ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๘. อนาคตญาณกถา (๕๐)
ว่าด้วยอนาคตญาณ๑-
[๔๓๙] สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. อนาคตญาณนั้นรู้อนาคตได้โดยมูล โดยเหตุ โดยแหล่งกำเนิด โดยต้น กำเนิด โดยบ่อเกิด โดยสมุฏฐาน โดยเหตุเครื่องหล่อเลี้ยง โดยอารมณ์ โดยปัจจัย โดยสมุทัยใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ อนาคตญาณ หมายถึงญาณที่หยั่งรู้อนาคต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๙/๒๑๓) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๙/๒๑๓) @ เพราะมีความเห็นว่า อนาคตญาณสามารถรู้อนาคตทั้งใกล้ตัว(อนนฺตร) และไกลตัว(อนฺตร)ได้ทั้งหมด ซึ่ง @ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อนาคตญาณสามารถรู้อนาคตได้เฉพาะไกลตัวเท่านั้น คำว่า ใกล้ตัว @หมายถึงไม่มีช่องว่างระหว่างขณะจิตหนึ่งกับอีกขณะจิตหนึ่ง เช่น โคตรภูจิตกับมัคคจิต ส่วนคำว่า ไกลตัว @หมายถึงช่วงขณะจิตที่มีภวังคจิตหรือวิถีจิตอื่นคั่น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๙/๒๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๘. อนาคตญาณกถา (๕๐)

สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อนาคตญาณนั้นรู้ความเป็นเหตุปัจจัย ความเป็นอารัมมณปัจจัย ความเป็นอธิปติปัจจัย ความเป็นอนันตรปัจจัย ความเป็นสมนันตรปัจจัย ที่เป็น อนาคตได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีญาณในโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๔๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตญาณมีอยู่” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ อันตราย ๓ อย่าง คือ (๑) อันตรายจากไฟ (๒) อันตรายจากน้ำ (๓) อันตรายจากการแตกความสามัคคี จักมีแก่กรุงปาฏลีบุตร”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น อนาคตญาณจึงมีอยู่
อนาคตญาณกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๕๒/๙๖, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๗๖/๓๓๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๖๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๖๗-๔๖๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=70              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=10263&Z=10297                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1069              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1069&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4798              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1069&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4798                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv5.8/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :