ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๖๖. อัชฌัตติกทุกะ ๓. ปัจจยวาร

๖๖. อัชฌัตติกทุกะ ๓. ปัจจยวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๓๓๒] สภาวธรรมที่เป็นภายในทำสภาวธรรมที่เป็นภายในให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกทำสภาวธรรมที่เป็นภายนอกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็นภายนอก ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ (ในปฏิสนธิขณะ พึงเพิ่มเป็น ๒ วาระ จนถึงมหาภูตรูปภายใน) ขันธ์ที่เป็นภายนอกทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น สภาวธรรมที่เป็นภายในทำสภาวธรรมที่เป็นภายนอกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตทำขันธ์ที่เป็นภายนอกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตทำ หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (ในปฏิสนธิขณะ พึงเพิ่มเป็น ๒ วาระ) สภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกทำสภาวธรรมที่เป็นภายนอกให้ เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็นภายนอกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตและสัมปยุตตขันธ์ ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (ในปฏิสนธิขณะ พึงเพิ่มเป็น ๒ วาระ) (๓) [๓๓๓] สภาวธรรมที่เป็นภายในทำสภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอก ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูปที่เป็น ภายในทำจิตและสัมปยุตตขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น สภาวธรรมที่เป็นภายนอกทำสภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกให้เป็น ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็น ภายนอกและทำจิตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปทำจิตและมหาภูตรูป ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นภายนอกทำจิตและหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (ในปฏิสนธิขณะ พึงเพิ่มเป็น ๓ วาระ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๖๖. อัชฌัตติกทุกะ ๓. ปัจจยวาร

สภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกทำสภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็น ภายนอกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๒ และ กฏัตตารูปที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกทำขันธ์ ๑ ที่เป็นภายนอกและทำจิตให้เป็น ปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓)
อารัมมณปัจจัย
[๓๓๔] สภาวธรรมที่เป็นภายในทำสภาวธรรมที่เป็นภายในให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำกายายตนะ ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นภายนอกทำสภาวธรรมที่เป็นภายในให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ อารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณทำจักขายตนะและทำ จักขุวิญญาณให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำกายายตนะ ฯลฯ สัมปยุตตขันธ์ทำ จิตให้เป็น ปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกทำสภาวธรรมที่เป็นภายในให้เป็น ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์ทำ จักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำกายายตนะ ฯลฯ (๓) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกทำสภาวธรรมที่เป็นภายนอกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัยได้แก่ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นภายนอกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภายนอกทำหทัยวัตถุให้ เป็นปัจจัยเกิดขึ้น สภาวธรรมที่เป็นภายในทำสภาวธรรมที่เป็นภายนอกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตทำขันธ์ที่เป็นภายนอกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตทำ หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (ในปฏิสนธิขณะ พึงเพิ่มเป็น ๒ วาระ) สภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกทำสภาวธรรมที่เป็นภายนอกให้ เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตและสัมปยุตตขันธ์ทำหทัยวัตถุให้ เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (ในปฏิสนธิขณะ พึงเพิ่มเป็น ๑ วาระ ฯลฯ) (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๖๖. อัชฌัตติกทุกะ ๓. ปัจจยวาร

[๓๓๕] สภาวธรรมที่เป็นภายในทำสภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอก ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณทำขันธ์ที่สหรคตด้วย จักขุวิญญาณและทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นภายนอกทำสภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกให้ เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๑ ที่สหรคต ด้วยจักขุวิญญาณทำจักขายตนะและจักขุวิญญาณให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นภายนอก และทำจิตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภายนอกทำจิต และทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (ในปฏิสนธิขณะ พึงเพิ่มเป็น ๒ วาระ) สภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกทำสภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็น ภายนอกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๒ และจักขุวิญญาณ ทำขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณและทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ (ย่อ) (๓)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๓๓๖] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๖๖. อัชฌัตติกทุกะ ๓. ปัจจยวาร

ปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ) อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๓๓๗] สภาวธรรมที่เป็นภายในทำสภาวธรรมที่เป็นภายในให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ กฏัตตารูปที่เป็นภายใน ทำจิตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (ย่อ) (พึงทำเป็น ๙ วาระอย่างนี้ พึงเพิ่มปัญจวิญญาณด้วย เฉพาะ ๓ วาระ มีโมหะ)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๓๓๘] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๖๖. อัชฌัตติกทุกะ ๕. สังสัฏฐวาร

นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ นวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ นฌานปัจจัย มี ๙ วาระ นมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
(การนับ ๒ อย่างนอกนี้และนิสสยวารพึงทำอย่างนี้)


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๑๘๘-๑๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=43&siri=33              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=4293&Z=4385                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=0              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=43&item=266&items=5              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=43&item=266&items=5                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu43



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :