ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙. อิทธิปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. ฉันทิทธิบาท

๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๔๔๔] อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
๑. ฉันทิทธิบาท
[๔๔๕] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์๑- ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม- ฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา๒- อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร [๔๔๖] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ สมาธิ เป็นไฉน ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ ปธานสังขาร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘, ๒๗๗/๒๗๐ @ อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๗/๒๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๔๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙. อิทธิปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๒. วิริยิทธิบาท

ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร [๔๔๗] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่ สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่ ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
๒. วิริยิทธิบาท
[๔๔๘] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร [๔๔๙] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิริยะ สมาธิ เป็นไฉน ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ ปธานสังขาร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๔๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙. อิทธิปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. จิตติทธิบาท

ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร [๔๕๐] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่ สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่ ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
๓. จิตติทธิบาท
[๔๕๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร [๔๕๒] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต สมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ ปธานสังขาร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๕๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙. อิทธิปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๔. วิมังสิทธิบาท

ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยจิตนี้ ด้วยสมาธินี้ และด้วย ปธานสังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร [๔๕๓] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่ สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่ ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
๔. วิมังสิทธิบาท
[๔๕๔] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร [๔๕๕] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิมังสา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิมังสา สมาธิ เป็นไฉน ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๕๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙. อิทธิปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. ฉันทิทธิบาท

ปธานสังขาร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขารนี้ ด้วย ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร [๔๕๖] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่ สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่ ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท [๔๕๗] อิทธิบาท ๔ คือ ๑. ฉันทิทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือฉันทะ) ๒. วิริยิทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือวิริยะ) ๓. จิตติทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือจิตตะ) ๔. วิมังสิทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือวิมังสา)
๑. ฉันทิทธิบาท
[๔๕๘] บรรดาอิทธิบาท ๔ นั้น ฉันทิทธิบาท เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพอใจ การทำ ความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความพอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทิทธิบาท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฉันทิทธิบาท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๕๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙. อิทธิปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๔. วิมังสิทธิบาท

๒. วิริยิทธิบาท
[๔๕๙] วิริยิทธิบาท เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น การปรารภความเพียร ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิริยิทธิบาท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิริยิทธิบาท
๓. จิตติทธิบาท
[๔๖๐] จิตติทธิบาท เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิตติทธิบาท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยจิตติทธิบาท
๔. วิมังสิทธิบาท
[๔๖๑] วิมังสิทธิบาท เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ปัญญา กิริยาที่ รู้ชัดฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจย- สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิมังสิทธิบาท สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิมังสิทธิบาท
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๕๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๓๔๘-๓๕๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=35              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=6949&Z=7106                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=518              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=518&items=18              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=7842              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=518&items=18              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=7842                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb9/en/thittila#pts-s444



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :