ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
๑๔๘. ทิคุณาทิอุปาหนปฏิกเขปะ
ว่าด้วยทรงห้ามใช้รองเท้า ๒ ชั้นเป็นต้น
[๒๔๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลายกล่าวพยากรณ์อรหัตตผลอย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวแต่เนื้อความและมิได้ น้อมตนเข้าไป๒- แต่โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้เห็นเป็นของสนุก กล่าวพยากรณ์ อรหัตตผล ภายหลัง จึงเดือดร้อน” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับท่านพระโสณะว่า “โสณะ เธอเป็นคน สุขุมาลชาติ เราอนุญาตรองเท้าชั้นเดียวแก่เธอ” ท่านพระโสณะกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ละทิ้งเงินถึง ๘๐ เล่มเกวียนและ กองคาราวานประกอบด้วยช้าง ๗ เชือก ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อเป็นอย่างนี้ ถ้าข้าพระองค์จะใช้รองเท้าชั้นเดียวก็จะมีคนกล่าวว่า พระโสณโกฬิวิสะละทิ้งเงินถึง ๘๐ เล่มเกวียนและกองคาราวานประกอบด้วยช้าง ๗ เชือก ออกบวชเป็นบรรพชิต เวลานี้ท่านพระโสณะนั้นยังข้องอยู่ในเรื่องรองเท้าชั้นเดียว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรง อนุญาตภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระองค์ก็จะใช้สอย ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต ภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระองค์ก็จะไม่ใช้สอย พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๕/๕๓๘-๕๓๙, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๖๔๐-๖๔๔/๔๕๐ @ มิได้น้อมตนเข้าไปด้วยการแสดงให้ปรากฏว่า เราเป็นพระอรหันต์ (วิ.อ. ๓/๒๔๕/๑๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๔๙. สัพพนีลกาทิปฏิกเขปะ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าชั้นเดียว ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้า ๒ ชั้น ไม่พึงสวมรองเท้า ๓ ชั้น ไม่พึงสวมรองเท้าหลายชั้น รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ”
๑๔๙. สัพพนีลกาทิปฏิกเขปะ
ว่าด้วยทรงห้ามใช้รองเท้าสีเขียวล้วนเป็นต้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๒๔๖] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ สวมรองเท้าสีเขียวล้วน ... สวมรองเท้า สีเหลืองล้วน ... สวมรองเท้าสีแดงล้วน ... สวมรองเท้าสีบานเย็นล้วน ... สวมรองเท้า สีดำล้วน ... สวมรองเท้าสีแสดล้วน ... สวมรองเท้าสีชมพูล้วน คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”๑- ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าสีเขียวล้วน ... ไม่พึงสวมรองเท้าสีเหลืองล้วน ... ไม่พึงสวมรองเท้าสีแดงล้วน ... ไม่พึงสวม รองเท้าสีบานเย็นล้วน ... ไม่พึงสวมรองเท้าสีดำล้วน ... ไม่พึงสวมรองเท้าสีแสดล้วน ... ไม่พึงสวมรองเท้าสีชมพูล้วน รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ” เรื่องทรงห้ามใช้รองเท้ามีหูสีเขียวเป็นต้น สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวมรองเท้ามีหูสีเขียว ... สวมรองเท้ามีหูสีเหลือง ... สวมรองเท้ามีหูสีแดง ... สวมรองเท้ามีหูสีบานเย็น ... สวมรองเท้ามีหูสีดำ ... สวมรองเท้ามีหูสีแสด ... สวมรองเท้ามีหูสีชมพู @เชิงอรรถ : @ หมายถึงผู้ครองเรือน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๕/๒๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๔๙. สัพพนีลกาทิปฏิกเขปะ

คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีเขียว ... ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีเหลือง ... ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีแดง ... ไม่พึงสวมรองเท้า มีหูสีบานเย็น ... ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีดำ ... ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีแสด ... ไม่พึง สวมรองเท้ามีหูสีชมพู รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงห้ามใช้รองเท้าหุ้มส้นเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าติดแผ่นหนังหุ้มส้น ... สวมรองเท้า หุ้มแข้ง ... สวมรองเท้าปกหลังเท้า ... สวมรองเท้ายัดนุ่น ... สวมรองเท้ามีหูลาย คล้ายขนปีกนกกระทา ... สวมรองเท้าหูงอนมีรูปทรงคล้ายเขาแกะ ... สวมรองเท้า หูงอนมีรูปทรงคล้ายเขาแพะ ... สวมรองเท้าหูงอนมีรูปทรงคล้ายหางแมงป่อง ... สวมรองเท้าที่เย็บด้วยขนนกยูง ... สวมรองเท้างดงามวิจิตร คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าติดแผ่นหนัง หุ้มส้น ... ไม่พึงสวมรองเท้าหุ้มแข้ง ... ไม่พึงสวมรองเท้าปกหลังเท้า ... ไม่พึงสวม รองเท้ายัดนุ่น ... ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูลายคล้ายขนปีกนกกระทา ... ไม่พึงสวม รองเท้าหูงอนมีรูปทรงคล้ายเขาแกะ ... ไม่พึงสวมรองเท้าหูงอนมีรูปทรงคล้ายเขาแพะ ... ไม่พึงสวมรองเท้าหูงอนมีรูปทรงคล้ายหางแมงป่อง ... ไม่พึงสวมรองเท้าที่เย็บ ด้วยขนนกยูง ... ไม่พึงสวมรองเท้างดงามวิจิตร รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังราชสีห์ ... สวมรองเท้า ขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง ... สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือเหลือง ... สวมรองเท้าขลิบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๐. โอมุกกคุณังคุณุปาหนานุชานนา

ด้วยหนังเสือดาว... สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนาก ... สวมรองเท้าขลิบด้วยหนัง แมว ... สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังค่าง ... สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนกเค้า คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนัง ราชสีห์ ... ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง ... ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วย หนังเสือเหลือง ... ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือดาว ... ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบ ด้วยหนังนาก ... ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังแมว ... ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วย หนังค่าง ... ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนกเค้า รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ”
๑๕๐. โอมุกกคุณังคุณุปาหนานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว
เรื่องภิกษุเท้าแตก
[๒๔๗] ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นปัจฉาสมณะ แต่ ภิกษุนั้นเดินเขยกตามพระองค์ไปเบื้องพระปฤษฎางค์ อุบาสกคนหนึ่งสวมรองเท้าหลายชั้น มองเห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมา แต่ไกล จึงถอดรองเท้าแล้วเข้าไปเฝ้า ถวายอภิวาทแล้วเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นไหว้แล้ว ถามว่า “ทำไม พระคุณเจ้าเดินเขยกขอรับ” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “อุบาสก อาตมาเท้าแตก” อุบาสกกล่าวว่า “นิมนต์พระคุณเจ้ารับรองเท้า ขอรับ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๑. อัชฌารามุปาหนปฏิกเขปะ

ภิกษุตอบว่า “ไม่ละ พระผู้มีพระภาคทรงห้ามรองเท้าหลายชั้น” พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ เธอรับรองเท้าคู่นั้นได้” ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าหลายชั้นที่ยังใหม่ รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ”
๑๕๑. อัชฌารามุปาหนปฏิกเขปะ
ว่าด้วยทรงห้ามสวมรองเท้าในอาราม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าในอาราม
[๒๔๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคไม่ทรงฉลองพระบาทเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ภิกษุผู้เถระทั้งหลายทราบว่า “พระศาสดาไม่ทรงฉลองพระบาทเสด็จจงกรมอยู่” จึงไม่สวมรองเท้าเดินจงกรมบ้าง เมื่อพระศาสดาไม่ทรงฉลองพระบาทเสด็จจงกรม เมื่อเหล่าภิกษุผู้เถระไม่สวมรองเท้าเดินจงกรม พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กลับสวมรอง เท้าเดินจงกรม บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์ เมื่อพระศาสดาไม่ทรงฉลองพระบาทเสด็จจงกรม เมื่อภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายไม่สวมรองเท้าเดินจงกรมอยู่ กลับสวมรองเท้าเดินจงกรมเล่า” แล้วจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าเมื่อเราผู้ศาสดาไม่สวม รองเท้าเดินจงกรม เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายก็ไม่สวมรองเท้าเดินจงกรม พวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าเดินจงกรม จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๑. อัชฌารามุปาหนปฏิกเขปะ

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราผู้ศาสดา ไม่สวมรองเท้าเดินจงกรม เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายก็ไม่สวมรองเท้าเดินจงกรม ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงสวมรองเท้าเดินจงกรมเล่า แท้จริงพวกคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาว ก็ยังมีความเคารพยำเกรงประพฤติสม่ำเสมอในอาจารย์ เพราะได้ศึกษาศิลปะอัน เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต การที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ พึงมี ความเคารพยำเกรงประพฤติสม่ำเสมอในอาจารย์ ในภิกษุรุ่นอาจารย์ ในอุปัชฌาย์ ในภิกษุรุ่นอุปัชฌาย์ ก็จะงดงามในธรรมวินัยนี้แน่ การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออาจารย์ เมื่อภิกษุรุ่นอาจารย์ เมื่อ อุปัชฌาย์ เมื่อภิกษุรุ่นอุปัชฌาย์ ไม่สวมรองเท้าเดินจงกรม ภิกษุไม่พึงสวมรอง เท้าเดินจงกรม รูปใดสวมเดินจงกรม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าในอาราม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุอาพาธเป็นหน่อที่เท้า
[๒๔๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นหน่อที่เท้า พวกภิกษุต้องพยุง ภิกษุนั้นไปถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกตามเสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นพวกภิกษุกำลัง พยุงภิกษุรูปนั้นไปถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น แล้วได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้อาพาธเป็นอะไร” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ท่านรูปนี้อาพาธเป็นหน่อที่เท้า พวกข้าพระ พุทธเจ้าต้องพยุงท่านไปถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีเท้าเจ็บ เท้าแตก หรืออาพาธเป็นหน่อที่เท้าสวมรองเท้าได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ล้างเท้าขึ้นเตียงบ้าง ตั่งบ้าง จีวรและเสนาสนะจึง เปรอะเปื้อน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวมรองเท้าในขณะ ที่ตั้งใจว่า ประเดี๋ยวจะขึ้นเตียงหรือตั่ง” สมัยนั้น เวลากลางคืน ภิกษุทั้งหลายเดินไปโรงอุโบสถบ้าง ที่ประชุมบ้าง เหยียบตอไม้บ้าง หนามบ้างในที่มืด เท้าทั้งสองบาดเจ็บ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวมรองเท้า ใช้คบ เพลิง ประทีป ไม้เท้าในอาราม”
๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ
ว่าด้วยทรงห้ามสวมเขียงเท้าไม้เป็นต้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์สวมเขียงเท้าไม้
[๒๕๐] สมัยนั้น ในเวลาเช้ามืด พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลุกขึ้นสวมเขียงเท้าไม้ เดินจงกรมในที่กลางแจ้ง มีเสียงกึกกัก ดังอึกทึก สนทนาดิรัจฉานกถาต่างๆ คือ๑- ๑. ราชกถา เรื่องพระราชา ๒. โจรกถา เรื่องโจร ๓. มหามัตตกถา เรื่องมหาอมาตย์ ๔. เสนากถา เรื่องกองทัพ ๕. ภยกถา เรื่องภัย ๖. ยุทธกถา เรื่องการรบ ๗. อันนกถา เรื่องข้าว ๘. ปานกถา เรื่องน้ำดื่ม ๙. วัตถกถา เรื่องผ้า ๑๐. สยนกถา เรื่องที่นอน ๑๑. มาลากถา เรื่องพวงดอกไม้ ๑๒. คันธกถา เรื่องของหอม @เชิงอรรถ : @ วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๐๘/๕๙๙-๖๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ

๑๓. ญาติกถา เรื่องญาติ ๑๔. ยานกถา เรื่องยาน ๑๕. คามกถา เรื่องบ้าน ๑๖. นิคมกถา เรื่องนิคม ๑๗. นครกถา เรื่องเมือง ๑๘. ชนปทกถา เรื่องชนบท ๑๙. อิตถีกถา เรื่องสตรี ๒๐. ปุริสกถา เรื่องบุรุษ ๒๑. สูรกถา เรื่องคนกล้าหาญ ๒๒. วิสิขากถา เรื่องตรอก ๒๓. กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่าน้ำ ๒๔. ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว ๒๕. นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด ๒๖. โลกักขายิกะ เรื่องโลก ๒๗. สมุททักขายิกะ เรื่องทะเล ๒๘. อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม เหยียบแมลงตายบ้าง ทำภิกษุทั้งหลายให้คลาดจากสมาธิบ้าง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงลุกขึ้นในเวลาเช้ามืด สวมเขียงเท้าไม้ เดินจงกรมในที่กลางแจ้ง มีเสียงกึกกัก ดังอึกทึก สนทนาดิรัจฉานกถาต่างๆ คือ ๑. ราชกถา เรื่องพระราชา ๒. โจรกถา เรื่องโจร ฯลฯ ๒๘. อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม เหยียบแมลงตายบ้าง ทำภิกษุทั้งหลายให้คลาดจากสมาธิบ้างเล่า” แล้วจึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลุก ขึ้นในเวลาเช้ามืด สวมเขียงเท้าไม้เดินจงกรมในที่กลางแจ้ง มีเสียงกึกกัก ดังอึกทึก สนทนาดิรัจฉานกถาต่างๆ คือ ๑. ราชกถา เรื่องพระราชา ๒. โจรกถา เรื่องโจร ฯลฯ ๒๘. อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม เหยียบแมลงตายบ้าง ทำภิกษุทั้งหลายให้คลาดจากสมาธิบ้าง จริงหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุ ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าไม้ รูปใดสวม ต้องอาบัติ ทุกกฏ”
เรื่องเขียงเท้าใบตาล
ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จ จาริกไปทางกรุงพาราณสี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงพาราณสีแล้ว ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันในกรุงพาราณสีนั้น สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ปรึกษากันว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามเขียง เท้าไม้” จึงให้ตัดต้นตาลอ่อน แล้วใช้ใบตาลมาทำเขียงเท้าสวม ต้นตาลอ่อนที่ถูก ตัดนั้นๆ ย่อมเหี่ยวแห้ง คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากย บุตรจึงให้ตัดต้นตาลอ่อน ใช้ใบตาลทำเขียงเท้าสวมเล่า ต้นตาลอ่อนที่ถูกตัดนั้นๆ ย่อมเหี่ยวแห้ง พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว” ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ ตัดต้นตาลอ่อน นำใบตาลมาทำเขียงเท้าสวม ต้นตาลอ่อนที่ถูกตัดนั้นๆ ย่อมเหี่ยว แห้งไป จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงให้ตัดต้นตาลอ่อน ใช้ใบตาลมาทำเขียงเท้าสวมเล่า ต้นตาลอ่อน ที่ถูกตัดนั้นๆ ย่อมเหี่ยวแห้งไป ภิกษุทั้งหลาย เพราะคนทั้งหลายมีความสำคัญว่าต้นไม้มีชีวิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ

ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษนั้น มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าใบตาล รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเขียงเท้าสานด้วยใบไผ่
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ปรึกษากันว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามเขียง เท้าใบตาล” จึงให้ตัดไม้ไผ่อ่อน แล้วใช้ใบไผ่มาทำเขียงเท้าสวม ไม้ไผ่อ่อนที่ถูก ตัดนั้นๆ ย่อมเหี่ยวแห้ง คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากย บุตรจึงให้ตัดไม้ไผ่อ่อน ใช้ใบไผ่มาทำเขียงเท้าสวมเล่า ไม้ไผ่อ่อนที่ถูกตัดนั้นๆ ย่อมเหี่ยวแห้งไป พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว” ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ จึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าใบไผ่ รูปใด สวม ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเขียงเท้าสานด้วยหญ้าสามัญ
[๒๕๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสีตามพระ อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปเมืองภัททิยะ เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมือง ภัททิยะแล้ว ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าชาติยาวัน ในเมือง ภัททิยะนั้น สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองภัททิยะ ขวนขวายตกแต่งเขียงเท้าหลายชนิด คือ ทำเขียงเท้าหญ้า(สามัญ)เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้ามุงกระต่ายเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้าปล้องเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าใบเป้งเองบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ

ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้าแฝกเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าขนสัตว์เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทอดทิ้งอุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุชาวเมืองภัททิยะ จึงขวนขวายตกแต่งเขียงเท้าหลายชนิด คือ ทำเขียงเท้าหญ้า (สามัญ)เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้ามุงกระต่ายเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้าปล้องเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าใบเป้งเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้าแฝกเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าขนสัตว์เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทอดทิ้งอุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเล่า” ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุชาวเมืองภัททิยะ ขวนขวายตกแต่งเขียงเท้าหลายชนิด คือ ทำเขียงเท้าหญ้า(สามัญ)เองบ้าง ใช้ให้ ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้ามุงกระต่ายเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้าปล้อง เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าใบเป้งเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้า แฝกเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าขนสัตว์เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทอดทิ้งอุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ เหล่านั้นจึงขวนขวายตกแต่งเขียงเท้าหลายชนิด คือ ทำเขียงเท้าหญ้า(สามัญ)เอง บ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าหญ้ามุงกระต่ายเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้า หญ้าปล้องเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าใบเป้งเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียง เท้าหญ้าแฝกเองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทำเขียงเท้าขนสัตว์เองบ้าง ใช้ให้ทำบ้าง ทอด ทิ้งอุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่าง นี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๒. กัฏฐปาทุกาทิปฏิกเขปะ

รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าหญ้า(สามัญ) ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าหญ้ามุงกระต่าย ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าหญ้าปล้อง ... ไม่พึงสวม เขียงเท้าใบเป้ง ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าหญ้าแฝก ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าขนสัตว์ ... ไม่ พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยทองคำ ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยเงิน ... ไม่ พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยแก้วมณี ...ไม่พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยแก้วผลึก ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยสำริด ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าประดับด้วยกระจก ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าทำด้วยดีบุก ... ไม่พึง สวมเขียงเท้าทำด้วยสังกะสี ... ไม่พึงสวมเขียงเท้าทำด้วยทองแดง รูปใดสวม ต้อง อาบัติทุกกฏ อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าชนิดที่ต้องสวมเดิน รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงเท้าที่ตรึงอยู่กับที่ ไม่ใช้สวมเดิน ๓ ชนิด คือ เขียงเท้าสำหรับใช้ในที่ที่ถ่ายอุจจาระ เขียงเท้าสำหรับใช้ในที่ที่ถ่าย ปัสสาวะ เขียงเท้าสำหรับใช้ในที่ชำระ”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๓-๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=224&Z=427                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=5              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=5&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3718              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=5&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3718                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd5/en/brahmali#pli-tv-kd5:1.28.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd5/en/horner-brahmali#BD.4.245



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :