ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)

๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
ว่าด้วยอายตนะในรูปธาตุ
[๕๑๙] สก. อัตภาพประกอบด้วยอายตนะ ๖ มีอยู่ในรูปธาตุใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีคันธายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีรสายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีคันธายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีฆานายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๙/๒๓๗) @ เพราะมีความเห็นว่า รูปพรหมมีอายตนะครบทั้ง ๖ มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาที @ที่เห็นว่า รูปพรหมมีอายตนะเพียง ๓ เท่านั้น คือ (๑) จักขายตนะ (๒) โสตายตนะ (๓) มนายตนะ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๙/๒๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)

สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีรสายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีชิวหายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีกายายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๒๐] สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ โผฏฐัพพายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ ธัมมายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะและธัมมายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๕๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)

สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ โผฏฐัพพายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะ แต่ไม่มีธัมมายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ แต่ไม่มีรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะ แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะ แต่ไม่มีธัมมายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๒๑] สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ บุคคลเห็นรูปนั้น ทางตาใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๖๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)

สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ บุคคลดมกลิ่นนั้นทางจมูก นั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ บุคคลเห็นรูปนั้นทางตาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ บุคคลลิ้มรสนั้นทางลิ้น ฯลฯ มีกายายตนะและโผฏฐัพพายตนะ บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ ธัมมายตนะ บุคคลรู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ บุคคลดมกลิ่นนั้นทางจมูก ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะและธัมมายตนะ บุคคลรู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ โผฏฐัพพายตนะ บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ แต่บุคคลไม่ได้ดมกลิ่นนั้น ทางจมูกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ แต่บุคคลไม่เห็นรูปนั้นทางตา ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)

สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ แต่บุคคลไม่ได้ดมกลิ่นนั้น ทางจมูกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ ธัมมายตนะ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ โผฏฐัพพายตนะ แต่บุคคลไม่ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ แต่บุคคลไม่เห็นรูปนั้นทางตา ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะและโผฏฐัพพายตนะ แต่บุคคลไม่ถูกต้อง โผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ ธัมมายตนะ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๒๒] สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ บุคคลดมกลิ่นนั้น ทางจมูกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีกลิ่นที่เกิดจากราก เกิดจากแก่น เกิดจากเปลือก เกิดจากใบ เกิดจากดอก เกิดจากผล มีกลิ่นคาว กลิ่นฉุน กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)

สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ บุคคลลิ้มรสนั้นทางลิ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีรสที่เกิดจากราก เกิดจากลำต้น เกิดจากเปลือก เกิด จากใบ เกิดจากดอก เกิดจากผล มีรสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม รสพร่า รสหวานอมเปรี้ยว รสฝาด รสกลมกล่อม รสไม่กลมกล่อมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะและโผฏฐัพพายตนะ บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะ นั้นได้ด้วยกายนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในรูปธาตุนั้น มีสัมผัสที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ สบาย ไม่สบาย หนัก เบาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อัตภาพที่ประกอบด้วยอายตนะ ๖ มีอยู่ใน รูปธาตุนั้น” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต และกายนิมิตมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต และกายนิมิต ดังนั้น ท่าน จึงควรยอมรับว่า “อัตภาพที่ประกอบด้วยอายตนะ ๖ มีอยู่ในรูปธาตุ”
รูปธาตุยาอายตนกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๖๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๕๘-๕๖๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=99              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=12200&Z=12341                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1221              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1221&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5340              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1221&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5340                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv8.7/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :