ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๓. อัทธากถา (๑๔๗)
ว่าด้วยกาล
[๗๒๐] สก. กาลเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. เป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๙๖-๙๘/๕๗-๕๙ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘) @ เพราะมีความเห็นว่า กาลเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ (ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาที @ที่เห็นว่า กาลไม่จัดเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ เป็นเพียงคำบัญญัติเรียก แต่คำบัญญัติว่า “รูป” @เป็นต้นจัดเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๐-๗๒๑/๒๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๓. อัทธากถา (๑๔๗)

สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กาลที่เป็นอดีตเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กาลที่เป็นอนาคตเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กาลที่เป็นปัจจุบันเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๓. อัทธากถา (๑๔๗)

สก. กาลที่เป็นอดีตมี ๕ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นกาลที่เป็น อนาคตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กาลที่เป็นอนาคตมี ๕ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็น ปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กาลที่เป็นปัจจุบันมี ๕ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต ขันธ์ ๕ ที่เป็นอนาคต เป็นกาลที่เป็นอนาคต ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กาลมี ๑๕ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต อายตนะ ๑๒ ที่เป็น อนาคต เป็นกาลที่เป็นอนาคต อายตนะ ๑๒ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็น ปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กาลมี ๓๖ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๓. อัทธากถา (๑๔๗)

สก. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอนาคต เป็นกาลที่เป็นอนาคต ธาตุ ๑๘ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กาลมี ๕๔ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอนาคต เป็นกาลที่เป็นอนาคต อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กาลมี ๖๖ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กาลเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ๑- ๓ ประการนี้ กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า อดีตกาลได้มีมาแล้วอย่างนี้ ๒. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า อนาคตกาลจักมีอย่างนี้ ๓. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า ปัจจุบันกาลมีอยู่ อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ กถาวัตถุ หมายถึงเรื่องที่นำมาอภิปรายหรือเสวนากัน (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๘/๒๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๔. ขณลยมุหุตตกถา (๑๔๘)

ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ ประการนี้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น กาลจึงเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
อัทธากถา จบ
๔. ขณลยมุหุตตกถา (๑๔๘)
ว่าด้วยขณะ ลยะ และมุหุตตะ
[๗๒๒] สก. ขณะหนึ่ง๒- เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว ลยะหนึ่งเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว มุหุตตะหนึ่งก็เป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม ปร.๓- ใช่ สก. เป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มุหุตตะหนึ่งเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ ประการนี้ กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๘/๒๗๐ @ ขณะหนึ่ง หมายถึงชั่วระยะเวลาดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง, ๑๐ ขณะเป็น ๑ ลยะ, ๑๐ ลยะเป็น ๑ ขณลยะ, @๑๐ ขณลยะเป็น ๑ มุหุตตะ, ๑๐ มุหุตตะ เป็น ๑ ขณมุหุตตะ (อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๖๖-๖๗) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๗๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๖๖-๗๗๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=165              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=16589&Z=16667                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1615              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1615&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6292              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1615&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6292                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv15.3/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :