่าพุทธญาณ ๑๐. ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าพุทธญาณ ๑๑. ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ชื่อว่าพุทธญาณ ๑๒. ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ชื่อว่าพุทธญาณ ๑๓. สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ ๑๔. อนาวรณญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ พุทธญาณ ๑๔ ประการนี้แล บรรดาพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้ ญาณ ๘ ประการเบื้องต้นเป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ส่วนญาณอีก ๖ ประการเบื้องปลาย เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ พระตถาคต ทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่มิได้ทรงทราบไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มี เครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ เพราะ สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ฯลฯ เพราะสภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ฯลฯ เพราะ สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ เพราะสภาวะแห่ง ปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่งธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ เพราะสภาวะแห่งปัญญาที่ แตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะ แห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระตถาคตทรงทราบ แล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว ตลอดทั้งหมด ด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส

ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณ ในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพราะญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณในมหากรุณาสมาบัติ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วย พระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่ มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจแห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น สิ่งไรๆ ในไตรโลกธาตุนี้ พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย อนึ่ง ธรรมชาติอะไรๆ ที่ควรรู้ พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่ พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ๑-
สัพพัญญุตญาณนิทเทสที่ ๗๒-๗๓ จบ
ญาณกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๕/๓๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๘๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=60              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=3248&Z=3331                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=286              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=286&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=905              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=286&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=905                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :