ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องพระยสกากัณฑกบุตร
สมัยนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรเที่ยวจาริกอยู่ในแคว้นวัชชี ไปถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพักอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี @เชิงอรรถ : @ เขนง คือ เขาสัตว์, กลักหรือกระบอกเขาควายที่นิยมใช้บรรจุดินปืน หรือสิ่งของอื่น บางทีใช้เป่าบอก @อาณัติสัญญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๙๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติกขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

สมัยนั้น ภิกษุวัชชีบุตรทั้งหลายชาวกรุงเวสาลี ในวันอุโบสถนั้น ใช้ถาดทอง สำริดตักน้ำไว้จนเต็มท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วแนะนำพวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุง เวสาลี ผู้ผ่านมาผ่านไปว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงถวายรูปิยะแก่สงฆ์ หนึ่ง กหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง หนึ่งมาสกบ้าง สงฆ์มีธุระที่ต้องทำ ด้วยบริขาร” เมื่อพวกภิกษุวัชชีบุตรกล่าวอย่างนี้ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจึงบอกพวก อุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่าถวายรูปิยะแก่ สงฆ์ หนึ่งกหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง หนึ่งมาสกบ้าง ทองและเงิน ไม่สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดี ทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหลายปล่อยวาง แก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน” พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีแม้อันท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวเตือน อย่างนี้ ก็ยังขืนถวายรูปิยะแก่สงฆ์ หนึ่งกหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง หนึ่งมาสกบ้างอยู่นั่นเอง เมื่อผ่านคืนนั้นไป พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ได้แบ่งเงินนั้นตามจำนวน ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้กล่าวกับท่านพระยส- กากัณฑกบุตรดังนี้ว่า “ท่านยสะ เงินจำนวนนี้เป็นส่วนแบ่งของท่าน” ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีส่วนแบ่งเงิน ผมไม่ ยินดีเงิน” ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ท่านพระยสกา- กัณฑกบุตรรูปนี้ด่าบริภาษพวกอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาไม่มีศรัทธา เอาเถอะ พวกเราจะลงปฏิสารณียกรรม๑- แก่เธอ” แล้วได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ท่าน พระยสกากัณฑกบุตร @เชิงอรรถ : @ ปฏิสารณียกรรม หมายถึงการที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุทั้งหลายไปขอขมาคฤหัสถ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๙๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติกขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ลงปฏิสารณียกรรมโดยไม่ชอบธรรม
ลำดับนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรบอกพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีดังนี้ ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘สงฆ์พึงให้อนุทูตแก่ภิกษุผู้ถูก ลงปฏิสารณียกรรม’ พวกท่านจงให้อนุทูตแก่เรา” ครั้งนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีจึงแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่งให้เป็นอนุทูต แก่ท่านพระยสกากัณฑกบุตร ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพร้อมพระอนุทูตพา กันเข้าไปกรุงเวสาลี แล้วชี้แจงพวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีดังนี้ว่า “อาตมา กล่าวอธรรมว่าเป็นอธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใข่ วินัย กล่าววินัยว่าเป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่าบริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มี ศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาหมดศรัทธา
เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ ๔ ประการ
[๔๔๗] (ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า) ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุง สาวัตถี พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งมัวหมองที่เป็น เหตุให้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการ สิ่งมัวหมอง ๔ ประการคือ ๑. เมฆเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๒. หมอกเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๓. ควันและฝุ่นละอองเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๙๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติกขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

๔. ราหูผู้เป็นจอมอสูรเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ภิกษุทั้งหลาย สิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มัวหมอง ไม่ส่อง แสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการเหล่านี้แล เช่นเดียวกัน ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัว หมอง ไม่สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการนี้ อุปกิเลส ๔ ประการคือ ๑. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดื่มสุรา และเมรัย ไม่เว้น ขาดจากการดื่มสุราและเมรัย ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่ สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๑ ๒. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเสพเมถุนธรรม ไม่เว้นขาด จากการเสพเมถุนธรรม ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่ สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๒ ๓. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งยินดีทองและเงิน ไม่เว้น ขาดจากการยินดีทองและเงิน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่ สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๓ ๔. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ไม่ เว้นขาดจากมิจฉาชีพ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่ สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๔” ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้แล้ว พระสุคตครั้นตรัสพระดำรัส นี้แล้ว พระศาสดาได้ตรัสประพันธ์คาถาว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๙๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติกขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถูกราคะและโทสะปกคลุม ถูกอวิชชาหุ้มห่อยินดีรูปที่น่ารัก ดื่มสุราและเมรัย เสพเมถุน โง่เขลา ยินดีเงินและทอง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาชีพ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์พระอาทิตย์ ตรัสอุปกิเลสที่ทำให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่สง่า ไม่ผ่องใส เป็นที่รู้กัน ไม่บริสุทธิ์ มีธุลี ถูกความมืดปกคลุม เป็นทาสแห่งตัณหา ถูกตัณหาชักนำให้อัตภาพหยาบ เจริญเติบโต ย่อมยินดีการเกิดใหม่๑- อาตมามีวาทะอย่างนี้ กล่าวอธรรมว่าเป็นอธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย กล่าววินัยว่าเป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่า บริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาหมดศรัทธา
เรื่องผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะ
[๔๔๘] (ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า) ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พวกข้าราชบริพารนั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในพระราชวังได้ สนทนากันดังนี้ว่า “ทองและเงินย่อมสมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร หรือพวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรยินดีทองและเงินได้หรือ พวกพระสมณะเชื้อ สายศากยบุตรรับทองและเงินได้หรือ” ท่านทั้งหลาย สมัยนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย ลำดับนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะได้กล่าวกับบริษัทนั้นดังนี้ว่า “นายท่านทั้งหลาย พวกท่าน อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พวก @เชิงอรรถ : @ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๐/๘๑-๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๙๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๙๓-๓๙๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=110              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=7675&Z=7759                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=631              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=631&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=631&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd22/en/brahmali#pli-tv-kd22:1.1.3 https://suttacentral.net/pli-tv-kd22/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :