ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

๓. โพชฌังคกถา
ว่าด้วยโพชฌงค์
[๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเลือกเฟ้นธรรม) ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็นกลาง) ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล คำว่า โพชฌงค์ อธิบายว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปในความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้ ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ ตรัสรู้พร้อม (๑) ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้ตาม ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้พร้อม (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ ตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี สภาวะให้ตรัสรู้พร้อม (๓) ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็น ไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่าย ตรัสรู้พร้อม (๔) ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้ได้ความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะปลูกความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะบำรุงความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ ถึงพร้อมความตรัสรู้ (๕)
มูลมูลกาทิทสกะ
ว่าด้วยหมวด ๑๐ แห่งธรรมที่เป็นมูลมีสภาวะเป็นมูลเป็นต้น
[๑๘] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ ดำเนินไปในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน ธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล (๑) ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ ดำเนินไปในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

ในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อ ว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่า โพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ (๒) ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ ดำเนินไปในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็น ปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้า ในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย (๓) ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ ดำเนินไปในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน ความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด (๔) ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ ดำเนินไปในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ มีสภาวะเต็มรอบในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในความ ไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี สภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของ บุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ ดำเนินไปในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดเนกขัมมะ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ เต็มรอบในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในเนกขัมมะ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ ถึงความแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญ ในความแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญใน ความแตกฉานในเนกขัมมะ (๖) ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ ดำเนินไปในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน ความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น (๗) ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ ดำเนินไปในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความไม่มี อาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความไม่มีอาสวะ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี สภาวะแก่กล้าในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความ ไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ (๘) ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ ดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ แตกฉานในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในวิเวก ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในวิเวก ชื่อว่า โพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในวิเวก (๙) ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะดำเนินไป ในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบใน ความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความ แตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความ แตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความ แตกฉานในความสละ (๑๐) [๑๙] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นปัจจัย ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่หลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ ดำเนินไปในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในความ หมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในความไม่มีโทษ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะดำเนินไปในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปใน ความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในความสละ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะกำหนดธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะกำหนดความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ ที่เป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น บริวารแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบแห่งธรรมที่ เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะเต็มรอบในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่แก่กล้าในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่แก่กล้าในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะความแตกฉานใน ธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะความแตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้ถึงความแตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เจริญความชำนาญในความแตกฉานในความสละ (ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตก ฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแม้ของบุคคลผู้ถึง ความชำนาญในความแตกฉานในความสละ) ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ควรกำหนด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่เป็นบริวาร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่กระจัดกระจายไป ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ ขุ่นมัว ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความปรากฏแห่งจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ เป็นโคจร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่สละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่หลีกไป ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ละเอียด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประณีต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้น ชื่อว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ เครื่องข้าม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีนิมิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีที่ตั้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ว่าง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ ไม่ล่วงเลยกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะเครื่องนำออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น ใหญ่ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่พิจารณาเห็นแห่งวิปัสสนา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ ที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่ไม่ล่วงเลยกันแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ สมาทานแห่งสิกขา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นโคจรแห่งอารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองจิตที่ย่อท้อ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่ข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่คุมจิตอัน บริสุทธิ์จากความย่อท้อ และความฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่บรรลุคุณวิเศษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง อริยมรรคอันยอดเยี่ยม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้สัจจะ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ฯลฯ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว เพราะความไม่มีศรัทธาแห่ง สัทธาพละ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว เพราะอวิชชา แห่งปัญญาพละ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่พิจารณาแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำ ออกแห่งโพชฌงค์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่ง อิทธิบาท ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของแท้แห่งสัจจะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สงบระงับแห่งมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ ทำให้แจ้งแห่งผล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรึกตรองแห่งวิตก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรวจตราแห่งวิจาร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่แผ่ไป แห่งปีติ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไหลมาแห่งสุข ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ ที่นึก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่รู้ชัด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่จำได้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่พิจารณาแห่งปริญญา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สละแห่งปหานะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งภาวนา ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ ทั้งหลาย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ต่อแห่งอายตนะทั้งหลาย ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ ที่ไม่มีระหว่างคั่นแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ออกแห่งจิต ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะหลีกไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น เหตุแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นปัจจัยแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นภูมิ แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอารมณ์แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นโคจรแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เที่ยวไป แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่นำไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำออกแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สลัดออกแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นึกในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้งในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้ชัดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่จำได้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ ที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ ที่เนื่องในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่แล่นไปใน จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ผ่องใสในจิตที่เป็น เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นว่า “นี้ละเอียด” ในจิตที่เป็น เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เป็นดุจญาณในจิตที่เป็น เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เป็นที่ตั้งในจิตที่เป็น เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งขึ้นเนืองๆ ในจิตที่เป็น เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อบรมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปรารภเสมอดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่กำหนดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นบริวารในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

ตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่ประชุมลงในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ อธิษฐานในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปฏิบัติใน จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เจริญในจิตที่เป็น เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้มากในจิตที่เป็น เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รวมดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้นด้วยดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่ให้ตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ ให้ตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้ ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้ ตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นไป ในฝ่ายตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นไป ในฝ่ายตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ เป็นไปในฝ่ายให้ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สว่างในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่สว่างขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ สว่างเนืองๆ ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ สว่างเฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สว่าง พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคให้สว่าง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ อริยมรรคทำให้กิเลสเร่าร้อน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคไม่มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

มลทิน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคปราศจากมลทิน ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคหมดมลทิน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะแห่งความสงบ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคทำให้กิเลสระงับ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ ดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความคลายกำหนัด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความคลายกำหนัด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความดับ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปใน ความดับ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่ง ความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นบาทแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่น้อมไปแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้แห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่ง ฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิริยะ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะแห่งจิตตะ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น บาทแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ ที่น้อมไปแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งวิมังสา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งสมุทัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่พัวพัน แห่งสมุทัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งนิโรธ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น อสังขตะแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ นำออกแห่งมรรค ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งมรรค ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของแท้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สภาวะที่เป็นอนัตตา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของจริง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้ยิ่ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่กำหนดรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นธรรม ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นธาตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ ที่ถูกต้อง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อพยาบาท ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อาโลกสัญญา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อวิกเขปะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธัมมววัตถาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ญาณ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปามุชชะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อรหัตตมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อรหัตตผลสมาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัทธินทรีย์ด้วยสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปัญญินทรีย์ด้วยสภาวะเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ สัทธาพละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปัญญาพละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้สติสัมโพชฌงค์ด้วยสภาวะตั้งมั่น ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อุเบกขา- สัมโพชฌงค์ด้วยสภาวะพิจารณา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัมมาทิฏฐิด้วยสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัมมาสมาธิด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อินทรีย์ ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้พละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหว ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้มรรคด้วย สภาวะเป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สติปัฏฐานด้วยสภาวะตั้งมั่น ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัมมัปปธานด้วยสภาวะตั้งไว้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ อิทธิบาทด้วยสภาวะให้สำเร็จ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัจจะด้วยสภาวะเป็น ของแท้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมถะด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิปัสสนาด้วยสภาวะพิจารณาเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมถะ และวิปัสสนาด้วยสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธรรมที่ เป็นคู่กันด้วยสภาวะไม่ล่วงเลยกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สีลวิสุทธิด้วยสภาวะ สำรวม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้จิตตวิสุทธิด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ทิฏฐิวิสุทธิด้วยสภาวะเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิโมกข์ด้วยสภาวะ หลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิชชาด้วยสภาวะรู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้วิมุตติด้วยสภาวะสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ญาณในความสิ้นไปด้วย สภาวะตัดขาด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อนุปปาทญาณด้วยสภาวะสงบระงับ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ฉันทะด้วยสภาวะเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ ตรัสรู้มนสิการด้วยสภาวะเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ผัสสะด้วย สภาวะเป็นที่รวม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เวทนาด้วยสภาวะเป็นที่ประชุม ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมาธิด้วยสภาวะเป็นประธาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สติ ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปัญญาด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่ง กว่าธรรมนั้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิมุตติด้วยสภาวะเป็นแก่นสาร ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพานด้วยสภาวะเป็นที่สุด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

[๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า ท่านทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ผมนั้นประสงค์จะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์ ใดๆ บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ผมก็อยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้นๆ ประสงค์จะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็นด้วยโพชฌงค์ใดๆ ผมก็อยู่ในเวลา เย็นด้วยโพชฌงค์นั้นๆ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของผม ก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด สติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้” ฯลฯ ท่านทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่า หาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้” ท่านทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้าของพระราชาหรือของมหาอำมาตย์ของ พระราชา เต็มด้วยผ้าสีต่างๆ พระราชาหรือมหาอำมาตย์นั้นประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใด ในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแหละในเวลาเช้า ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็น ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแหละในเวลาเย็น ฉันใด ผมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประสงค์จะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์ใดๆ บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ก็อยู่ ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้นๆ ประสงค์จะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็นด้วย โพชฌงค์ใดๆ ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์นั้นๆ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ สติ- สัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผม กำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้สติ- สัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปก็รู้ว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

ฯลฯ ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่า หาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไปย่อมรู้ชัดอุเบกขา- สัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ก็รู้ชัด ว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”
สุตตันตนิทเทส
แสดงพระสูตร
[๒๑] โพชฌงค์ ในข้อว่า “ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” มีอยู่อย่างไร คือ นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” ก็มีเพียงนั้น เหมือนประทีปน้ำมันกำลังสว่างอยู่ เปลวไฟมีเพียงใด แสงก็ มีเพียงนั้น แสงมีเพียงใด เปลวไฟก็มีเพียงนั้น นิโรธมีอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้” มีอยู่ อย่างไร คือ กิเลสทั้งหลาย ได้แก่ กิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวงเทียว สังขารที่ให้เกิดในภพ ใหม่มีประมาณ นิโรธชื่อว่าหาประมาณมิได้ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว เพราะมี สภาวะเป็นอสังขตธรรม นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์ ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้วนั้น ดังนี้” มีอยู่อย่างไร คือ กิเลสทั้งหลาย ได้แก่ กิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวงเทียว สังขารที่ให้เกิดใน ภพใหม่ไม่เสมอ นิโรธมีความเสมอเป็นธรรมดา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด เพราะมีสภาวะเป็นธรรมประณีต นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “สติ- สัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้า สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้” เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

คือ สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วย อาการเท่าไร สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วย อาการ ๘ อย่าง สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเกิด ๒. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเกิด ๓. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเป็นไป ๔. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเป็นไป ๕. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต ๖. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงนิมิต ๗. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึงนิโรธ ๘. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงสังขาร สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเกิด ๒. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเกิด ๓. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเป็นไป ๔. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเป็นไป ๕. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงนิมิต ๖. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต ๗. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงสังขาร ๘. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึงนิโรธ สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด สติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าสติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปก็รู้ชัดว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้แล” ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๓. โพชฌังคกถา

โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” มีอยู่อย่างไร คือ นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผม มีอยู่ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น เหมือนประทีปน้ำมันกำลังสว่างอยู่ ฯลฯ โพชฌงค์ในข้อว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้” มีอยู่อย่างไร ฯลฯ โพชฌงค์ในข้อว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว ดังนี้” มีอยู่อย่างไร ฯลฯ เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป เพราะปัจจัยนี้” เป็นอย่างไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป ด้วยอาการเท่าไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อน ไปด้วยอาการ ๘ อย่าง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเกิด ๒. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเกิด ๓. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเป็นไป ๔. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเป็นไป ๕. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต ๖. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงนิมิต ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึงนิโรธ ๘. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงสังขาร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๔. เมตตากถา

อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเกิด ๒. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มี ความเกิด ๓. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเป็นไป ๔. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มี ความเป็นไป ๕. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงนิมิต ๖. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงสังขาร ๘. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึงนิโรธ อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เคลื่อนไปก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้แล”
โพชฌังคกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๔๓-๔๖๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=72              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=8154&Z=8448                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=557              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=557&items=17              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=5334              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=557&items=17              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=5334                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :