ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘. ธัมมหทยวิภังค์]

๑. สัพพสังคาหิกวาร

๑๘. ธัมมหทยวิภังค์
๑. สัพพสังคาหิกวาร
(วาระว่าด้วยการรวบรวมสภาวธรรมทั้งหมด)
[๙๗๘] ขันธ์มีเท่าไร อายตนะมีเท่าไร ธาตุมีเท่าไร สัจจะมีเท่าไร อินทรีย์ มีเท่าไร เหตุมีเท่าไร อาหารมีเท่าไร ผัสสะมีเท่าไร เวทนามีเท่าไร สัญญามีเท่าไร เจตนามีเท่าไร จิตมีเท่าไร ขันธ์มี ๕ อายตนะมี ๑๒ ธาตุมี ๑๘ สัจจะมี ๔ อินทรีย์มี ๒๒ เหตุมี ๙ อาหารมี ๔ ผัสสะมี ๗ เวทนามี ๗ สัญญามี ๗ เจตนามี ๗ จิตมี ๗ [๙๗๙] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ขันธ์มี ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์
เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ (๑) [๙๘๐] อายตนะ ๑๒ เป็นไฉน อายตนะ ๑๒ คือ ๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ ๓. โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ ๕. ฆานายตนะ ๖. คันธายตนะ ๗. ชิวหายตนะ ๘. รสายตนะ ๙. กายายตนะ ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ ๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๑๒ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘. ธัมมหทยวิภังค์]

๑. สัพพสังคาหิกวาร

[๙๘๑] ธาตุ ๑๘ เป็นไฉน ธาตุ ๑๘ คือ ๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ ๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ ๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ ๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ ๙. ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐. ชิวหาธาตุ ๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ ๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ ๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๑๘ (๓) [๙๘๒] สัจจะ ๔ เป็นไฉน สัจจะ ๔ คือ ๑. ทุกขสัจ ๒. สมุทยสัจ ๓. มัคคสัจ ๔. นิโรธสัจ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๔ (๔) [๙๘๓] อินทรีย์ ๒๒ เป็นไฉน อินทรีย์ ๒๒ คือ ๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์ ๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์ ๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์ ๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์ ๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์ ๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์ ๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์ ๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์ ๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๒๒ (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘. ธัมมหทยวิภังค์]

๑. สัพพสังคาหิกวาร

[๙๘๔] เหตุ ๙ เป็นไฉน เหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ และอัพยากตเหตุ ๓ บรรดาเหตุ ๙ เหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน กุศลเหตุ ๓ คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ และกุศลเหตุคือ อโมหะ เหล่านี้ชื่อว่ากุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน อกุศลเหตุ ๓ คือ อกุศลเหตุคือโลภะ อกุศลเหตุคือโทสะ และอกุศลเหตุ คือโมหะ เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน อัพยากตเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งสภาวธรรม ที่เป็นกุศล หรือในสภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยา เหล่านี้ชื่อว่าอัพยากตเหตุ ๓ เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๙ (๖) [๙๘๕] อาหาร ๔ เป็นไฉน อาหาร ๔ คือ ๑. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว) ๒. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ) ๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา) ๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ) เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๔ (๗) [๙๘๖] ผัสสะ ๗ เป็นไฉน ผัสสะ ๗ คือ ๑. จักขุสัมผัส ๒. โสตสัมผัส ๓. ฆานสัมผัส ๔. ชิวหาสัมผัส ๕. กายสัมผัส ๖. มโนธาตุสัมผัส ๗. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๗ (๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๓๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘. ธัมมหทยวิภังค์]

๑. สัพพสังคาหิกวาร

[๙๘๗] เวทนา ๗ เป็นไฉน เวทนา ๗ คือ ๑. เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ๒. เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ๓. เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ๔. เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ๕. เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ๖. เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส ๗. เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า เวทนา ๗ (๙) [๙๘๘] สัญญา ๗ เป็นไฉน สัญญา ๗ คือ ๑. สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ๒. สัญญาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ๓. สัญญาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ๔. สัญญาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ๕. สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส ๖. สัญญาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส ๗. สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สัญญา ๗ (๑๐) [๙๘๙] เจตนา ๗ เป็นไฉน เจตนา ๗ คือ ๑. เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ๒. เจตนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ๓. เจตนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ๔. เจตนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ๕. เจตนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ๖. เจตนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส ๗. เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า เจตนา ๗ (๑๑) [๙๙๐] จิต ๗ เป็นไฉน จิต ๗ คือ ๑. จักขุวิญญาณ ๒. โสตวิญญาณ ๓. ฆานวิญญาณ ๔. ชิวหาวิญญาณ ๕. กายวิญญาณ ๖. มโนธาตุ ๗. มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗ (๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๓๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๖๓๕-๖๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=78              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=13904&Z=13972                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1073              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=1073&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=13196              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=1073&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=13196                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb18/en/thittila



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :