ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๒. ตัชชนียกัมมกถา

๒๔๒. ตัชชนียกัมมกถา
ว่าด้วยตัชชนียกรรม
เรื่องภิกษุแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม
[๔๐๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษา กันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลง ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุนั้น” แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุนั้น” แล้วได้แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุ นั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูก สงฆ์แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุนั้น” แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๙๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๒. ตัชชนียกัมมกถา

เรื่องภิกษุในอาวาสอื่นพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม
ลงตัชนียกรรมเป็นต้น
[๔๐๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ก่อความบาดหมาง ก่อ ความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเรา จะลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วได้แบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุนั้น” แล้วได้แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุนั้น” แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วได้แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๙๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๒. ตัชชนียกัมมกถา

[๔๐๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละพวก เราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูป นี้แลถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลง ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ รูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูป นี้แลถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย กรรมแก่เธอ” แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น [๔๑๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลก่อความบาดหมาง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๙๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๒. ตัชชนียกัมมกถา

ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเรา จะลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ รูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูป นี้แลถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูป นั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูป นี้แลถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลง ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น [๔๑๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษา กันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลง ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๐๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๓. นิยสกัมมกถา

แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูป นี้แลถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลง ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
เรื่องสรุปความที่นักปราชญ์ผูกให้เป็นจักรเปยยาล จบ
๒๔๓. นิยสกัมมกถา
ว่าด้วยนิยสกรรม
เรื่องสงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้โง่เขลาไม่ฉลาด
[๔๑๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๐๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๔. ปัพพาชนียกัมมกถา

คฤหัสถ์อันไม่สมควร ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลี กับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร เอาละ พวกเราจะลงนิยสกรรม แก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้แลถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงนิยสกรรม เอาละ พวกเราจะลงนิยสกรรม แก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกัน โดย ธรรมปฏิรูป ... พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา๑-
๒๔๔. ปัพพาชนียกัมมกถา
ว่าด้วยปัพพาชนียกรรม
เรื่องสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล
[๔๑๓] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุประทุษร้ายตระกูล มีมารยาททราม ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ประทุษร้าย ตระกูล มีมารยาททราม เอาละ พวกเราจะลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่ง พวกโดยไม่ชอบธรรมลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่ อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ แลถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงปัพพาชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลง @เชิงอรรถ : @ คือ พึงเพิ่มข้อความหมุนเวียนเหมือนในตัชชนียกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๐๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๖. อทัสสนอุกเขปนียกัมมกถา

ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงปัพพาชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา
๒๔๕. ปฏิสารณียกัมมกถา
ว่าด้วยปฏิสารณียกรรม
เรื่องสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ด่าบริภาษคฤหัสถ์
[๔๑๔] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุด่าบริภาษพวกคฤหัสถ์ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ด่า บริภาษพวกคฤหัสถ์ เอาละ พวกเราจะลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่ง พวกโดยไม่ชอบธรรมลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดย ไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา
เรื่องพระผู้มีพระภาคตรัสอุกเขปนียกรรมในกรณีต่างๆ จบ
๒๔๖. อทัสสนอุกเขปนียกัมมกถา
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
[๔๑๕] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะ เห็นอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนีย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๐๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๘. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมกถา

กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลง อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดย ไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ...แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา
๒๔๗. อัปปฏิกัมมอุกเขปนียกัมมกถา
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
[๔๑๖] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำ คืนอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงอุกเขปนีย กรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดย ธรรมปฏิรูป ... พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา
๒๔๘. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมกถา
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
[๔๑๗] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลไม่ ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๐๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๙. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา

บาปแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ ทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบ ธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา๑-
๒๔๙. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับตัชชนียกรรม
[๔๑๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับ ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น @เชิงอรรถ : @ กรรมทั้ง ๕ อย่างดังกล่าวมานี้ เรียกโดยรวมว่า “นิคคหกรรม” ความหมายและสาเหตุที่ทำให้ภิกษุ @ถูกทำนิคคหกรรมแต่ละอย่าง สรุปได้ดังนี้ @๑. ตัชชนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรขู่ สงฆ์ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ก่อ @ความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ @๒. นิยสกรรม แปลว่า กรรมคือการถอดยศ สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มี @อาบัติมาก ไม่มีมารยาท @๓. ปัพพาชนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรขับไล่ สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแก่ @ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล มีมารยาทเลวทราม @๔. ปฏิสารณียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรให้กลับระลึกได้ สงฆ์ทำปฏิสารณีย @กรรมแก่ภิกษุผู้ด่าบริภาษคฤหัสถ์ @๕. อุกเขปนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรยกเสียจากหมู่ สงฆ์ลงอุกเขปนีย @กรรมแก่ภิกษุผู้แม้ต้องอาบัติก็ไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ แม้ต้องอาบัติแล้วก็ไม่ปรารถนา @จะทำคืน (แสดง) อาบัติ แม้มีทิฏฐิบาปก็ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาปนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๐๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๙. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา

แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย สงฆ์ แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนี้ เอาละ พวกเราจะระงับ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย สงฆ์ พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนี้ เอาละ พวกเราจะ ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมระงับตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย สงฆ์ พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรมระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนี้ เอาละ พวกเราจะ ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูประงับตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย สงฆ์แบ่ง พวกโดยธรรมปฏิรูประงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนี้ เอาละพวกเราจะระงับตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูประงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ รูปนั้น [๔๑๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... ... แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๐๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๔๙. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา

[๔๒๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับ ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมระงับตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดย ธรรมปฏิรูป ... ... แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... [๔๒๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุ ทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนีย กรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูประงับ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... ... แบ่งพวกโดย ไม่ชอบธรรม ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... [๔๒๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุ ทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนีย กรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูประงับ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ... ... พร้อมเพรียง กันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๐๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๕๑. ปัพพาชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา

๒๕๐. นิยสกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับนิยสกรรม
[๔๒๓] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม เอาละ พวกเรา จะระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูประงับนิยสกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา
๒๕๑. ปัพพาชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับปัพพาชนียกรรม
[๔๒๔] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม ถ้าภิกษุ ทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลง ปัพพาชนียกรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนีย กรรม เอาละ พวกเราจะระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดย ไม่ชอบธรรมระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบ ธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อม เพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๐๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๕๓. อทัสสนอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา

๒๕๒. ปฏิสารณียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับปฏิสารณียกรรม
[๔๒๕] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้าภิกษุ ทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลง ปฏิสารณียกรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณีย กรรม เอาละ พวกเราจะระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ ชอบธรรม ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบ ธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียง กันโดยธรรมปฏิรูป ... พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา
๒๕๓. อทัสสนอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
[๔๒๖] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้วกลับ ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า เป็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็น อาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบ ธรรม ... .... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๐๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๕๕. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา

๒๕๔. อัปปฏิกัมมอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
[๔๒๗] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่ง พวกโดยไม่ชอบธรรมระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวก โดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา
๒๕๕. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ละทิฏฐิบาป
[๔๒๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่าง นี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ ทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ รูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๑๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๕๖. ตัชชนียกัมมวิวาทกถา

แก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา
เรื่องการระงับตัชชนียกรรมเป็นต้นแก่ภิกษุผู้กลับตัวได้ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๙๗-๓๑๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=55              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=5365&Z=5591                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=204              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=204&items=14              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=204&items=14                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/brahmali#pli-tv-kd9:7.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/horner-brahmali#Kd.9.7.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :