ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค]

๘. อัพยากตกถา (๒๑๕)

๘. อัพยากตกถา (๒๑๕)
ว่าด้วยอัพยากตจิต
[๙๐๑] สก. จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. บุคคลอาจฆ่าสัตว์ได้ด้วยความฝันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากบุคคลอาจฆ่าสัตว์ได้ด้วยความฝัน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต” สก. บุคคลอาจลักทรัพย์ได้ด้วยความฝัน ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด ฯลฯ พูดคำหยาบ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ ตัดช่องย่องเบา ฯลฯ ปล้นสะดม ฯลฯ ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ผิดภรรยาของผู้อื่น ฯลฯ ปล้นชาวบ้าน ฯลฯ ปล้นชาวนิคม ฯลฯ เสพเมถุนธรรมได้ด้วยความฝัน ฯลฯ อสุจิของผู้ฝันอาจเคลื่อนได้ ฯลฯ อาจให้ทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของขบเคี้ยว ฯลฯ ของกิน ฯลฯ น้ำดื่ม ฯลฯ อาจไหว้พระเจดีย์ ฯลฯ อาจยกดอกไม้ ฯลฯ ของหอม ฯลฯ เครื่องลูบไล้ขึ้นไว้บนพระเจดีย์ ฯลฯ อาจทำประทักษิณพระเจดีย์ได้ด้วยความฝัน ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๑-๙๐๒/๓๒๑) @ เพราะมีความเห็นว่า จิตของบุคคลผู้ฝันเป็นอัพยากฤต โดยอ้างพระสูตรว่า เจตนาของบุคคลผู้ฝัน @เป็นอัพโพหาริก (ไม่สามารถจะเรียกว่าเป็นกุศลหรืออกุศล) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า จิตของ @บุคคลผู้ฝันอาจจะเป็นได้ทั้งกุศล อกุศล และอัพยากฤต แต่ไม่สามารถที่จะให้ผลได้ ฉะนั้น จึงจัดเป็น @อัพโพหาริก แต่ไม่เป็นอัพยากฤต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๑-๙๐๒/๓๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๓๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค]

๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)

สก. หากบุคคลอาจทำประทักษิณพระเจดีย์ได้ด้วยความฝัน ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต” [๙๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. จิตของบุคคลผู้ฝัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอัพโพหาริก” มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากจิตของบุคคลผู้ฝัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอัพโพหาริก” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
อัพยากตกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๙๓๐-๙๓๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=231              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=19934&Z=19960                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1869              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1869&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7235              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1869&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7235                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv22.6/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :