ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
ว่าด้วยสภาวธรรมมีอมตะ(นิพพาน)เป็นอารมณ์
[๕๔๙] สก. สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของ โอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็น อารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๙/๒๘ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๙/๒๔๓) @ เพราะมีความเห็นว่าสังโยชน์สามารถรับอมตะเป็นอารมณ์ได้ โดยยึดตามพระสูตรที่ว่า ‘นิพฺพานํ @เมติ มญฺญติ’ เป็นต้น (ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๖/๙) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อมตะ @ไม่สามารถเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๙/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)

สก. หากอมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์” สก. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นเหตุแห่งความกำหนัด เป็นเหตุแห่งความใคร่ เป็นเหตุแห่งความมัวเมา เป็นเหตุแห่งความผูกพัน เป็นเหตุแห่งความหลงใหลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด ไม่เป็นเหตุ แห่งความใคร่ ไม่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา ไม่เป็นเหตุแห่งความผูกพัน ไม่เป็น เหตุแห่งความหลงใหลมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด ไม่เป็น เหตุแห่งความใคร่ ไม่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา ไม่เป็นเหตุแห่งความผูกพัน ไม่เป็น เหตุแห่งความหลงใหล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้น” สก. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความ กระทบกระทั่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง ความกระทบกระทั่งมิใช่หรือ ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)

สก. หากอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่ ตั้งแห่งความกระทบกระทั่ง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้น” สก. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ทำความไม่เห็น เป็นเหตุแห่ง ความดับสนิทแห่งปัญญา เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา ไม่เป็นไปเพื่อความดับ กิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ มิใช่ทำความไม่เห็น เกื้อกูลแก่ ความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา เป็นไปเพื่อความดับกิเลสมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อ ความดับกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้น” [๕๕๐] สก. สังโยชน์ปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็น อารมณ์ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สังโยชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นเหตุแห่งความกำหนัด เป็นเหตุแห่งความใคร่ เป็นเหตุแห่งความมัวเมา เป็นเหตุแห่งความผูกพัน เป็นเหตุ แห่งความหลงใหลใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)

สก. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ฯลฯ เป็นเหตุแห่ง ความหลงใหลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โทสะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความ โกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ฯลฯ ไม่ เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ฯลฯ ไม่เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สังโยชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็น อารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็น อารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น อารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สังโยชน์ปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็นอารมณ์ ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๙๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)

สก. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นเหตุแห่ง ความกำหนัด ไม่เป็นเหตุแห่งความใคร่ ไม่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา ไม่เป็นเหตุ แห่งความผูกพัน ไม่เป็นเหตุแห่งความหลงใหลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ฯลฯ ไม่เป็นเหตุแห่ง ความหลงใหลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง ความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โทสะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ โกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๕๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๓. รูปังสารัมมณันติกถา (๘๖)

ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุถุชนหมายรู้นิพพาน๑- โดยความ เป็นนิพพาน ครั้นหมายรู้นิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้วจึงกำหนดหมายนิพพาน กำหนดหมายในนิพพาน กำหนดหมายโดยความเป็นนิพพาน กำหนดหมาย นิพพานว่าเป็นของเรา ยินดีนิพพาน”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น สังโยชน์จึงมีอมตะเป็นอารมณ์ได้
อมตารัมมณกถา จบ
๓. รูปังสารัมมณันติกถา (๘๖)
ว่าด้วยรูปที่รับรู้อารมณ์ได้
[๕๕๒] สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร.๓- ใช่๔- สก. รูปนั้นมีความนึกถึง ความผูกใจ ความสนใจ ความใฝ่ใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปนั้นไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากรูปนั้นไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้” @เชิงอรรถ : @ นิพพาน ในที่นี้หมายถึงนิพพานที่ปุถุชนเข้าใจผิดด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ คือเข้าใจว่าอัตตาที่ @เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานในปัจจุบัน นิพพานเป็นอัตตา อัตตาเป็นอย่างอื่นจากนิพพาน @ความสุขเป็นนิพพาน หรือนิพพานเป็นของเรา (ม.มู.อ. ๑/๔๒) @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๖/๙, ที.สี. (แปล) ๙/๙๓-๙๘/๓๗-๓๘ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๒-๕๕๓/๒๔๓) @ เพราะมีความเห็นว่า รูปทุกชนิดรับรู้อารมณ์ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูปรับรู้อารมณ์ @ไม่ได้ แต่เป็นอารัมมณปัจจัยได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๒-๕๕๓/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๙๕-๖๐๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=105              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=13070&Z=13176                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1308              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1308&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5476              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1308&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5476                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv9.2/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :