ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๓. อภิสมยกถา
ว่าด้วยการตรัสรู้
[๑๙] คำว่า การตรัสรู้ อธิบายว่า ตรัสรู้ด้วยอะไร คือ ตรัสรู้ด้วยจิต ตรัสรู้ด้วยจิตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีญาณ ก็ตรัสรู้ได้ บุคคลผู้ไม่มี ญาณตรัสรู้ไม่ได้ ตรัสรู้ด้วยญาณ @เชิงอรรถ : @ ผู้มีบุญมาก ๕ คน ได้แก่ (๑) เมณฑกเศรษฐี (๒) จันทปทุมาภริยาของเมณฑกเศรษฐี (๓) ธนัญชัยเศรษฐี- @บุตร (๔) สุมนาเทวีลูกสะใภ้ (๕) นายปุณณทาส (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘/๓๕๐-๓๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๓. อภิสมยกถา

ตรัสรู้ด้วยญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ได้ บุคคลผู้ไม่มีจิต ก็ตรัสรู้ไม่ได้ ตรัสรู้ได้ด้วยจิตและด้วยญาณ ตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกามาวจรจิตและ ญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยกามาวรจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยรูปาวจรจิต และญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยอรูปาวจรจิต และญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยกัมมัสส- กตาจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยสัจจานุ- โลมิกจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็น อดีตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่ เป็นอนาคตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยโลกียจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วย โลกียจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณไม่ได้ (แต่)ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณใน ขณะแห่งโลกุตตรมรรค ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตตรมรรค เป็นอย่างไร คือ ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้นและเป็นเหตุเป็น ปัจจัยแห่งญาณ๑- จิตที่สัมปยุตด้วยญาณนั้นมีนิโรธเป็นโคจร๒- ญาณเป็นใหญ่ในการ @เชิงอรรถ : @ ญาณ ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙/๓๕๓) @ มีนิโรธเป็นโคจร หมายถึงมีนิพพานเป็นอารมณ์ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙/๓๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๓. อภิสมยกถา

เห็นและเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณที่สัมปยุตด้วยจิตนั้นมีนิโรธเป็นโคจร ย่อม ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบัน และด้วยญาณในขณะแห่งโลกุตตรมรรคอย่างนี้ [๒๐] ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ การตรัสรู้คือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ การตรัสรู้คือ การกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา การตรัสรู้คือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ การ ตรัสรู้คือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ การตรัสรู้คือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ การตรัสรู้คือ การพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ การ ตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ การตรัสรู้คือ ความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหว เพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่า ปัญญาพละ การตรัสรู้คือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ การตรัสรู้คือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ การตรัสรู้คือความ ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว การตรัสรู้ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก การตรัสรู้ที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะดำรงไว้ การ ตรัสรู้ที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมี สภาวะเป็นของแท้ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน การตรัสรู้ที่ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมี สภาวะไม่ล่วงเลยกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๓. อภิสมยกถา

การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าจิตต- วิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น การ ตรัสรู้ที่ชื่อว่าอธิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิชชา๑- เพราะมี สภาวะรู้แจ้ง การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิมุตติ๒- เพราะมีสภาวะสละ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าญาณ ในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด การตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็น มูลเหตุ การตรัสรู้ที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน การตรัสรู้ที่ชื่อว่า ผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ ประชุม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่ง กว่าธรรมนั้น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร การตรัสรู้ที่ชื่อว่า ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด [๒๑] ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ มีสภาวะเป็นที่สุด ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติผล การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ การ ตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่ อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งสกทา- คามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ วิชชา ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๐/๓๕๔) @ วิมุตติ ในที่นี้หมายถึงสมุจเฉทวิมุตติ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๐/๓๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๓. อภิสมยกถา

ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอรหัตตผล การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ การตรัสรู้คือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ การตรัสรู้ ที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมี สภาวะเป็นมูล ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมี สภาวะเป็นที่สุด บุคคลนี้นั้นย่อมละกิเลสได้ คือ ละกิเลสที่เป็นอดีตได้ ละกิเลสที่เป็น อนาคตได้ (และ) ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้ คำว่า ละกิเลสที่เป็นอดีตได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นแล้วให้สิ้นไป ทำกิเลสที่ดับแล้วให้ดับไป ทำ กิเลสที่ปราศจากแล้วให้ปราศจากไป ทำกิเลสที่หมดแล้วให้หมดไป ละกิเลสที่เป็น อดีตซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ คำว่า ละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด ละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ละกิเลสที่ ยังไม่เกิดขึ้น ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละกิเลสที่เป็นอนาคตซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ คำว่า ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้ หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้ ผู้ขัดเคืองก็ละโทสะได้ ผู้หลงก็ละ โมหะได้ ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้ ผู้ถือทิฏฐิผิดก็ละทิฏฐิได้ ผู้ถึงความฟุ้งซ่าน ก็ละอุทธัจจะได้ ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้ ผู้มีเรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้ ธรรมฝ่าย ดำและธรรมฝ่ายขาว๑- เป็นธรรมคู่กันเป็นไปด้วยกัน มัคคภาวนาที่มีความหม่นหมอง ด้วยกิเลสนั้นจึงมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ ละ กิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ (และ)ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันไม่ได้ บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ ละกิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ (และ)ละกิเลสที่ เป็นปัจจุบันไม่ได้หรือ ถ้าอย่างนั้น มัคคภาวนาก็ไม่มี การทำผลให้แจ้งก็ไม่มี การ @เชิงอรรถ : @ ธรรมฝ่ายดำ หมายถึงอกุศลธรรม ธรรมฝ่ายขาว หมายถึงกุศลธรรม (ขุ.ป.อ. ๒/๒๑/๓๕๔-๓๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๔. วิเวกกถา

ละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี มัคคภาวนามีอยู่ การทำผลให้แจ้งก็มีอยู่ การ ละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มีอยู่ เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่นยังไม่เกิดผล บุรุษพึงตัดต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดของต้นไม้นั้นก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็ บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ ความเกิดขึ้นเป็นเหตุ ความเกิดขึ้นเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดของกิเลส ทั้งหลาย จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้วจึงแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเกิดขึ้น เพราะจิตแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเกิดขึ้น กิเลสที่พึงบังเกิดเพราะความเกิด ขึ้นเป็นปัจจัย ที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ ทุกข์จึงดับด้วยประการฉะนี้ ความเป็นไปเป็นเหตุ ... นิมิตเป็นเหตุ ... กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นเหตุ กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นปัจจัย แห่งความบังเกิดของกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในกรรมเป็นเครื่องประมวลมาแล้ว จึงแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา เพราะจิตแล่นไปในนิพพาน ซึ่งไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา กิเลสที่พึงบังเกิดเพราะกรรมเป็นเครื่องประมวล มาเป็นปัจจัย ที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ เพราะเหตุดับ ทุกข์จึงดับด้วยประการฉะนี้ มัคคภาวนาจึงมีอยู่ การทำผลให้แจ้งก็มีอยู่ การละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มี อยู่ด้วยประการฉะนี้
อภิสมยกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๕๗๒-๕๗๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=82              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=10321&Z=10431                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=695              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=695&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=7967              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=695&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=7967                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :