ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๑๐. สุญญกถา
ว่าด้วยความว่าง
[๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เขากล่าวกันว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘โลกว่าง” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่อง ด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘โลกว่าง’ อานนท์ อะไรเล่าว่างจากอัตตาและ จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา คือ จักขุเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วย อัตตา รูปว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุวิญญาณเป็นธรรมว่าง @เชิงอรรถ : @ ความเห็นด้วยดี ในที่นี้หมายถึงญาณที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๕/๒๗๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑๐. สุญญกถา ๑. บทมาติกา

จากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุสัมผัสเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจาก สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาที่เกิดเพราะ จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา โสตะ ฯลฯ สัททะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ รส ฯลฯ กาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ มโนเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ธรรมารมณ์เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา มโนวิญญาณเป็น ธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา มโนสัมผัสเป็นธรรมว่างจากอัตตา และจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาที่เกิด เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘โลกว่าง”
๑. บทมาติกา
[๔๗] ๑. สุญญสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ว่าง) ๒. สังขารสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสังขาร) ๓. วิปริณามสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่แปรผัน) ๔. อัคคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเลิศ) ๕. ลักขณสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นลักษณะ) ๖. วิกขัมภนสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุข่ม) ๗. ตทังคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ) ๘. สมุจเฉทสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ตัดขาด) ๙. ปฏิปัสสัทธิสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้สงบระงับ) ๑๐. นิสสรณสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุสลัดออก) ๑๑. อัชฌัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายใน) ๑๒. พหิทธาสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายนอก) ๑๓. ทุภโตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายในและภายนอก) ๑๔. สภาคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นกลุ่มเดียวกัน) ๑๕. วิสภาคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ต่างกลุ่มกัน) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

๑๖. เอสนาสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่แสวงหา) ๑๗. ปริคคหสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่กำหนด) ๑๘. ปฏิลาภสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ได้) ๑๙. ปฏิเวธสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่รู้แจ้ง) ๒๐. เอกัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสภาวะเดียว) ๒๑. นานัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสภาวะต่างๆ) ๒๒. ขันติสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่พอใจ) ๒๓. อธิษฐานสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่อธิษฐาน) ๒๔. ปริโยคาหนสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่หยั่งลง) ๒๕. ความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มี สัมปชัญญะทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป
๒. นิทเทส
[๔๘] ๑. สุญญสุญญะ เป็นอย่างไร คือ จักขุเป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนเป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน เป็นธรรมดา นี้ชื่อว่าสุญญสุญญะ ๒. สังขารสุญญะ เป็นอย่างไร คือ สังขาร ๓ ประการ ได้แก่ ๑. ปุญญาภิสังขาร ๒. อปุญญาภิสังขาร ๓. อาเนญชาภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากอปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร นี้สังขาร ๓ ประการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

อีกนัยหนึ่ง สังขาร ๓ ประการ ได้แก่ ๑. กายสังขาร ๒. วจีสังขาร ๓. จิตตสังขาร กายสังขาร เป็นธรรมว่างจากวจีสังขารและจิตตสังขาร วจีสังขาร เป็นธรรมว่างจากกายสังขารและจิตตสังขาร จิตตสังขาร เป็นธรรมว่างจากกายสังขารและวจีสังขาร นี้สังขาร ๓ ประการ อีกนัยหนึ่ง สังขาร ๓ ประการ ได้แก่ ๑. สังขารส่วนอดีต ๒. สังขารส่วนอนาคต ๓. สังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนอดีต เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนอนาคต เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนปัจจุบัน เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต นี้สังขาร ๓ ประการ นี้ชื่อว่าสังขารสุญญะ ๓. วิปริณามสุญญะ เป็นอย่างไร คือ รูปที่เกิดแล้วเป็นธรรมว่างตามสภาวะ รูปที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง เวทนาที่เกิดแล้วเป็นธรรมว่างตามสภาวะ เวทนาที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ภพที่เกิดแล้วเป็น ธรรมว่างตามสภาวะ ภพที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง นี้ชื่อว่าวิปริณามสุญญะ ๔. อัคคสุญญะ เป็นอย่างไร คือ ทางที่เลิศ ทางที่ประเสริฐ ทางที่วิเศษ คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน นี้ชื่อว่า อัคคสุญญะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

๕. ลักขณสุญญะ เป็นอย่างไร คือ ลักษณะ ๒ ประการ ได้แก่ ๑. พาลลักษณะ๑- (ลักษณะคนพาล) ๒. บัณฑิตลักษณะ๒- (ลักษณะบัณฑิต) พาลลักษณะ เป็นธรรมว่างจากบัณฑิตลักษณะ บัณฑิตลักษณะ เป็นธรรมว่างจากพาลลักษณะ ลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ ๑. อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น) ๒. วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อม) ๓. ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่) อุปปาทลักษณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ วยลักษณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ ฐิตัญญถัตตลักษณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ อุปปาทลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ วยลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ ฐิตัญญถัตตลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ อุปปาทลักษณะแห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ อุปปาทลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญ- ถัตตลักษณะ วยลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญ- ถัตตลักษณะ @เชิงอรรถ : @ พาลลักษณะ หมายถึงลักษณะคนพาล ๓ ประการ คือ (๑) คิดแต่เรื่องที่ชั่ว (๒) พูดแต่สิ่งที่ชั่ว (๓) ทำแต่ @กรรมที่ชั่ว (ขุ.ป.อ. ๒/๔๘/๒๘๓) @ บัณฑิตลักษณะ หมายถึงลักษณะบัณฑิต ๓ ประการ คือ (๑) คิดแต่เรื่องที่ดี (๒) พูดแต่สิ่งที่ดี (๓) ทำแต่ @กรรมดี (ขุ.ป.อ. ๒/๔๘/๒๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

ฐิตัญญถัตตลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและ วยลักษณะ นี้ชื่อว่าลักขณสุญญะ ๖. วิกขัมภนสุญญะ เป็นอย่างไร คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่างจาก อพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอาโลกสัญญา และเป็นธรรมว่าง จากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรม ว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยธัมมววัตถาน และเป็น ธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยญาณ และเป็นธรรม ว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจาก ปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจาก ปฐมฌาน ฯลฯ๑- กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอรหัตตมรรค และเป็น ธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิกขัมภนสุญญะ ๗. ตทังคสุญญะ เป็นอย่างไร คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่างจาก อพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอาโลกสัญญา และเป็นธรรมว่าง จากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรม ว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยธัมมววัตถาน และเป็นธรรม ว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยญาณ และเป็นธรรมว่าง จากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอรหัตตมรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตต- มรรค นี้ชื่อว่าตทังคสุญญะ @เชิงอรรถ : @ ดูองค์ธรรมที่เป็นคู่ตรงกันข้าม ๓๗ คู่ ในข้อที่ ๒๘ (สุตมยญาณที่ ๔) หน้า ๔๑-๔๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

๘. สมุจเฉทสุญญะ เป็นอย่างไร คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลตัตขาดด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่าง จากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอาโลกสัญญา และเป็น ธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอวิกเขปะ และ เป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยธัมมววัตถาน และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยญาณ และเป็นธรรมว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยปามุชชะ และเป็น ธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยปฐมฌาน และเป็น ธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอรหัตต- มรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าสมุจเฉทสุญญะ ๙. ปฏิปัสสัทธิสุญญะ เป็นอย่างไร คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยเนกขัมมะ และเป็น ธรรมว่างจากเนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่างจากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วย อาโลกสัญา และเป็นธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้ สงบระงับด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่ บุคคลทำให้สงบระงับด้วยธัมมววัตถาน และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยญาณ และเป็นธรรมว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจาก ปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยอรหัตตมรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิสุญญะ ๑๐. นิสสรณสุญญะ เป็นอย่างไร คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่าง จากเนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอพยาบาท และเป็นธรรม ว่างจากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอาโลกสัญญา และ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

เป็นธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยธัมมววัตถาน และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยญาณ และเป็นธรรมว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยปามุชชะ และเป็น ธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยปฐมฌาน และเป็น ธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอรหัตต- มรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่านิสสรณสุญญะ ๑๑. อัชฌัตตสุญญะ เป็นอย่างไร คือ จักขุที่เป็นอายตนะภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน เป็นธรรมดา โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนที่เป็นอายตนะ ภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จาก ความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา นี้ชื่อว่า อัชฌัตตสุญญะ ๑๒. พหิทธาสุญญะ เป็นอย่างไร คือ รูปที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน เป็นธรรมดา เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จาก ความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา นี้ชื่อว่าพหิทธาสุญญะ ๑๓. ทุภโตสุญญะ เป็นอย่างไร คือ จักขุที่เป็นอายตนะภายในและรูปที่เป็นอายตนะภายนอกทั้งสองนั้น เป็น ธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา โสตะที่เป็นอายตนะภายใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

และสัททะที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ ฆานะที่เป็นอายตนะภายในและคันธะ ที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ ชิวหาที่เป็นอายตนะภายในและรสที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ กายที่เป็นอายตนะภายในและโผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ มโน ที่เป็นอายตนะภายในและธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภายนอกทั้งสองนั้น เป็นธรรม ว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จาก ความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน นี้ชื่อว่าทุภโตสุญญะ ๑๔. สภาคสุญญะ เป็นอย่างไร คือ อายตนะภายใน ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง อายตนะ ภายนอก ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดวิญญาณ ๖ เป็น ธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดผัสสะ ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและ เป็นธรรมว่าง หมวดเวทนา ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวด สัญญา ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดเจตนา ๖ เป็นธรรม กลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง นี้ชื่อว่าสภาคสุญญะ ๑๕. วิสภาคสุญญะ เป็นอย่างไร คือ อายตนะภายใน ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับอายตนะภายนอก ๖ และ เป็นธรรมว่าง อายตนะภายนอก ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดวิญญาณ ๖ และเป็นธรรมว่าง หมวดผัสสะ ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดเวทนา ๖ และ เป็นธรรมว่าง หมวดเวทนา ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดสัญญา ๖ และเป็น ธรรมว่าง หมวดสัญญา ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดเจตนา ๖ และเป็นธรรมว่าง นี้ชื่อว่าวิสภาคสุญญะ ๑๖. เอสนาสุญญะ เป็นอย่างไร คือ เนกขัมมะที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่ บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลแสวงหา เป็น ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลแสวงหาเป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าเอสนาสุญญะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

๑๗. ปริคคหสุญญะ เป็นอย่างไร คือ เนกขัมมะที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่ บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลกำหนด เป็น ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปริคคหสุญญะ ๑๘. ปฏิลาภสุญญะ เป็นอย่างไร คือ เนกขัมมะที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่าง จากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากกิเลส ทั้งปวง นี้ชื่อว่าปฏิลาภสุญญะ ๑๙. ปฏิเวธสุญญะ เป็นอย่างไร คือ เนกขัมมะที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรม ว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่ บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรม ว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปฏิเวธสุญญะ ๒๐-๒๑. เอกัตตสุญญะ นานัตตสุญญะ เป็นอย่างไร คือ กามฉันทะเป็นสภาวะต่างๆ เนกขัมมะเป็นสภาวะเดียว เนกขัมมะที่ เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ พยาบาทเป็น สภาวะต่างๆ อพยาบาทเป็นสภาวะเดียว อพยาบาทที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

ผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากพยาบาท ถีนมิทธะเป็นสภาวะต่างๆ อาโลกสัญญาเป็น สภาวะเดียว อาโลกสัญญาที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจาก ถีนมิทธะ อุทธัจจะเป็นสภาวะต่างๆ อวิกเขปะเป็นสภาวะเดียว อวิกเขปะที่เป็น สภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ วิจิกิจฉาเป็นสภาวะต่างๆ ธัมมววัตถานเป็นสภาวะเดียว ธัมมววัตถานที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากวิจิกิจฉา อวิชชาเป็นสภาวะต่างๆ ญาณเป็นสภาวะเดียว ญาณ ที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากอวิชชา อรติเป็นสภาวะต่างๆ ปามุชชะเป็นสภาวะเดียว ปามุชชะที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรม ว่างจากอรติ นิวรณ์เป็นสภาวะต่างๆ ปฐมฌานเป็นสภาวะเดียว ปฐมฌานที่เป็น สภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็น สภาวะต่างๆ อรหัตตมรรคเป็นสภาวะเดียว อรหัตตมรรคที่เป็นสภาวะเดียวของ บุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าเอกัตตสุญญะ นานัตตสุญญะ ๒๒. ขันติสุญญะ เป็นอย่างไร คือ เนกขัมมะที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลพอใจ เป็นธรรม ว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่ บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลพอใจ เป็น ธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าขันติสุญญะ ๒๓. อธิษฐานสุญญะ เป็นอย่างไร คือ เนกขัมมะที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่ บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลอธิษฐาน เป็น ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าอธิฏฐานสุญญะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

๒๔. ปริโยคาหนสุญญะ เป็นอย่างไร คือ เนกขัมมะที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่ บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลหยั่งลง เป็น ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลหยั่งลง เป็น ธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปริโยคาหน- สุญญะ ๒๕. ความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ ทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้มีสัมปชัญญะในโลกนี้ ทำความเป็นไปแห่งกามฉันทะให้สิ้นไป ด้วยเนกขัมมะ ทำความเป็นไปแห่งพยาบาทให้สิ้นไปด้วยอพยาบาท ทำความเป็น ไปแห่งถีนมิทธะให้สิ้นไปด้วยอาโลกสัญญา ทำความเป็นไปแห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป ด้วยอวิกเขปะ ทำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไปด้วยธัมมววัตถาน ทำความ เป็นไปแห่งอวิชชาให้สิ้นไปด้วยญาณ ทำความเป็นไปแห่งอรติให้สิ้นไปด้วยปามุชชะ ทำความเป็นไปแห่งนิวรณ์ให้สิ้นไปด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ทำความเป็นไปแห่งกิเลส ทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อีกนัยหนึ่ง ความเป็นไปแห่งจักขุนี้ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ ผู้ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักขุอื่นก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งโสตะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งฆานะ ฯลฯ ความเป็นไป แห่งชิวหา ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ ความเป็นไปแห่งมโนนี้ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส- นิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งมโนอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ชื่อว่าความ ว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะทำความเป็นไป แห่งกิเลสให้สิ้นไป ฉะนี้
สุญญกถา จบ
ยุคนัทธวรรคที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

รวมกถาที่มีในวรรค

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา ๓. โพชฌงคกถา ๔. เมตตากถา ๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. ธัมมจักกกถา ๘. โลกุตตรกถา ๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา วรรคที่ ๒ นี้เป็นวรรคอันยอดเยี่ยม ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ท่านผู้ทรงนิกาย ตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๓๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๕๒๔-๕๓๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=79              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=9514&Z=9682                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=633              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=633&items=26              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=6246              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=633&items=26              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=6246                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :