ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
๗. สัปปัจจยทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๘] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งโดย เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
อารัมมณปัจจัย
[๙] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗. สัปปัจจยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

พระอริยะออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละได้ แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่มีปัจจัยปรุงแต่งโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิด ขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความ พรั่งพร้อมด้วยจิตที่มีปัจจัยปรุงแต่งด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็น ปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญา- นาสัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะพิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑)
อธิปติปัจจัย
[๑๐] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิดเพลิน จักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗. สัปปัจจยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งโดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะพิจารณานิพพาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย (๑)
อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๑๑] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งโดย อนันตรปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ (บทที่มีอุปนิสสยปัจจัย เป็นมูล มี ๒ วาระ) เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย (ทุกปัจจัย มีปัจจัยละ ๑ วาระเท่านั้น)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๒] เหตุปัจจัย มี ๑ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ) อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗. สัปปัจจยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๒. ปัจจนียุทธาร
[๑๓] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งโดย อารัมมณปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย (๑)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๑๔] นเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ฯลฯ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ฯลฯ โนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ โนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๑๕] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๑ วาระ นอนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๑ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘. สังขตทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอุปนิสสยปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๑ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๑๖] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๒ วาระ อนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ ฯลฯ อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๒ วาระ ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๑ วาระ ฯลฯ อวิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ สัปปัจจยทุกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๒ หน้าที่ ๑๑๑-๑๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=42&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=3151&Z=3263                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=175              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=42&item=175&items=9              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=42&item=175&items=9                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu42



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :