ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๑๕.-๑๘. ญาตกานุโยคาทิ๑-
ว่าด้วยการซักถามถึงญาติ เป็นต้น
[๑๙๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. มารดามีอยู่มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากมารดามีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” [๑๙๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บิดามีอยู่ ฯลฯ พี่ชายน้องชายมีอยู่ ฯลฯ พี่สาวน้องสาวมีอยู่ ฯลฯ กษัตริย์มีอยู่ ฯลฯ พราหมณ์มีอยู่ ฯลฯ แพศย์มีอยู่ ฯลฯ ศูทรมีอยู่ ฯลฯ คฤหัสถ์มีอยู่ ฯลฯ บรรพชิตมีอยู่ ฯลฯ เทวดามีอยู่ ฯลฯ มนุษย์มีอยู่มิใช่หรือ สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ มี ๔ ตอน คือ (๑) ญาตกานุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงญาติ (๒) ชาติอนุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงการเกิด @(๓) ปฏิปัตติอนุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงข้อปฏิบัติ (๔) อุปปัตติอนุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงการอุบัติ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๗/๑๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ปร. หากมนุษย์มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” [๑๙๙] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “มารดามีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่ง รู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นมารดาแล้วมาเป็นมารดามีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบิดา ฯลฯ ไม่เคยเป็นพี่ชายน้องชาย ฯลฯ ไม่เคยเป็นพี่สาวน้องสาว ฯลฯ ไม่เคยเป็นกษัตริย์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นพราหมณ์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นแพศย์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นศูทร ฯลฯ ไม่เคยเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ไม่เคย เป็นบรรพชิต ฯลฯ ไม่เคยเป็นเทวดา ฯลฯ ไม่เคยเป็นมนุษย์แล้วมาเป็นมนุษย์มี อยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๐๐] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “มารดามีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้ บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนเคยเป็นมารดาแล้วไม่เป็นมารดามีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบิดา ฯลฯ เคยเป็นพี่ชายน้องชาย ฯลฯ เคยเป็น พี่สาวน้องสาว ฯลฯ เคยเป็นกษัตริย์ ฯลฯ เคยเป็นพราหมณ์ ฯลฯ เคยเป็นแพศย์ ฯลฯ เคยเป็นศูทร ฯลฯ เคยเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ เคยเป็นบรรพชิต ฯลฯ เคยเป็น เทวดา ฯลฯ เคยเป็นมนุษย์แล้วไม่เป็นมนุษย์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาตกานุโยคาทิ จบ
๑๙. ปฏิเวธานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงผู้บรรลุธรรม (พระอริยะ)
[๒๐๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” [๒๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นพระอนาคามีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์มีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นกายสักขีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ทิฏฐิปัตตะมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี๑- มีอยู่ มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบุคคลผู้เป็นสัทธานุสารีมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” [๒๐๓] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นพระโสดาบันแล้วมาเป็นพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๐๔] สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นพระสกทาคามี ฯลฯ ไม่เคยเป็นพระ อนาคามี ฯลฯ ไม่เคยเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นอุภโตภาควิมุต ฯลฯ ไม่เคยเป็นปัญญาวิมุต ฯลฯ ไม่เคยเป็นกายสักขี ฯลฯ ไม่เคยเป็นทิฏฐิปัตตะ ฯลฯ ไม่เคยเป็นสัทธาวิมุต ฯลฯ ไม่เคยเป็นธัมมานุสารี ฯลฯ ไม่เคยเป็นสัทธานุสารี แล้วเป็นสัทธานุสารีมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๐๕] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ คำแปลและความหมายของคำเหล่านี้ ดูใน อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๔-๓๐/๑๕๓-๑๕๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. บุคคลบางคนเคยเป็นพระโสดาบันแล้วไม่เป็นพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลบางคนเคยเป็นพระสกทาคามี ฯลฯ เคยเป็นพระอนาคามีแล้ว ไม่เป็นพระอนาคามีมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิเวธานุโยคะ จบ
๒๐. สังฆานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงสงฆ์
[๒๐๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล มีอยู่มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคลมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” [๒๐๗] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคลปรากฏได้ เพราะพระพุทธเจ้า ปรากฏใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลปรากฏได้ เพราะพระพุทธเจ้าปรากฏใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลปรากฏได้ เพราะพระพุทธเจ้าปรากฏใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว บุคคลก็ขาดสูญไป บุคคลไม่มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สังฆานุโยคะ จบ
๒๑. สัจฉิกัตถสภาคานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงสภาวะแห่งสัจฉิกัฏฐะ
[๒๐๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(สังขตะ)ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(อสังขตะ)ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๐๙] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ก็มิใช่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วนที่ ๓ อีกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๑๐] สก. นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วน ที่ ๓ อีกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๒ ประการนี้ ธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ธาตุที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (๒) ธาตุที่ไม่ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง นี้คือ ธาตุ ๒ ประการ”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วนที่ ๓ อีก” [๒๑๑] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ก็มิใช่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งที่ไม่ถูกปัจจัย และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๑๒] สก. ขันธ์เป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิ ใช่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ขันธ์ นิพพานและบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๒/๓๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๒๑๓] สก. รูปเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูป นิพพาน และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัย ปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัย ปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณ นิพพาน และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๑๔] สก. บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่ มีความแปรผันปรากฏใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะ แห่งสังขตธรรม ๓ ประการนี้ คือ (๑) ความเกิดขึ้นปรากฏ (๒) ความดับสลาย ปรากฏ (๓) เมื่อดำรงอยู่ ความแปรผันปรากฏ”๑- บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่มีความแปรผันปรากฏ ดังนั้น บุคคลจึงเป็น สภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๗/๒๐๘-๒๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๒๑๕] สก. บุคคลไม่มีความเกิดขึ้นปรากฏ ไม่มีความดับสลายปรากฏ เมื่อ ดำรงอยู่ ไม่มีความแปรผันปรากฏใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ แห่งอสังขตธรรม ๓ ประการนี้ คือ (๑) ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ (๒) ความดับ สลายไม่ปรากฏ (๓) เมื่อดำรงอยู่ ความแปรผันไม่ปรากฏ”๑- บุคคลไม่มีความเกิด ขึ้นปรากฏ ไม่มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่ ไม่มีความแปรผันปรากฏ ดังนั้น บุคคลจึงเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง [๒๑๖] สก. บุคคลปรินิพพานแล้วมีอยู่ในนิพพานหรือไม่มีอยู่ในนิพพาน ปร. มีอยู่ในนิพพาน๒- สก. บุคคลปรินิพพานแล้วเป็นผู้เที่ยงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓- ฯลฯ สก. บุคคลปรินิพพานแล้วมีอยู่ในนิพพานหรือไม่มีอยู่ในนิพพาน ปร. ไม่มีอยู่ในนิพพาน สก. บุคคลปรินิพพานแล้วเป็นผู้ขาดสูญใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๔- [๒๑๗] สก. บุคคลอาศัยอะไรดำรงอยู่ ปร. บุคคลอาศัยภพดำรงอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๘/๒๐๙ @ เพราะมีความเห็นว่า นิพพานเป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งบุคคลหลังจากปรินิพพานแล้วจะไปอยู่ในที่นั้น @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๖/๑๕๗) @ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๖/๑๕๗) @ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๖/๑๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๗-๙๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=19              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=1762&Z=1936                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=166              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=166&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3501              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=166&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3501                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.1/en/aung-rhysdavids#pts-cs1.1.219



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :