ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]

๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)

๔. ปัตติกถา (๑๘๙)
ว่าด้วยการได้
[๘๓๗] สก. การได้๑- เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. การได้เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่ระลึก เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การได้เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๓๘] สก. การได้จีวรเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การได้เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ การได้ แปลมาจากศัพท์ว่า “ปตฺติ” อรรถกถา แก้เป็น ปฏิลาโภ ซึ่งหมายถึงการบรรลุก็ได้ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๗-๘๔๐/๓๐๖) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๗-๘๔๐/๓๐๖) @ เพราะมีความเห็นว่า การบรรลุฌาน มรรค ผล และการได้ทรัพย์สินจัดเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๗-๘๔๐/๓๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]

๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)

สก. การได้จีวรเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การได้บิณฑบาต ฯลฯ การได้เสนาสนะ ฯลฯ การได้คิลานปัจจัย- เภสัชบริขารเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การได้เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]

๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)

สก. การได้จีวรเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ การได้บิณฑบาต ฯลฯ การได้เสนาสนะ ฯลฯ การได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ต้านทานมี ๕ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๕ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๓๙] สก. การได้ปฐมฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ (ควรให้พิสดารทั้งหมดโดยนัยที่กล่าวมาแล้ว) การได้ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนะ ... วิญญาณัญจายตนะ ... อากิญจัญญายตนะ ... เนวสัญญานาสัญญายตนะ ... โสดาปัตติมรรค ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิมรรค ... สกทาคามิผล ... อนาคามิมรรค ... อนาคามิผล ... อรหัตตมรรค ... การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การได้เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็น สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]

๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)

สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การได้โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง การได้ โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ การได้อรหัตตมรรคเป็น สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๙ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๙ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ต้านทานมี ๙ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๙ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๔๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การได้เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. การได้เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น การได้จึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ปัตติกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๗๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๗๔-๘๗๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=207              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=18791&Z=18876                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1781              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1781&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6889              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1781&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6889                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv19.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :