ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
๒๕๖. ตัชชนียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในตัชชนียกรรม
[๔๒๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษา กันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละพวกเราจะลง ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ รูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรม แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม ทำไม่ดี ต้องทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น [๔๓๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๑๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๕๖. ตัชชนียกัมมวิวาทกถา

ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ก่อความบาดหมาง ก่อ ความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละพวกเรา จะลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย ไม่ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น [๔๓๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษา กันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลง ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม ทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมแบ่งพวกโดยชอบ ธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๑๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๕๖. ตัชชนียกัมมวิวาทกถา

[๔๓๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น [๔๓๓] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลง ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม ทำไม่ดี ต้องทำใหม่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๑๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๕๗. นิยสกัมมวิวาทกถา

บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
๒๕๗. นิยสกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในนิยสกรรม
[๔๓๔] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด มี อาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ อันไม่สมควร ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลี กับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร เอาละ พวกเราจะลงนิยสกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม ทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๑๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๕๙. ปฏิสารณียกัมมวิวาทกถา

๒๕๘. ปัพพาชนียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในปัพพาชนียกรรม
[๔๓๕] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุประทุษร้ายตระกูล มีมารยาท เลวทราม ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้ประทุษร้ายตระกูล มีมารยาทเลวทราม เอาละ พวกเราจะลงปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวก โดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำ ไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ถูก ต้องทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้
๒๕๙. ปฏิสารณียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในปฏิสารณียกรรม
[๔๓๖] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุด่าบริภาษพวกคฤหัสถ์ ถ้า ภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ด่าบริภาษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๑๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๖๐. อทัสสนอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา

พวกคฤหัสถ์ เอาละ พวกเราจะลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวก โดยไม่ชอบธรรมลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบ ธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อม เพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้
๒๖๐. อทัสสนอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
[๔๓๗] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะ เห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดย ธรรมปฏิรูป ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๑๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๖๑. อัปปฏิกัมมอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา

สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้
๒๖๑ อัปปฏิกัมมอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
[๔๓๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา จะทำคืนอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกัน โดยธรรมปฏิรูป ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำ ไม่ดี ต้องทำใหม่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๑๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๖๒. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา

บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้
๒๖๒. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
[๔๓๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ไม่ปรารถนา สละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ รูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๑๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๖๓. ตัชชนียกัมมปกิปัสสัทธิกถา

๒๖๓. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับตัชชนียกรรม
[๔๔๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมแบ่งพวกกันโดยไม่ ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำ ใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น [๔๔๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๖๓. ตัชชนียกัมมปกิปัสสัทธิกถา

ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย ไม่ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น [๔๔๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก โดยไม่ชอบธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม ทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมแบ่งพวกกันโดยไม่ ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น [๔๔๓] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูประงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๒๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๖๓. ตัชชนียกัมมปกิปัสสัทธิกถา

สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมแบ่งพวกกันโดย ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำ ใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น [๔๔๔] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูประงับตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำ ใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๒๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๖๕. ปัพพาชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา

๒๖๔. นิยสกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับนิยสกรรม
[๔๔๕] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับ ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ขอระงับนิยสกรรม เอาละ พวกเราจะ ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุ รูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้
๒๖๕. ปัพพาชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับปัพพาชนียกรรม
[๔๔๖] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรม แล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม ถ้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๒๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๖๖. ปฏิสารณีกัมมปฏิปัสสัทธิกถา

ภิกษุทั้งหลายตกลงกันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลง ปัพพาชนียกรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ ปัพพาชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่ง พวกโดยไม่ชอบธรรมระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกัน โดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำ ไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้
๒๖๖. ปฏิสารณียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับปฏิสารณียกรรม
[๔๔๗] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม แล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้า ภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลง ปฏิสารณียกรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ ปฏิสารณียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่ง พวกโดยไม่ชอบธรรมระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๒๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๖๗. อทัสสอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา

โดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า ''กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้
๒๖๗. อทัสสนอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
[๔๔๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้วกลับ ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็น อาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุรูป นั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ แก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๒๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๖๘. อัปปฏิกัมมอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา

โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำ ไม่ดี ต้องทำใหม่” บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้
๒๖๘. อัปปฏิกัมมอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
[๔๔๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่ทำคืนอาบัติแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเรา จะระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบ ธรรมระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียง กันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๒๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๖๙. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา

บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำ ใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้
๒๖๙. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
[๔๕๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่สละทิฏฐิบาปแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวก โดยไม่ชอบธรรมระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อม เพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรม ปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๒๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ

บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น แม้ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้
จัมเปยยขันธกะที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๓๑๑-๓๒๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=56              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=5592&Z=5861                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=218              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=218&items=19              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=218&items=19                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/brahmali#pli-tv-kd9:7.15.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/horner-brahmali#Kd.9.7.15



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :