ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา
ว่าด้วยสมาคมของพระเจ้าพิมพิสาร
เรื่องสวนตาลหนุ่ม
[๕๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะตามพระ อัธยาศัยแล้วได้เสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ๑,๐๐๐ รูป ล้วนเคยเป็นชฎิลทั้งนั้น เสด็จจาริกไปตามลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ต้นไทรต้นหนึ่งชื่อว่าสุประดิษฐเจดีย์ในสวนตาลหนุ่ม เขตกรุงราชคฤห์นั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ทรงสดับข่าวว่า “ท่านพระสมณโคดม เป็น ศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ควงต้นไทรต้นหนึ่งชื่อสุประดิษฐเจดีย์ในสวนตาลหนุ่ม เขตกรุงราชคฤห์ ท่าน พระโคดมผู้เจริญนั้น มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑- @เชิงอรรถ : @ ดูพระวินัยปิฎกมหาวิภังค์แปล เล่ม ๑ ข้อ ๑ หน้า ๑-๒ (เชิงอรรถ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๖๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา

พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงประกาศให้ ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี ความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริบูรณ์บริสุทธิ์ ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง
เรื่องพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ทรงแวดล้อมด้วยพราหมณ์คหบดี ชาวมคธ ๑๒ นหุต๑- เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ฝ่ายพราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุตเหล่านั้น บางพวกถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็ได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มี พระภาคพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันและกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็ประคองอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็ประกาศนามและโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็นั่งนิ่ง ณ ที่สมควร ขณะนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุตเหล่านั้นได้มีความคิด ดังนี้ว่า “พระมหาสมณะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระอุรุเวลกัสสปะ หรือพระ อุรุเวลกัสสปะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระมหาสมณะหนอ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความรำพึงในใจของพราหมณ์คหบดี ชาวมคธ ๑๒ นหุตเหล่านั้นด้วยพระทัย จึงตรัสเชื้อเชิญท่านพระอุรุเวลกัสสปะ ด้วยคาถาว่า “ท่านอยู่อุรุเวลามานาน เคยเป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฎิลผู้ผอม๒- ท่านเห็นอุบายอะไร จึงได้ละไฟเสีย @เชิงอรรถ : @ นหุต เป็นมาตรานับ ๑ นหุต เท่ากับ ๑๐,๐๐๐ คน ๑๒ นหุต เท่ากับ ๑๒๐,๐๐๐ คน @ หมายถึงเป็นผู้อบรมสั่งสอนหมู่ดาบสที่ได้นามว่า “ผู้ผอม” เนื่องจากเป็นผู้ที่ร่างกายผอม @เพราะบำเพ็ญตนเป็นดาบส (วิ.อ. ๓/๕๕/๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๖๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา

กัสสปะ เราถามข้อความนี้กะท่าน ไฉนท่านจึงละการบูชาไฟของท่านเสียเล่า” พระอุรุเวลกัสสปะทูลตอบว่า “ยัญทั้งหลายกล่าวสรรเสริญกามทั้งหลาย คือ รูป เสียง รสและสตรีทั้งหลาย ข้าพระองค์ได้รู้ในอุปธิ๑- ว่า นั่นเป็นมลทิน เพราะฉะนั้น จึงมิได้ยินดีในการเซ่นสรวง มิได้ยินดีในการบูชา” “กัสสปะ ใจของท่านไม่ยินดีในรูป เสียงและรสเหล่านั้นแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจของท่านยินดีในสิ่งไรเล่า ในเทวโลกหรือมนุษยโลก กัสสปะ ท่านจงบอกสิ่งนั้นแก่เรา” “ข้าพระองค์ได้เห็นบทอันสงบ๒- ไม่มีอุปธิ ไม่มีกังวล ไม่ข้องอยู่ในกามภพ มีอันไม่แปรเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่ธรรมที่ผู้อื่นจะพึงแนะให้ได้ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมิได้ยินดีในการเซ่นสรวงมิได้ยินดีใน การบูชา” [๕๖] ลำดับนั้น ท่านพระอุรุเวลกัสสปะลุกขึ้นจากอาสนะห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ซบศีรษะแทบพระบาทพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก” ขณะนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธทั้ง ๑๒ นหุตเหล่านั้นก็ทราบว่า “พระ อุรุเวลกัสสปะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระมหาสมณะ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความรำพึงในใจของพราหมณ์คหบดีชาว มคธ ๑๒ นหุตเหล่านั้นด้วยพระทัย จึงได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ @เชิงอรรถ : @ อุปธิ ในที่นี้หมายถึงขันธุปธิ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์อันมีขันธ์เป็นมูล (สารตฺถ.ฎีกา ๓/๕๕/๒๖๐) @ บทอันสงบ ในที่นี้หมายถึงบทคือพระนิพพานที่มีสภาพสงบ ที่ชื่อว่า ไม่แปรเป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีชาติ @ชรา และมรณะ (วิ.อ. ๓/๕๕/๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๖๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา

๑. ทานกถา ๒. สีลกถา ๓. สัคคกถา ๔. กามาทีนวกถา ๕. เนกขัมมานิสังสกถา เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบว่าพวกเขามีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทินได้เกิดแก่พราหมณ์ คหบดีชาวมคธ ๑๑ นหุต ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ณ ที่นั่งนั้นแลว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี พราหมณ์คหบดีอีก ๑ นหุต ได้แสดงตนเป็นอุบาสก
เรื่องความปรารถนา ๕ ประการ ของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
[๕๗] ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลพระผู้มี พระภาคว่า “เมื่อก่อนหม่อมฉันยังเป็นพระกุมาร ได้มีความปรารถนา ๕ ประการ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความปรารถนา ๕ ประการเหล่านั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว คือ ๑. เมื่อก่อนหม่อมฉันยังเป็นพระกุมารได้มีความปรารถนาว่า ไฉนหนอ พสกนิกรพึงอภิเษกเราในราชสมบัติ นี้เป็นความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๑ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความปรารถนานั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว ๒. ขอพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพึงเสด็จมาสู่แว่นแคว้นของหม่อมฉันนั้น นี้เป็นความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๒ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความ ปรารถนานั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๖๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา

๓. ขอหม่อมฉันพึงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น นี้เป็น ความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๓ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความปรารถนานั้น ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว ๔. ขอพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพึงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน นี้เป็น ความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๔ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความปรารถนานั้น ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว ๕. ขอหม่อมฉันพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น นี้เป็น ความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๕ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความปรารถนานั้น ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว เมื่อก่อนหม่อมฉันยังเป็นพระกุมาร ได้มีความปรารถนา ๕ ประการเหล่านี้ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความปรารถนา ๕ ประการเหล่านั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ พระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือ ตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูป พระองค์ผู้เจริญหม่อมฉันนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต และ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุสงฆ์ทรงรับคำอาราธนาของหม่อมฉันเพื่อเจริญ กุศลในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพแล้ว ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐทรงทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับ นิมนต์แล้ว จึงเสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงทำ ประทักษิณแล้วเสด็จกลับ ผ่านราตรีนั้นไป รับสั่งให้ตระเตรียมของเคี้ยวของฉัน อันประณีตไว้ แล้วให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตตกาลว่า “ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๖๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา

[๕๘] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้วถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ราว ๑,๐๐๐ รูป ล้วนเคย เป็นชฎิลทั้งนั้น ขณะนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงเนรมิตเพศเป็นมาณพเสด็จพระดำเนินนำอยู่ เบื้องหน้าภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทรงขับคาถาเหล่านี้ไปพลางว่า
คาถาสดุดีพระพุทธเจ้า
พระผู้มีพระภาคทรงมีพระฉวีวรรณเสมอด้วยสีลิ่มทองสิงคี ทรงฝึกอินทรีย์แล้วทรงพ้นวิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยเหล่าภิกษุที่เคยเป็นชฎิล ผู้ฝึกอินทรีย์แล้ว พ้นวิเศษแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงมีพระฉวีวรรณเสมอด้วยสีลิ่มทองสิงคี ทรงพ้นแล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยเหล่าภิกษุที่เคยเป็นชฎิลผู้พ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงมีพระฉวีวรรณเสมอด้วยสีลิ่มทองสิงคี ทรงข้ามแล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยเหล่าภิกษุที่เคยเป็นชฎิลผู้ข้ามแล้ว พ้นวิเศษแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงมีพระฉวีวรรณเสมอด้วยสีลิ่มทองสิงคี ทรงสงบแล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยเหล่าภิกษุที่เคยเป็นชฎิลผู้สงบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงอยู่จบธรรม ๑๐ ประการ ทรงมีทสพลญาณ ทรงทราบธรรม ๑๐ ประการ และทรงประกอบ ด้วยธรรม ๑๐ ประการ๑- มีภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ @เชิงอรรถ : @ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ คือ ประกอบด้วยอเสขธรรม ๑๐ (วิ.อ. ๓/๕๘/๒๘) ได้แก่ @สัมมัตตะ ๑๐ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๕๘/๒๗๑) ดู ที.ปา ๑๑/๓๔๘/๒๔๐, ๓๖๐/๒๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๗๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา

คนทั้งหลายได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพแล้วพากันกล่าวว่า “มาณพนี้มีรูปงามหนอ มาณพนี้น่าดูหนอ มาณพนี้น่าชมหนอ มาณพนี้เป็นผู้รับใช้ของใครหนอ” เมื่อคนทั้งหลายกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสตอบคนเหล่านั้น เป็นคาถาว่า “พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ทรงเป็นนักปราชญ์ ทรงฝึกในอินทรีย์ทั้งปวง เป็นผู้ผุดผ่อง ไม่มีผู้ใดเปรียบ ทรงไกลจากกิเลส เสด็จไปดีในโลก ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”
เรื่องทรงรับพระเวฬุวันเป็นวัดแห่งแรก
[๕๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธรัฐ ครั้นถึงแล้วจึงประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ทรงนำของเคี้ยวของฉันอันประณีต ประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยพระองค์เอง กระทั่งพระผู้มีพระภาค เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ละพระหัตถ์จากบาตร จึงประทับนั่ง ณ ที่สมควร ท้าวเธอทรงดำริว่า “พระผู้มีพระภาคควรประทับที่ไหนหนอ ที่แห่งใดอยู่ ไม่ไกลและไม่ใกล้จากหมู่บ้านนัก คมนาคมสะดวก ผู้ประสงค์พึงเข้าเฝ้าได้ กลางวัน ไม่พลุกพล่าน กลางคืนสงัด เสียงไม่อึกทึก เว้นจากคนสัญจรไปมา เป็นที่กระทำ กรรมลับของหมู่มนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น” จึงมีพระราชดำริว่า “อุทยานเวฬุวัน ของเรานี้ไม่ไกลและไม่ใกล้จากหมู่บ้านนัก คมนาคมสะดวก ผู้ประสงค์พึงเข้าเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนสงัด เสียงไม่อึกทึก เว้นจากคนสัญจรไปมา เป็นที่ กระทำกรรมลับของหมู่มนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น อย่ากระนั้นเลย เราพึงถวาย อุทยานเวฬุวันแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข” แล้วทรงจับพระสุวรรณภิงคาร หลั่งน้ำน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคด้วยพระราชดำรัสว่า “หม่อมฉันขอถวาย อุทยานเวฬุวันนั้นแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๗๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๑๔. สารีปุตตโมคคัลลานปัพพัชชากถา

พระผู้มีพระภาคทรงรับอารามแล้ว ทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ มคธรัฐเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชะโลม ใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับเสด็จกลับ ต่อมา พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนั้นเป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาราม”
พิมพิสารสมาคมกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๖๕-๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=1216&Z=1357                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=56              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=56&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=575              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=56&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=575                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic22 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:22.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.21.5



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :