ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๓. รูปังสารัมมณันติกถา (๘๖)
ว่าด้วยรูปที่รับรู้อารมณ์ได้
[๕๕๒] สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร.๓- ใช่๔- สก. รูปนั้นมีความนึกถึง ความผูกใจ ความสนใจ ความใฝ่ใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปนั้นไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากรูปนั้นไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้” @เชิงอรรถ : @ นิพพาน ในที่นี้หมายถึงนิพพานที่ปุถุชนเข้าใจผิดด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ คือเข้าใจว่าอัตตาที่ @เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานในปัจจุบัน นิพพานเป็นอัตตา อัตตาเป็นอย่างอื่นจากนิพพาน @ความสุขเป็นนิพพาน หรือนิพพานเป็นของเรา (ม.มู.อ. ๑/๔๒) @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๖/๙, ที.สี. (แปล) ๙/๙๓-๙๘/๓๗-๓๘ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๒-๕๕๓/๒๔๓) @ เพราะมีความเห็นว่า รูปทุกชนิดรับรู้อารมณ์ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูปรับรู้อารมณ์ @ไม่ได้ แต่เป็นอารัมมณปัจจัยได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๒-๕๕๓/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๐๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๓. รูปังสารัมมณันติกถา (๘๖)

สก. ผัสสะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนา ... สัญญา ... เจตนา ... จิต ... สัทธา ... วิริยะ ... สติ ... สมาธิ ... ปัญญา ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... วิจิกิจฉา ... ถีนะ ... อุทธัจจะ ... อหิริกะ ... อโนตตัปปะ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผัสสะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๐๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)

สก. เวทนา ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ไม่มีความ นึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๕๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. รูปมีปัจจัยมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากรูปมีปัจจัย ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรม ที่รับรู้อารมณ์ได้”
รูปังสารัมมณันติกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๐๐-๖๐๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=106              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=13177&Z=13221                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1321              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1321&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5486              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1321&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5486                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv9.3/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :