ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
             [๘] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความดำริในพระทัยของพระผู้มีพระภาค
ด้วยใจของตน ได้มีความดำริว่า “ท่านผู้เจริญเอ๋ย โลกจะฉิบหายหนอ โลกจะ
พินาศหนอ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปเพื่อ
การขวนขวายน้อย มิได้น้อมพระทัยไปเพื่อทรงแสดงธรรม” จึงหายไปจากพรหม
โลกมาปรากฏ ณ เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เปรียบประหนึ่งบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนออก หรือคู้แขนเข้าฉะนั้น แล้วห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
คุกเข่าเบื้องขวาลงบนแผ่นดิน ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับพลางทูล
ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดแสดงธรรม ขอพระสุคตเจ้าได้
โปรดแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในตาน้อยมีอยู่๑- สัตว์เหล่านั้นย่อม
เสื่อมเพราะไม่ได้สดับธรรม เพราะจักมีผู้รู้ธรรม๒-”
             ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทูลอาราธนาดังนี้ แล้วได้ทูลเป็นประพันธคาถาต่อไปว่า
พรหมนิคมคาถา
ในกาลก่อน ธรรมที่ไม่บริสุทธิ์อันคนที่มีมลทิน๓- คิดค้นไว้ ปรากฏในแคว้นมคธ พระองค์ โปรดทรงเปิดประตูอมตธรรมนั้นเถิด ขอเหล่าสัตว์ จงฟังธรรมที่พระสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากมลทิน ได้ตรัสรู้แล้วตามลำดับ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงมีธุลีคือราคะ โทสะ โมหะ ปิดบังดวงตาปัญญาเบาบาง (วิ.อ. ๓/๘-๙/๑๔-๑๕) @ เหตุการณ์นี้เป็นที่มาแห่งพิธีอาราธนาพระสงฆ์แสดงธรรม(ดู ขุ.พุทธ. ๓๓/๑/๔๓๕) @ คนที่มีมลทิน ในที่นี้หมายถึงครูทั้ง ๖ (วิ.อ. ๓/๘/๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๕. พรหมยาจนกถา

ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาดี มีสมันตจักษุ บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดเขาศิลาล้วน พึงเห็นหมู่ชนได้ โดยรอบ ฉันใด พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว ก็ฉันนั้น โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรมแล้ว จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความโศกและถูกชาติชรา ครอบงำได้ชัดเจน ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ผู้ชนะสงคราม ผู้นำหมู่ ผู้ไม่มีหนี้ ขอพระองค์โปรดลุกขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดจงทรงแสดง ธรรม เพราะจักมีผู้รู้ธรรม [เมื่อท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับ ท้าวสหัมบดีพรหมว่า พรหม แม้เราเองก็มีความดำริว่า ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ ... จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา พรหม อนึ่งเล่า อนัจฉริยคาถาเหล่านี้ที่ ไม่เคยสดับมาก่อนได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่เราว่า บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรมที่เราได้บรรลุ ด้วยความลำบาก ... แต่เป็นสิ่งพาทวนกระแส ... พรหม เมื่อเราพิจารณาแจ้งชัดดังนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการขวนขวายน้อย หาน้อมไปเพื่อแสดงธรรมไม่ แม้ครั้งที่ ๒ ท้าวสหัมบดีพรหมก็ทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี พระภาคได้โปรดแสดงธรรม ... เพราะจักมีผู้รู้ธรรม” แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า “พรหม แม้เราเองก็มีความคิด ว่า... หาน้อมไปเพื่อแสดงธรรมไม่” แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสหัมบดีพรหมก็ทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี พระภาคได้โปรดแสดงธรรม ... เพราะจักมีผู้รู้ธรรม”] {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๕. พรหมยาจนกถา

เรื่องทรงพิจารณาเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว๑-
[๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงรับคำทูลอาราธนาของพรหม และเพราะ อาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ๒- เมื่อทรงตรวจดูโลก ด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในตาน้อย มีธุลีในตามาก๓- มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวก มักเห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี มีอุปมาเหมือนในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอบุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำอยู่เสมอน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นพ้นน้ำ ไม่แตะน้ำ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีใน ตาน้อย มีธุลีในตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการ ทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษว่าเป็น สิ่งน่ากลัวก็มี บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัวก็มี ฉันนั้น๔- @เชิงอรรถ : @ ที.ม. ๑๐/๖๙/๓๓, ม.มู. ๑๒/๒๘๓/๒๔๔, อภิ.ก. ๓๗/๘๕๖/๔๙๐, ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๓๓/๑๕๓ @ พุทธจักษุ หมายถึง (๑) อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่ง @อินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่า สัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด @มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีความพร้อม ที่จะตรัสรู้หรือไม่ (๒) อาสยานุสยญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย @ความมุ่งหมาย สภาพจิตที่นอนอยู่ (ขุ.ป. ๓๑/๑๑๑/๑๒๔, ๑๑๓/๑๒๖) @ ตา ในที่นี้หมายถึงปัญญาจักษุ (วิ.อ. ๓/๙/๑๕, ดู ขุ.ป. ๓๑/๑๑๑-๑๑๕/๑๒๔-๑๒๘) @ นอกจากบัวจมอยู่ในน้ำ บัวอยู่เสมอน้ำ บัวพ้นน้ำ ๓ เหล่านี้ อรรถกถาได้กล่าวถึงบัวเหล่าที่ ๔ @คือ บัวที่มีโรคยังไม่พ้นน้ำเป็นภักษาของปลาและเต่า ซึ่งมิได้ยกขึ้นสู่บาลี แล้วแบ่งบุคคลเป็น ๔ เหล่า @(ตามที่ปรากฏใน องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๐/๑๔๒, ๓๖/๑๔๘-๑๕๑/๑๘๖-๑๘๗) @คือ (๑) อุคฆฏิตัญญู (๒) วิปจิตัญญู (๓) เนยยะ (๔) ปทปรมะ แล้วเปรียบอุคฆฏิตัญญู เป็น @เหมือนบัวพ้นน้ำ ที่พอต้องแสงอาทิตย์แล้วก็บานในวันนี้ เปรียบวิปจิตัญญู เป็นเหมือนบัวอยู่เสมอน้ำ @ที่จะบานในวันรุ่งขึ้น เปรียบเนยยะ เป็นเหมือนบัวจมอยู่ในน้ำที่จะขึ้นมาบานในวันที่ ๓ ส่วนปทปรมะ @เปรียบเหมือนบัวที่มีโรค ยังไม่พ้นน้ำ ไม่มีโอกาสขึ้นมาบาน เป็นภักษาของปลาและเต่า @พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุอันเป็นเหมือนกออุบลเป็นต้น ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงว่า @หมู่ประชาผู้มีธุลีในตาน้อยมีประมาณเท่านี้ หมู่ประชาผู้มีธุลีในตามากมีประมาณเท่านี้ และในหมู่ประชา @ทั้ง ๒ นั้น อุคฆฏิตัญญูบุคคลมีประมาณเท่านี้ (ที.ม.อ. ๖๙/๖๔-๖๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๙/๑๙๒-๑๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๖. ปัญจวัคคิยกถา

ครั้นทรงเห็นแล้ว ได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราได้เปิดประตูอมตธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว ท่านพรหม เพราะเราสำคัญว่าจะลำบาก จึงมิได้แสดงธรรมที่ประณีตคล่องแคล่ว ในหมู่มนุษย์ ขณะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทราบว่า “พระพุทธองค์ได้ทรงประทานโอกาส เพื่อจะแสดงธรรมแล้ว” จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไป ณ ที่นั้นแล
พรหมยาจนกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๒-๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=209&Z=258                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=8              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=8&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=276              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=8&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=276                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic5.4 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:5.4.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.5.4



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :