ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๕. อัญโญอนุสโยติกถา (๑๔๐)

๕. อัญโญอนุสโยติกถา (๑๔๐)
ว่าด้วยอนุสัยเป็นคนละอย่างกัน(กับปริยุฏฐานกิเลส)
[๗๐๐] สก. กามราคานุสัยกับกามราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. กามราคะกับกามราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคะกับกามราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคานุสัยกับกามราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปฏิฆานุสัยกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปฏิฆะกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปฏิฆะกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปฏิฆานุสัยกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มานานุสัยกับมานปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มานะกับมานปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๐-๗๐๑/๒๗๕) @ เพราะมีความเห็นว่า เมื่อจิตที่เป็นอกุศลหรืออัพยากฤตกำลังเป็นไป ปุถุชนชื่อว่าเป็นผู้มีอนุสัย แต่ไม่มี @ปริยุฏฐานกิเลส ดังนั้น อนุสัยกับปริยุฏฐานกิเลสจึงเป็นคนละอย่างกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๐-๗๐๑/๒๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๔๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๕. อัญโญอนุสโยติกถา (๑๔๐)

สก. มานะกับมานปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มานานุสัยกับมานปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทิฏฐานุสัยกับทิฏฐิปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิฏฐิกับทิฏฐิปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทิฏฐิกับทิฏฐิปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิฏฐานุสัยกับทิฏฐิปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิจิกิจฉานุสัยกับวิจิกิจฉาปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิจิกิจฉากับวิจิกิจฉาปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิจิกิจฉากับวิจิกิจฉาปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิจิกิจฉานุสัยกับวิจิกิจฉาปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ภวราคานุสัยกับภวราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ภวราคะกับภวราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๔๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๕. อัญโญอนุสโยติกถา (๑๔๐)

สก. ภวราคะกับภวราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ภวราคานุสัยกับภวราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิชชานุสัยกับอวิชชาปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชากับอวิชชาปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิชชากับอวิชชาปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชานุสัยกับอวิชชาปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๐๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยกับปริยุฏฐานกิเลสเป็นคนละอย่างกัน” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีอนุสัย” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ท่านยอมรับว่า “ถูกปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุม” ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น อนุสัยกับปริยุฏฐานกิเลสจึงเป็นคนละอย่างกัน ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีราคะ” ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๔๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๖. ปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา (๑๔๑)

ปร. ท่านยอมรับว่า “ถูกปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุม” ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น ราคะกับปริยุฏฐานกิเลสจึงเป็นคนละอย่างกัน
อัญโญอนุสโยติกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๔๗-๗๕๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=158              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=16186&Z=16261                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1570              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1570&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6209              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1570&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6209                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv14.5/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :