ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)

๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
ว่าด้วยจิตกำลังหลุดพ้น
[๓๖๖] สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลเป็นพระโสดาบันส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๓/๑๙๒) @ เพราะมีความเห็นว่า การหลุดพ้นของจิตมี ๒ ช่วงตามลำดับ ช่วงที่ ๑ หลุดพ้นด้วยวิกขัมภนวิมุตติในฌาน @ช่วงที่ ๒ หลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุตติในขณะแห่งมรรค ช่วงที่ ๑ ละกิเลสได้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือละ @ได้ในช่วงที่ ๒ คำว่า จิตที่หลุดพ้นแล้ว หมายถึงจิตที่หลุดพ้นในช่วงที่ ๑ ส่วนคำว่า กำลังหลุดพ้น หมายถึง @จิตในช่วงที่ ๒ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๖/๑๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)

สก. บุคคลเป็นพระสกทาคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลเป็นพระอนาคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี เป็น ผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ... ผู้ อุปหัจจปรินิพพายี ... ผู้อสังขารปรินิพพายี ... ผู้สสังขารปรินิพพายี ... ผู้ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโต- อกนิฏฐคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จิตหลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลเป็นพระอรหันต์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ เป็น ผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง อีก ส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง ธรรมที่ควรทำให้แจ้งส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จิตหลุดพ้นแล้วในขณะเกิด ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นในขณะดับใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๕๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)

[๓๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้น” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เมื่อบุคคลนั้นรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง จากภวาสวะบ้าง จากอวิชชาสวะบ้าง”๑- มีอยู่จริง มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น จิตที่หลุดพ้นแล้วจึงชื่อว่ากำลังหลุดพ้น สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะ แก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้น อาสวะ”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้น” สก. จิตที่กำลังหลุดพ้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จิตที่กำลังกำหนัด ขัดเคือง หลง เศร้าหมองมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๒๑/๒๕๔, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๑/๒๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๖๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)

สก. จิตที่กำหนัดและไม่กำหนัด ขัดเคืองและไม่ขัดเคือง หลงและไม่หลง ขาดและไม่ขาด แตกดับและไม่แตกดับ ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากจิตที่กำหนัดและไม่กำหนัด ขัดเคืองและไม่ขัดเคือง หลงและ ไม่หลง ขาดและไม่ขาด แตกดับและไม่แตกดับ ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัย ปรุงแต่งมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่กำลังหลุดพ้นมีอยู่”
วิมุจจมานกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๕๘-๓๖๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=7870&Z=7945                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=754              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=754&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4338              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=754&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4338                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :