ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
๓. ตติยภาณวาร
เรื่องอันตรายิกธรรมของภิกษุณี
[๔๒๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่อุปสมบทแล้วปรากฏว่าไม่มีเครื่องหมาย เพศบ้าง สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศบ้าง ไม่มีประจำเดือนบ้าง มีประจำเดือนไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๔๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

หยุดบ้าง ใช้ผ้าซับเสมอบ้าง เป็นคนไหลซึมบ้าง มีเดือยบ้าง เป็นบัณเฑาะก์หญิงบ้าง มีลักษณะคล้ายชายบ้าง มีทวารหนักทวารเบาติดกันบ้าง มีสองเพศ(อุภโตพยัญชนก) บ้าง ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอบถามอันตรายิกธรรม ๒๔ ประการกับสตรีผู้จะอุปสมบท ภิกษุทั้งหลาย พึงสอบถามอย่างนี้
วิธีสอบถามอันตรายิกธรรม
เธอไม่ใช่ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่ ผู้ไม่มีประจำเดือนหรือ ไม่ใช่ผู้มีประจำเดือนไม่หยุดหรือ ไม่ใช่ผู้ใช้ผ้าซับเสมอหรือ ไม่ใช่คนไหลซึมหรือ ไม่ใช่ผู้มีเดือยหรือ ไม่ใช่เป็นบัณเฑาะก์หญิงหรือ ไม่ใช่ผู้มี ลักษณะคล้ายชายหรือ ไม่ใช่ผู้มีทวารหนักทวารเบาติดกันหรือ ไม่ใช่คนสองเพศหรือ เธอมีโรคเหล่านี้หรือไม่ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู เธอเป็นมนุษย์หรือ เธอเป็นหญิงหรือ เธอเป็นไทหรือ เธอไม่มีหนี้สินหรือ เธอไม่เป็น ราชภัฏหรือ มารดาบิดาหรือสามีอนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว หรือ เธอมีบาตรและจีวรครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร ปวัตตินี๑- ของเธอชื่ออะไร สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายกำลังถามอันตรายิกธรรมของภิกษุณีทั้งหลาย สตรี อุปสัมปทาเปกขา(ผู้มุ่งจะอุปสมบท)ย่อมกระดากอายเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สตรีอุปสัมปทาเปกขา ผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์แล้ว ไปอุปสมบทในฝ่าย ภิกษุสงฆ์ได้”๒- @เชิงอรรถ : @ ปวัตตินี คือ ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นอุปัชฌาย์ @ ผู้จะเป็นภิกษุณีทั้งหลายต้องบวชจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์และฝ่ายภิกษุสงฆ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๔๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสอบถามอันตรายิกธรรมสตรีอุปสัมปทาเปกขาผู้ยัง ไม่ได้รับการสอนซ้อม พวกเธอย่อมกระดากอายเก้อเขินไม่สามารถตอบได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมก่อนแล้วสอบ ถามอันตรายิกธรรมภายหลัง ภิกษุณีทั้งหลายได้สอนซ้อมท่ามกลางสงฆ์นั่นเอง สตรีอุปสัมปทาเปกขาก็ยัง กระดากอายเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้เหมือนเดิม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมกันได้ในที่สมควร แล้วจึงสอบถามอันตรายิกธรรมท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายพึงสอนซ้อมอย่างนี้
คำบอกบาตรและจีวร
[๔๒๔] ในเบื้องต้น พึงให้อุปสัมปทาเปกขาถืออุปัชฌาย์ ครั้นให้ถืออุปัชฌาย์ แล้วพึงบอกบาตรและจีวรว่า “นี้บาตร นี้สังฆาฏิ นี้อุตตราสงค์ นี้อันตรวาสก นี้ผ้า รัดถัน นี้ผ้าอาบน้ำของเธอ เธอจงออกไปยืนที่โน้น”
เรื่องภิกษุณีโง่เขลาสอนซ้อม
ภิกษุณีทั้งหลายผู้โง่เขลาไม่ฉลาดสอนซ้อม สตรีอุปสัมปทาเปกขาได้รับการสอน ซ้อมไม่ดีจึงสะทกสะท้านเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้โง่เขลาไม่ฉลาดไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ สอนซ้อม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๔๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

เรื่องภิกษุณียังไม่ได้รับการแต่งตั้งสอนซ้อม
ภิกษุณีทั้งหลายยังไม่ได้รับแต่งตั้งก็สอนซ้อม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณียังไม่ได้รับแต่งตั้งไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ได้รับแต่งตั้ง แล้วสอนซ้อม
วิธีแต่งตั้งตนและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ตนเองแต่งตั้งตนเองก็ได้ ภิกษุณี อีกรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุณีอีกรูปหนึ่งก็ได้ อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง คือ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าชื่อนี้จะสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองแต่งตั้ง ตนเอง
วิธีแต่งตั้งผู้อื่นและกรรมวาจา
อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุณีรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง คือ ภิกษุณีผู้ฉลาด สามารถพึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า สงฆ์พร้อมแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายชื่อนี้พึงสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุณีอื่น แต่งตั้งภิกษุณีอื่น ภิกษุณีผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงเข้าไปหาอุปสัมปทาเปกขาแล้ว กล่าวอย่างนี้ ว่า แน่ะผู้มีชื่อนี้ เธอฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ เมื่อภิกษุณีผู้สอน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๔๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

ซ้อมถามในท่ามกลางสงฆ์ถึงสิ่งที่เกิด สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี” เธออย่าสะทกสะท้าน อย่าเก้อเขิน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมจักถามเจ้าอย่างนี้ว่า เธอไม่ใช่ ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่ผู้ไม่มีประจำ เดือนหรือ ไม่ใช่ผู้มีประจำเดือนไม่หยุดหรือ ไม่ใช่ผู้ใช้ซับเสมอหรือ ไม่ใช่คนไหลซึม หรือ ไม่ใช่ผู้มีเดือยหรือ ไม่ใช่เป็นบัณเฑาะก์หญิงหรือ ไม่ใช่ผู้มีลักษณะคล้ายชาย หรือ ไม่ใช่ผู้มีทวารหนักทวารเบาติดกันหรือ ไม่ใช่คนสองเพศหรือ อาพาธเหล่านี้ ของ เธอมีอยู่หรือ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู เธอเป็น มนุษย์หรือ เธอเป็นหญิงหรือ เธอเป็นไทหรือ เธอไม่มีหนี้สินหรือ เธอไม่เป็นราชภัฏ หรือ บิดามารดาหรือสามีอนุญาตเธอแล้วหรือ เธอมีอายุครบ ๒๐ ปีแล้วหรือ เธอ มีบาตรจีวรครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร
เรื่องห้ามผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขาเดินมาพร้อมกัน
ภิกษุณีผู้สอนซ้อมกับสิกขมานาอุปสัมปทาเปกขาเดินมาพร้อมกัน พระผู้มี พระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขา ไม่พึงเดิน มาพร้อมกัน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมพึงเดินมาก่อน แล้วประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ กรรมวาจาว่า แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ดิฉัน สอนซ้อมเธอแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ผู้มีชื่อนี้พึงเข้ามาได้ พึงเรียกอุปสัมปทาเปกขาว่า “เธอจงเข้ามาเถิด”
คำขออุปสมบทต่อภิกษุณีสงฆ์
พึงให้อุปสัมปทาเปกขาห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลาย นั่งกระโหย่งประนมมือ ขออุปสมบทว่า แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๔๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๒ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยก ดิฉันขึ้นเถิด แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๓ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยก ดิฉันขึ้นเถิด
คำแต่งตั้งตนเพื่อถามอันตรายิกธรรม
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงถามอันตรายิกธรรมกับผู้มีชื่อนี้ดังนี้ แน่ะผู้มีชื่อนี้ เธอฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ เราจะถามถึงสิ่งที่เกิด สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี” เธอไม่ใช่ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ เธอไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ฯลฯ เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร
ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๔๒๕] แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้า ชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรม เธอมีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบท ต่อสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมี แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้บริสุทธิ์ จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เธอมีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อ สงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูปใด เห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูป นั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๕๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เธอมีบาตร และจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มี ชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้น พึงทักท้วง ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์เห็นด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ หลังจากนั้น ภิกษุณีพึงพาเธอเข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ให้ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ข้างหนึ่งให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย แล้วให้นั่งกระโหย่ง ประนมมือ ให้กล่าวคำขอ อุปสมบทว่า
คำขออุปสมบทต่อภิกษุสงฆ์
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันขอ อุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นด้วยเถิด พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันขอ อุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๒ ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันขอ อุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๓ ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๕๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้ เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่าน รูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มี ชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ใน ภิกษุณีสงฆ์ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้ อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมี แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์เห็นด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๕๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๔๕-๓๕๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=90              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=6733&Z=6936                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=573              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=573&items=8              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=573&items=8                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd20/en/brahmali#pli-tv-kd20:17.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd20/en/horner-brahmali#BD.5.375



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :