ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ทุกอัตถุทธาระ คันถโคจฉกะ

๕. คันถโคจฉกะ
๑. คันถทุกะ
[๑๔๘๙] สภาวธรรมที่เป็นคันถะ เป็นไฉน คันถะ ๔ คือ ๑. อภิชฌากายคันถะ ๒. พยาปาทกายคันถะ ๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ อภิชฌากายคันถะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ พยาปาทกาย- คันถะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สีลัพพตปรามาสกายคันถะและ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นคันถะ [๑๔๙๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน อกุศลที่เหลือ เว้นคันถะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นคันถะ
๒. คันถนิยทุกะ
[๑๔๙๑] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของคันถะ [๑๔๙๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
๓. คันถสัมปยุตตทุกะ
[๑๔๙๓] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ทุกอัตถุทธาระ คันถโคจฉกะ

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ และจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุต จากทิฏฐิ ๔ เว้นโลภะที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ เว้นปฏิฆะที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยคันถะ [๑๔๙๔] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะ เป็นไฉน โลภะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ปฏิฆะ เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาใน ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากคันถะ
๔. คันถคันถนิยทุกะ
[๑๔๙๕] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน คันถะเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ [๑๔๙๖] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน อกุศลที่เหลือ เว้นคันถะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาใน ภูมิ ๓ รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
๕. คันถคันถสัมปยุตตทุกะ
[๑๔๙๗] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน ทิฏฐิและโลภะเกิดขึ้นร่วมกัน ในสภาวธรรมเหล่าใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ [๑๔๙๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ เว้น คันถะที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือ สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ทุกอัตถุทธาระ โยคโคจฉกะ

๖. คันถวิปปยุตตคันถนิยทุกะ
[๑๔๙๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน โลภะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ปฏิฆะ เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาใน ภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของ คันถะ [๑๕๐๐] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยคันถะกล่าวไม่ได้ว่าวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ หรือวิปปยุตจาก คันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
คันถโคจฉกะ จบ
๖. โอฆโคจฉกะ
๑. โอฆทุกะ
[๑๕๐๑] สภาวธรรมที่เป็นโอฆะ เป็นไฉน ฯลฯ
๗. โยคโคจฉกะ
๑. โยคทุกะ
[๑๕๐๒] สภาวธรรมที่เป็นโยคะ เป็นไฉน ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๖๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๓๖๕-๓๖๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=71              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=8043&Z=8099                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=925              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=925&items=7              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=925&items=7                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :