ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค]

๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน

๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหาโกฏฐิกเถระ
(พระมหาโกฏฐิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๒๒๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง๑- เป็นพระมุนี มีพระจักษุ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป [๒๒๒] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้ ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก [๒๒๓] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์ ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในศีล ๕ [๒๒๔] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล ว่างจากพวกเดียรถีย์ และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้วสี ผู้คงที่ [๒๒๕] พระมหามุนีพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก มีพระฉวีวรรณคล้ายทองคำที่ล้ำค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๒- @เชิงอรรถ : @ รู้แจ้งโลกทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงรู้แจ้งโลกตามสภาวะ เหตุเกิดโลก ความดับโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึง @ความดับโลก คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือ (๑) สังขารโลก (๒) สัตวโลก @(๓) โอกาสโลก (ขุ.พุทฺธ.อ. ๖๐/๑๔๓) @ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค]

๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน

[๒๒๖] ขณะนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี พระชินสีห์พระองค์นั้น ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก [๒๒๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ชาวกรุงหงสวดี เรียนจบไตรเพท ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง แล้วได้ฟังพระธรรมเทศนา [๒๒๘] ครั้งนั้น พระธีรเจ้าพระองค์นั้น ทรงตั้งสาวกผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ฉลาดในอรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ [๒๒๙] ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้วก็พลอยยินดี จึงได้ทูลนิมนต์พระชินเจ้าผู้ประเสริฐ พร้อมทั้งสาวกให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน [๒๓๐] ข้าพเจ้าทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าผู้ดังสาคร พร้อมทั้งสาวกให้ครองผ้าชุดใหม่ แล้วหมอบลงแทบพระบาท ปรารถนาตำแหน่งนั้น [๒๓๑] ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เลิศในโลก ได้ตรัสว่า ‘จงดูพราหมณ์ผู้ประเสริฐ ซึ่งหมอบอยู่แทบเท้าเรานี้ มีรัศมีเหมือนกลีบบัว [๒๓๒] พราหมณ์นี้ปรารถนาตำแหน่งประเสริฐสุดของภิกษุ เพราะการบริจาคทานด้วยศรัทธานั้น และเพราะการฟังพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า [๒๓๓] พราหมณ์นี้จักเป็นผู้มีความสุขในทุกภพ เวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่ จักได้ตำแหน่งนั้นตามใจปรารถนาในอนาคตกาล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค]

๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน

[๒๓๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก [๒๓๕] พราหมณ์นี้จักมีนามว่าโกฏฐิกะ เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น’ [๒๓๖] ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว เป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระชินเจ้าจนตลอดชีวิตในครั้งนั้น เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา [๒๓๗] ด้วยวิบากกรรมนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๒๓๘] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ [๒๓๙] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีความสุขในทุกภพ [๒๔๐] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ คือ (๑) เทวดา (๒) มนุษย์ คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย นี้เป็นผลแห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้ว [๒๔๑] ข้าพเจ้าเกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์ จะไม่เกิดในตระกูลที่ต่ำ นี้เป็นผลแห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค]

๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน

[๒๔๒] เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าได้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ เกิดในตระกูลพราหมณมหาศาล ที่มีทรัพย์มากในกรุงสาวัตถี [๒๔๓] มารดาของข้าพเจ้าชื่อจันทวดี บิดาของข้าพเจ้าชื่ออัสสลายนะ ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำบิดาของข้าพเจ้า เพื่อความบริสุทธิ์ทุกอย่าง [๒๔๔] ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระสุคต ได้บวชเป็นบรรพชิต พระโมคคัลลานะเป็นพระอาจารย์ พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ [๒๔๕] ในขณะกำลังปลงผม ข้าพเจ้าก็ตัดทิฏฐิพร้อมทั้งรากได้ และขณะนุ่งผ้ากาสาวะ ก็ได้บรรลุอรหัตตผล [๒๔๖] ข้าพเจ้ามีปัญญาแตกฉานในอรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้เลิศในโลก จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ [๒๔๗] ข้าพเจ้าถูกท่านพระอุปติสสะ ไต่ถามในปฏิสัมภิทาก็แก้ได้ไม่ขัดข้อง เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้เลิศในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า [๒๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค]

๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน

[๒๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๒๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระมหาโกฏฐิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหาโกฏฐิกเถราปทานที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๒๖๘-๒๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=127              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=3156&Z=3211                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=127              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=127&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=6308              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=127&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=6308                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap539/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :