ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๖. อิโตทินนกถา (๖๘)

๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
ว่าด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้
[๔๘๘] สก. เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้ จากโลกนี้ได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ในเปตโลกนั้น เปรตทั้งหลายใช้สอยจีวรที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในเปตโลกนั้น เปรตทั้งหลายบริโภคบิณฑบาต เสนาสนะ คิลาน- ปัจจัยเภสัชบริขาร ของขบเคี้ยว ของกิน ของดื่ม ที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลหนึ่งกระทำให้อีกบุคคลหนึ่ง สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคล หนึ่งกระทำ อีกบุคคลหนึ่งเสวยใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๘๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วย ทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” ใช่ไหม สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๘๘/๒๒๖) @ เพราะมีความเห็นว่า เปรตทั้งหลายสามารถรับสิ่งของที่บุคคลให้จากโลกนี้ได้โดยตรง @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๘๘/๒๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๑๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๖. อิโตทินนกถา (๖๘)

ปร. เปรตทั้งหลายอนุโมทนาทานที่เขาอุทิศให้เพื่อประโยชน์แก่ตน ทำจิตให้ เลื่อมใส ให้เกิดปีติ ได้โสมนัสมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากเปรตทั้งหลายอนุโมทนาทานที่เขาอุทิศให้เพื่อประโยชน์แก่ตน ทำจิต ให้เลื่อมใส ให้เกิดปีติ ได้โสมนัส ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เปรตทั้งหลาย ดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” [๔๙๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้นด้วยทาน ที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ฝนที่ตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่พวกเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่พวกเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน ในเปตวิสัย๑- นั้น ไม่มีกสิกรรม โครักขกรรม พาณิชกรรมเช่นนั้น(และ)การแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยเงิน ผู้ที่ตายไปเกิดเป็นเปรตในเปตวิสัยนั้น ดำรงชีพด้วยผลทานที่พวกญาติอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น เปรตทั้งหลายจึงดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศ ให้จากโลกนี้ได้ @เชิงอรรถ : @ เปตวิสัย หมายถึงภูมิหรือกำเนิดแห่งเปรต (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๘๘) @ ดูเทียบ ขุ.ขุ. (แปล) ๒๕/๗-๘/๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๑๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๖. อิโตทินนกถา (๖๘)

[๔๙๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วย ทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเมื่อ เห็นฐานะ ๕ ประการนี้ จึงปรารถนาบุตรผู้เกิดในตระกูล ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงเรา ๒. บุตรจักช่วยทำกิจของเรา ๓. วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน ๔. บุตรจักปฏิบัติตนให้สมควรรับทรัพย์มรดกไว้ ๕. เมื่อเราทั้งสองตายไป บุตรจักทำบุญอุทิศให้ ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แล จึงปรารถนาบุตร ผู้เกิดในตระกูล มารดาบิดาผู้ฉลาด เมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการจึงปรารถนาบุตร ด้วยหวังว่า บุตรที่เราเลี้ยงแล้วจักเลี้ยงเรา จักช่วยทำกิจของเรา วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน จักปฏิบัติตนให้สมควรแก่การรับทรัพย์มรดก และเมื่อเราทั้งสองตายแล้วจักทำบุญอุทิศให้ มารดาบิดาผู้ฉลาด เมื่อเห็นฐานะเหล่านี้ จึงปรารถนาบุตร เพราะฉะนั้น บุตรผู้เป็นสัตบุรุษ ผู้สงบ เป็นกตัญญูกตเวทีบุคคล เมื่อระลึกถึงคุณท่านที่ทำไว้ต่อเราก่อน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)

จึงเลี้ยงมารดาบิดา ช่วยทำกิจของท่าน เชื่อฟังโอวาท ตอบสนองพระคุณท่าน ดำรงวงศ์ตระกูลสมกับที่ท่านเป็นบุพการี บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นที่สรรเสริญ”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น เปรตทั้งหลายชื่อว่าย่อมดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่ บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้
อิโตทินนกถา จบ
๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
ว่าด้วยแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก
[๔๙๒] สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. แผ่นดินมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วย สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้ อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๙/๖๐-๖๑ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๒/๒๒๗) @ เพราะมีความเห็นว่า แผ่นดิน มหาสมุทร เป็นต้น เป็นผลแห่งกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๒/๒๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๒๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๑๘-๕๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=88              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=11347&Z=11418                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1153              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1153&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5093              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1153&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5093                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv7.6/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :