ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๓. อนันตรปัจจยกถา (๑๓๘)

๓. อนันตรปัจจยกถา (๑๓๘)
ว่าด้วยอนันตรปัจจัย
[๖๙๓] สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณนั้น ก็เพื่อความเกิดขึ้นแห่งโสตวิญญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณนั้นก็เพื่อความ เกิดขึ้นแห่งโสตวิญญาณ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากโสตวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “โสตวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ” @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙๓-๖๙๗/๒๗๔) @ เพราะมีความเห็นว่า วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีจิตอื่นมาคั่นในระหว่าง ซึ่งต่างกับความ @เห็นของสกวาทีที่เห็นว่า วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นไม่ต่อเนื่องกันโดยต้องมีอารมณ์มาคั่นในระหว่าง เช่น @เมื่อจักขุวิญญาณเกิดขึ้นจะต้องมีรูปารมณ์มาคั่น จึงจะเกิดโสตวิญญาณต่อไปได้ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙๓-๖๙๗/๒๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๓. อนันตรปัจจยกถา (๑๓๘)

[๖๙๔] สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการรูปนิมิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการรูปนิมิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักขุวิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสตวิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยจักษุและรูป โสตวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยจักษุและรูป โสตวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป โสตวิญญาณจึงเกิดขึ้น”๑- มีอยู่จริงใช่ไหม ปร. ไม่มี สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”๒- มีอยู่จริงใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๙๓/๙๔-๙๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๓. อนันตรปัจจยกถา (๑๓๘)

สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุกับรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”๑- มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป โสตวิญญาณจึงเกิดขึ้น” สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุวิญญาณกับโสตวิญญาณเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๙๕] สก. ฆานวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ ชิวหา- วิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งฆานวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่ง ชิวหาวิญญาณใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณนั้น ก็เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกายวิญญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กายวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณนั้นก็เพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งกายวิญญาณ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กายวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๙๓/๙๔-๙๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๓. อนันตรปัจจยกถา (๑๓๘)

สก. กายวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากกายวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “กายวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณ” [๖๙๖] สก. กายวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการรสนิมิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กายวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการรสนิมิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชิวหาวิญญาณมีรสเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กายวิญญาณมีรสเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยชิวหาและรส กายวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยชิวหาและรส กายวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๓. อนันตรปัจจยกถา (๑๓๘)

สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยชิวหาและรส กายวิญญาณจึงเกิดขึ้น”๑- มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่มี สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดขึ้น”๒- มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึง เกิดขึ้น”๓- มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยชิวหาและรส กาย- วิญญาณจึงเกิดขึ้น” สก. กายวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชิวหาวิญญาณกับกายวิญญาณเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๙๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นต่อเนื่องกันและกัน” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บางคนที่ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรสและถูกต้องโผฏฐัพพะมีอยู่มิใช่หรือ สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑-๓ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๙๓/๙๔-๙๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๔. อริยรูปกถา (๑๓๙)

ปร. หากบางคนที่ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรสและถูกต้องโผฏฐัพพะได้มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นต่อเนื่องกันและกัน”
อนันตรปัจจยกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๔๐-๗๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=156              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=16048&Z=16153                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1561              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1561&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6181              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1561&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6181                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv14.3/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :