ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๔. วิเวกกถา
ว่าด้วยวิเวก
[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การงานนั้น ทั้งหมดบุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้ การงานที่ต้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๔. วิเวกกถา

ทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล๑- ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ) เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริย- มรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างนี้ [๒๓] ภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคาม๒- เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและ ภูตคามเหล่านั้นทั้งหมดอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ได้ พืชคามและภูตคามเหล่านี้ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วย ประการฉะนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ศีล ในที่นี้หมายถึงจตุปาริสุทธิศีล ๔ (คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทริยสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และ @ปัจจยสันนิสสิตศีล) (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒/๓๕๖) @ พืชคาม หมายถึงพืช ๕ อย่าง คือ พืชจากราก พืชจากต้น พืชจากยอด พืชจากข้อ และพืชจากพืช @ภูตคาม หมายถึงเริ่มตั้งแต่หน่อเขียวสมบูรณ์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓/๓๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส

เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรค มีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลายอย่างนี้แล
๑. มัคคังคนิทเทส
แสดงองค์แห่งมรรค
[๒๔] สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ ๑- สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. วิกขัมภนวิเวก (สงัดด้วยข่มไว้) ๒. ตทังควิเวก (สงัดด้วยองค์นั้นๆ) ๓. สมุจเฉทวิเวก (สงัดด้วยตัดขาด) ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก (สงัดด้วยสงบระงับ) ๕. นิสสรณวิเวก (สงัดด้วยสลัดออกได้) วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์ นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของภิกษุ ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะแห่งผลและ @เชิงอรรถ : @ นิสสัย ๑๒ ได้แก่ ในวิเวกมีนิสสัย ๓ วิราคะมีนิสสัย ๓ นิโรธมินิสสัย ๓ โวสสัคคะมีนิสสัย ๓ @(๓ คูณ ๔ เป็น ๑๒) (ขุ.ป.อ. ๒/๒๔/๓๕๘-๓๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส

นิสสรณวิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่น๑- ด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. วิกขัมภนวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยข่มไว้) ๒. ตทังควิราคะ (คลายกำหนัดด้วยองค์นั้นๆ) ๓. สมุจเฉทวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยตัดขาด) ๔. ปฏิปัสสัทธิวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยสงบระงับ) ๕. นิสสรณวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยสลัดออกได้) วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิราคะในการละทิฏฐิด้วย องค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิราคะ ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิราคะในขณะแห่งผล และนิสสรณวิราคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ นี้ ภิกษุเกิด ฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ ๕ นี้ สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้) ๒. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้นๆ) ๓. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด) ๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ) ๕. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้) นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน นิโรธในการละทิฏฐิด้วยองค์ นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทนิโรธของภิกษุ ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะแห่งผลและนิสสรณ- นิโรธที่เป็นความดับคืออมตธาตุ สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้ @เชิงอรรถ : @ ฉันทะ ศรัทธา และจิต ในที่นี้ชื่อว่า นิสสัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส

สัมมาทิฏฐิมีโวสสัคคะ ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. วิกขัมภนโวสสัคคะ (สละด้วยข่มไว้) ๒. ตทังคโวสสัคคะ (สละด้วยองค์นั้นๆ) ๓. สมุจเฉทโวสสัคคะ (สละด้วยตัดขาด) ๔. ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะ (สละด้วยสงบระงับ) ๕. นิสสรณโวสสัคคะ (สละด้วยสลัดออกได้) โวสสัคคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน โวสสัคคะในการละทิฏฐิ ด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทโวสสัคคะ ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะในขณะแห่งผล และนิสสรณโวสสัคคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีโวสสัคคะ ๕ นี้ ภิกษุ เกิดฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในโวสสัคคะ ๕ นี้ สัมมาทิฏฐิ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ นี้ [๒๕] สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. วิกขัมภนวิเวก ๒. ตทังควิเวก ๓. สมุจเฉทวิเวก ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก ๕. นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์ นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของ ภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะแห่งผลและ นิสสรณวิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส

สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. วิกขัมภนวิราคะ ๒. ตทังควิราคะ ๓. สมุจเฉทวิราคะ ๔. ปฏิปัสสัทธิวิราคะ ๕. นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิราคะในการละทิฏฐิด้วย องค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิราคะ ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิราคะในขณะผลและ นิสสรณวิราคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ ๕ นี้ สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. วิกขัมภนนิโรธ ๒. ตทังคนิโรธ ๓. สมุจเฉทนิโรธ ๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ ๕. นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน นิโรธในการละทิฏฐิด้วยองค์ นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทนิโรธของภิกษุ ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะผลและนิสสรณ- นิโรธที่เป็นความดับคืออมตธาตุ สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้ สัมมาสมาธิมีโวสสัคคะ ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. วิกขัมภนโวสสัคคะ ๒. ตทังคโวสสัคคะ ๓. สมุจเฉทโวสสัคคะ ๔. ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะ ๕. นิสสรณโวสสัคคะ โวสสัคคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน โวสสัคคะในการละทิฏฐิ ด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉท- โวสสัคคะของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส

ขณะผลและนิสสรณโวสสัคคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาสมาธิมีโวสสัคคะ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในโวสสัคคัคะ ๕ นี้ สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ นี้ [๒๖] ภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การงาน นั้นทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่ต้อง ทำด้วยกำลังนี้บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่งพละ ๕ ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่งพละ ๕ ย่อม ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่ง อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูตคามเหล่านั้นทั้งหมด อาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ พืชคาม และภูตคามเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อม ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัย เจริญสัทธินทรีย์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ เจริญปัญญินทรีย์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๔. วิเวกกถา ๒. อินทริยนิทเทส

๒. อินทริยนิทเทส
แสดงอินทรีย์
[๒๗] สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. วิกขัมภนวิเวก ๒. ตทังควิเวก ๓. สมุจเฉทวิเวก ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก ๕. นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์ นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของภิกษุผู้ เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผลและนิสสรณ- วิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฯลฯ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ อย่างนี้แล วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. วิกขัมภนวิเวก ๒. ตทังควิเวก ๓. สมุจเฉทวิเวก ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก ๕. นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ อย่างนี้แล
วิเวกกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๘๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๕๗๗-๕๘๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=83              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=10432&Z=10559                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=701              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=701&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=8050              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=701&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=8050                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :